เปลี่ยนห้องเรียนธรรมดาสู่สนามแห่งการเรียนรู้ ทำความรู้จัก Kahoot! เทคโนโลยีการศึกษาแบบเกม

Starfish Academy
Starfish Academy 4622 views • 2 ปีที่แล้ว
เปลี่ยนห้องเรียนธรรมดาสู่สนามแห่งการเรียนรู้ ทำความรู้จัก Kahoot! เทคโนโลยีการศึกษาแบบเกม

เมื่อเวลาและทรัพยากรมีจำกัด บวกกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จึงต้องอาศัยเทคโนโลยีการศึกษา (EdTech) ที่มาช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่การเรียนการสอน สำหรับเทคโนโลยีการศึกษาที่จะมาเล่าให้ฟังในวันนี้ จะช่วยเปลี่ยนบรรยากาศห้องเรียนแบบธรรมดาสู่สนามแห่งการเรียนรู้ที่มีทั้งความสนุกและยังได้ความรู้อีกด้วย โดยจะเป็นเครื่องมือสำหรับผู้สอน ทั้งในห้องเรียนแบบออนไลน์และแบบผสมผสาน 

Kahoot! คืออะไร? 

Kahoot! เป็นเทคโนโลยีการศึกษา แพลตฟอร์มการเรียนรู้ดิจิทัลที่ใช้การทดสอบแบบควิซ (Quiz) เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ แบบถามตอบโดยใช้เครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา Kahoot! ถูกออกแบบมาให้มีลักษณะเหมือนกับการเล่นเกม ซึ่งจะเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดการแข่งขันอย่างสนุกสนาน โดยสามารถใช้งานได้ฟรี ทำให้เข้าถึงได้ง่ายทั้งสำหรับครูและนักเรียน 

นอกจากนี้ เนื้อหาของแบบทดสอบบน Kahoot! มีการจัดหมวดหมู่ไว้หลายประเภท ทำให้สามารถกำหนดเป้าหมายการสอนให้เหมาะสมกับอายุ หรือเนื้อหาเฉพาะความสามารถได้ง่ายขึ้น ช่วยให้เข้าถึงนักเรียนในหลายระดับอีกด้วย

Kahoot! ยังเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์สำหรับชั้นเรียนแบบผสมผสาน ที่ใช้ทั้งการเรียนรู้แบบดิจิทัลและในห้องเรียน โดย Kahoot! นั้น จะทำงานบนอุปกรณ์ส่วนใหญ่ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งหมายความว่านักเรียนในชั้นเรียนหรือที่บ้าน สามารถเข้าถึงได้โดยใช้แล็ปท็อป แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน โดยมีเกมมากกว่า 40 ล้านเกมที่สร้างขึ้นแล้ว ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงได้และสามารถสร้างขึ้นใหม่เองได้ด้วย เพียงแค่ต้องสร้างบัญชีเพื่อเริ่มต้น และสามารถใช้งานได้ทุกที่ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

Kahoot! ใช้งานอย่างไร?

  1. การใช้งานเริ่มแรกจะต้องสร้าง หรือเลือกชุดแบบทดสอบที่ต้องการ จากนั้นแชร์รหัส PIN แก่คนอื่น ๆ ที่ต้องการให้เข้ามาทำแบบทดสอบ เมื่อเข้ามาแล้วจะให้กรอกชื่อของผู้เล่น หากผู้เล่นเข้ามาครบแล้ว ก็กดปุ่ม Start เพื่อเริ่มแบบทดสอบ
  2. โปรแกรมเริ่มทำงานและแสดงคำถามที่หน้าจอผู้สอน ซึ่งมีรายละเอียดของคำถามและคำตอบ ส่วนหน้าของผู้เข้าร่วมเกม หน้าจอจะมีแค่สีและรูปของตัวเลือก ให้ดูภาพของตัวเลือกหรือคำตอบในตัวเลือกจากหน้าจอผู้สอน และเลือกคำตอบตามรูปและสีที่ขึ้นหน้าจอของตัวเอง โดยคนที่กดคำตอบรวดเร็วและถูกต้องจะได้คะแนนเยอะกว่า
  3. เมื่อตอบคำถามหมดทุกข้อหน้าจอจะแสดงคะแนนผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุด 3 อันดับแรกของห้อง ซึ่ง Kahoot! มีการเก็บสถิติแบบทดสอบของผู้เข้าร่วมในรูปแบบรายงานและไฟล์ข้อมูล เพื่อจะนำไปประยุกต์ใช้ในการเก็บคะแนนแบบฝึกหัดในอนาคตได้ด้วย โดยสามารถเลือกรูปแบบที่ต้องการจะจัดเก็บข้อมูลได้

