สร้างครูไทยหัวใจฮีโร่ Active Learning กับกระบวนการพัฒนา 8 ตัวชี้วัด
เมื่อวันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงแรม อมารีดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ ทีมงาน Starfish Education ได้จัดกิจกรรม Teachers Hero Season 3 ครูมีไฟหัวใจฮีโร่ ปลุกพลังการสอน ปีที่ 3
โดยเป้าหมายของกิจกรรม คือ สร้างครูผู้นำเป็นครู Influencer จัดทำสื่อสร้างสรรค์เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้แบบ Active Learning ให้แก่นักเรียน เพื่อหวังจะขยายความเข้าใจให้แก่ครูทั่วประเทศ ให้สามารถจัดทำสื่อการเรียนการสอน และพัฒนาทักษะได้ตามเกณฑ์ 8 ตัวชี้วัด วPA
จากกิจกรรม “Active Learning กับกระบวนการพัฒนา 8 ตัวชี้วัด” ในช่วงของ ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง มีประเด็นสำคัญจากการทำกิจกรรมของคุณครู เริ่มต้นด้วยการทำข้อตกลงร่วมกันคือ ข้อที่ 1 เรียนความรู้ ( K ) หัดทำงาน ( P ) ทำความดี ( A ) ข้อที่ 2 สร้างกล่อง Learning box โดยคำนึงถึงช่วงของการทำกิจกรรมว่าเราจะได้เรียนรู้อะไรบ้าง? ซึ่งต้องผนวกหรือบูรณาการกับ K S A M และกิจกรรมการสะท้อนคิดจากคำถามที่ว่า
- มาเพื่ออะไร ( 3 คำ )
- ทำไมจึงต้อง 3 นี้
หลังจากนั้นจึงเริ่มกิจกรรมโดยให้คุณครูได้เริ่มต้นด้วยการทำความรู้จักกัน ในรูปแบบกิจกรรมกลุ่ม ซึ่งในแต่ละกลุ่มต้องมีจำนวน 5 คนและจะต้องมีการเลือกรับบทบาทเป็นบุคคล 5 ประเภทซึ่งในที่นี้จะสะท้อนถึงกลุ่มคน ที่เราสามารถพบได้ทุกวันในโรงเรียน ในสังคม เช่น ผู้ใหญ่ คนมั่งมี คนแมนๆ เพื่อนไลก์ และคนซื่อ โดยคุณครูจะต้องค้นหาคนที่มีบทบาทเหล่านั้น แล้วรวมกลุ่มกันเพื่ออภิปรายและตอบคำถามจากโจทย์ของ ดร. วรวุฒิ ว่าเมื่อเราเจอกลุ่มคนเหล่านั้นเราต้องปฎิบัติอย่างไร เช่น เมื่อพบผู้ใหญ่ให้สวัสดี เมื่อพบคนมั่งมี ให้เช็คแฮนด์ เป็นต้น
ซึ่งในกิจกรรมนี้เป็นการเปิดโอกาสให้คุณครูได้แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เนื่องจากแต่ละท่านมาจากต่างโรงเรียน ต่างวิชา และมีบริบทที่แตกต่างกัน ในการทำกิจกรรมนั้น ทุกคนจะต้องมีการกลั่นกรองคำตอบ สรุปข้อคิดเห็นของกลุ่มออกมา ซึ่งในช่วงท้ายของกิจกรรม ดร.วรวุฒิ ได้มีการสรุปสะท้อนถึงประเด็นคำถามที่ว่า ทุกคนต้องเรียนความรู้ คือ การที่ทุกคนได้มีการแลกเปลี่ยนกันผ่านกระบวนการกลุ่ม หัดทำงาน คือ การที่เราได้ยอมรับความคิดเห็น ยอมรับความแตกต่าง ทำงานอยู่บนความหลากหลายได้ และสุดท้าย การทำความดี ซึ่งในที่นี้หมายถึง การแบ่งปันประสบการณ์ เป็นต้น