มี Features อะไรบ้าง? 

  • โหมด Ghost

โหมด Ghost เป็นคุณสมบัติที่จะช่วยกระตุ้นผู้ทำแบบทดสอบ โดยการแข่งขันกับตัวเอง โดยจะใช้คะแนนก่อนหน้าของตนเองเพื่อพัฒนาความรู้และประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถทำแบบทดสอบได้มากกว่าหนึ่งครั้ง เพื่อให้เราจดจำคำถามและคำตอบมากยิ่งขึ้น

  • การวิเคราะห์ (Analysis)

มี Feature ที่จะช่วยในการปรับปรุงความเข้าใจของผู้เรียนแต่ละคน โดยใช้การวิเคราะห์ผลลัพธ์เพื่อดูว่านักเรียนคนใดมีปัญหาอะไร เพื่อให้ผู้สอนสามารถพัฒนาผู้เรียนในด้านนั้นได้

  • การคัดลอก (Copy)

สามารถใช้แบบทดสอบที่สร้างโดยผู้ใช้คนอื่น ๆ ที่มีอยู่อย่างมากมายบนแพลตฟอร์ม และยังสามารถนำมารวมและดัดแปลงให้เหมาะสมกับการเรียนการสอนที่ตนเองต้องการได้อีกด้วย

  • การประเมินนักเรียนก่อน (Pre-assessment)

การใช้แบบทดสอบ Kahoot! เป็นวิธีที่ดีในการประเมินความรู้ของนักเรียนก่อนที่จะเริ่มการสอน เพื่อประเมินว่าเนื้อหาที่เตรียมมา หรือครั้งต่อ ๆ ไปง่ายเกินไปหรือซับซ้อนสำหรับผู้เรียนเกินไปหรือไม่

  • การใช้สื่อต่าง ๆ

หากต้องการตั้งคำถามโดยใช้รูปภาพก็สามารถทำได้ เพราะ Kahoot! มี Feature ที่สามารถเพิ่มรูปภาพได้ หรือสามารถเพิ่มวิดีโอจากใน YouTube ก็ทำได้เช่นกัน โดยให้นักเรียนดูคลิปวิดีโอก่อน และให้ตอบคำถามเมื่อวิดีโอจบลง

เทคนิค-เคล็ดลับต่างๆ ในการใช้งานให้สนุกและเกิดประโยชน์

1. เป็นการประเมินผลก่อนการสอน

การได้ทำแบบทดสอบก่อนเริ่มชั้นเรียน จะช่วยให้ผู้สอนสามารถปรับเนื้อหาการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนในชั้นเรียน  อีกทั้งทำให้ชั้นเรียนของคุณได้รับความสนใจจากผู้เรียนในชั้นเรียนมากขึ้นอีกด้วย 

2. สร้าง Active Learning

การนำแบบทดสอบที่รูปแบบเหมือนการเล่นเกมมาใช้ระหว่างการเรียนการสอน จะช่วยสร้าง Active Learning ทำให้ผู้เรียนมีการตื่นตัวและใช้ความคิดกับการตอบคำถาม เพราะทุกคนจะจดจ่อกับความสนุกในการทำแบบทดสอบ

3. ประหยัดเวลาด้วยการเตรียมมาล่วงหน้า

สามารถใช้ชุดคำถามที่มีอยู่แล้วใน Kahoot! เพื่อสร้างแบบทดสอบส่วนตัวได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาในการคิดคำถามขึ้นมาใหม่

4. ใช้โหมด Ghost

ใช้โหมด Ghost เพื่อให้นักเรียนทำลายสถิติคะแนนสูงสุดในครั้งก่อน เป็นวิธีที่ดีในการเปรียบเทียบจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของบทเรียนเพื่อดูการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง

5. ให้นักเรียนสร้างแบบทดสอบของตนเอง

ให้ผู้เรียนสร้างแบบทดสอบของตนเอง และแชร์ของตนเองให้แก่เพื่อน ๆ คนอื่นในชั้นเรียนได้ทดลองเล่นกัน นอกจากจะเป็นการช่วยให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ และยังทำให้เห็นว่าเรามีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้น ๆ เพื่อจะนำมาสร้างเป็นแบบทดสอบให้คนอื่น ๆ ได้

สรุป (Key Takeaway)

Kahoot! ถือว่าเป็นเทคโนโลยีการศึกษาที่ตอบโจทย์ เพราะช่วยให้ห้องเรียนมีความสนุกสนาน อีกทั้งยังมีประโยชน์อีกด้วย นอกจากนี้ยังทำให้ผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน เมื่อผู้สอนและผู้เรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน และในช่วงที่เรามีการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ครู-อาจารย์กำลังมองหา EdTech ในไทย หรือที่ต้องสอนนักเรียนด้วยระบบ E-learning ในไทย ก็สามารถนำโปรแกรมตรงนี้มาใช้ได้อีกด้วย ถือว่าเป็น EdTech ที่น่าสนใจในยุคนี้เลยทีเดียว

แหล่งอ้างอิง:

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

EdTech
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
basic
2:00 ชั่วโมง

3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ตัวช่วยทำสื่อการสอน

เรียนรู้ 3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ที่นำไปใช้ได้จริงสำหรับการสร้างสื่อการสอน สะดวกต่อการใช้งาน มีประโยชน์สำหรับห้องเรียน ช่วยให้นัก ...

Starfish Future Labz
Starfish Future Labz
3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ตัวช่วยทำสื่อการสอน
Starfish Future Labz

3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ตัวช่วยทำสื่อการสอน

Starfish Future Labz
1578 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน

หลักสำคัญ ในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครู เป็นแนวทางใหม่ของการประเมินวิทยฐานะของครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3778 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

การติดตาม ปรับปรุง และผลการสะท้อนกลับ

การติดตามเพื่อพัฒนา ประเมินความก้าวหน้า และสะท้อนผลที่เกิดขึ้นรวมกัน เป็นการกำหนดวิธีในการติดตามผลจากการจัดกิจกรรมการ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การติดตาม ปรับปรุง และผลการสะท้อนกลับ
Starfish Academy

การติดตาม ปรับปรุง และผลการสะท้อนกลับ

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
Starfish Academy

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

Starfish Academy

Related Videos

เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
03:45
Starfish Academy

เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”

Starfish Academy
7803 views • 1 ปีที่แล้ว
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
04:37
Starfish Future Labz

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21

Starfish Future Labz
12511 views • 3 ปีที่แล้ว
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
สอนคณิตให้เป็นเรื่องสนุกด้วย การสอนแบบ active learning
02:08
Starfish Academy

สอนคณิตให้เป็นเรื่องสนุกด้วย การสอนแบบ active learning

Starfish Academy
18230 views • 1 ปีที่แล้ว
สอนคณิตให้เป็นเรื่องสนุกด้วย การสอนแบบ active learning
3 ขั้นตอนอ่านออก เขียนได้ สไตล์ปลาดาว
04:12
Starfish Academy

3 ขั้นตอนอ่านออก เขียนได้ สไตล์ปลาดาว

Starfish Academy
475 views • 3 ปีที่แล้ว
3 ขั้นตอนอ่านออก เขียนได้ สไตล์ปลาดาว