ในอีกช่วงของกิจกรรมคือ การให้คุณครูได้สะท้อนคิดว่าการที่คุณครูจะต้องไปสร้างนวัตกรรมนั้น ต้องมีบุคลิกภาพ หรือ มี Mindsetอย่างไร เพราะ Mindset คือ ความเชื่อที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของเรา โดยต้องตอบคำถามว่า ตัวคุณครูเองเป็นบุคคลแห่งการพัฒนาและสามารถเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ ? หากตอบว่า ใช่ เราสามารถพัฒนาได้ ปรับตัวเปลี่ยนแปลงใหม่ได้เสมอ คือ การมี Growth mindset ที่ดี แต่ถ้า ตอบว่า ไม่ คือตัวคุณครูเองยังมองว่าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ นั่นหมายความว่าคุณครูยังคงมี Fixed mindset ซึ่งการที่คุณครูกำลังจะเป็นต้นแบบให้กับเพื่อนครูนั้น ควรจะต้องเป็นบุคคลที่มี Growth mindset ซึ่งในการเผยแพร่องค์ความรู้หรือนวัตกรรมนั้น จะต้องคำนึงหรือจะต้องอยู่บนหลักพื้นฐานอะไรบ้างนั้น ดร.วรวุฒิ ให้ตั้งคำถามเพื่อถามตัวเองก่อนว่า
- เราทำเพื่อใคร
- มีใครได้รับผลกระทบบ้าง
- การกระทำนั้นอยู่ในระดับใด
เมื่อคุณครูสร้างนวัตกรรมแล้วมีความสอดคล้องกับ 8 ตัวชี้วัดของ วpa เพื่อสร้างห้องเรียน Active Learning อย่างไร โดยในช่วงกิจกรรมนี้ คุณครูทุกท่านจะต้องทำกิจกรรม ดังนี้คือ
- วิเคราะห์ตนเองว่าในการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา มีความสอดคล้องกับ 8 ตัวชี้วัดใดบ้าง
- จัดลำดับ 8 องค์ประกอบที่ถนัด เชี่ยวชาญ หรือใช้บ่อย จากมาก ไปหาน้อย
- เลือก 3 ลำดับแรกมาอธิบาย ผ่านการทำ Mind mapping
จากกิจกรรมนี้สิ่งที่คุณครูจะได้รับประโยชน์คือ การได้มาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคนิคการสอน ประสบการณ์ของแต่ละคน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า จากโจทย์เดียวกัน สามารถสร้างการเรียนรู้และวิธีการได้หลากหลายเพื่อให้ได้คำตอบเดียวกัน คุณครูจะเห็นตัวอย่างการสอน ตัวอย่างนวัตกรรมที่มีลักษณะเด่น ครบทั้ง 8 ตัวชี้วัด ผ่านการแชร์ การเรียนรู้ การแบ่งปันจากเพื่อน และแนวคิดที่สำคัญคือ คุณครูในยุคใหม่จะต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงวิธีการสอนอยู่เสมอ
กิจกรรมถัดมา วิเคราะห์ห้องเรียนของตนเองว่า Active หรือไม่ ผ่านกิจกรรม I – CARE
- I = Identity เด็กเกิดอัตลักษณ์อย่างไรบ้าง การจัดการ คุณธรรม ทักษะ ความรู้
- C = Co-oporative การเรียนรู้ร่วมกันกับผู้อื่น
- A = Active เรียนรู้จากการปฎิบัติ สำรวจ ค้นหา สอบถาม สัมภาษณ์ เล่าให้ฟัง นำเสนอ เด็กเกิดความกระหายที่จะอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง
- R = Reflective เรียนรู้จากการสะท้อนคิด ความรู้สึก การเรียนรู้พฤติกรรม
- E = Evaluative เรียนรู้จากการประเมินตนเอง จัดการเรียนรู้ของตนเอง พัฒนาความจำ พัฒนาความคิด ( เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือไม่)
จากการเรียนรู้ I – CARE คุณครูจะต้องสามารถวิเคราะห์ตัวเองว่า เกิดตัวใดขึ้นกับตัวเองบ้าง ปรากฏอยู่ในการสอนของตนเองในส่วนใด เช่น แผนการสอน ขั้นตอนการสอน ใบความรู้ สื่อการสอน ใบงาน แบบฝึกหัด แบบประเมิน หรือ บันทึกการสอน หากย้อนทบทวนกลับไปจะทำให้คุณครูมองเห็นถึงคอนเทนต์ที่จะสามารถนำมาสร้างนวัตกรรมได้
สิ่งสำคัญคือครูต้องเข้าใจถึง 8 ตัวชี้วัดเพราะจะส่งผลให้สร้างประเด็นท้าทาย นวัตกรรมการสอน และวิจัยในชั้นเรียนก็จะตามมา นำไปสู่ บันได 5 ขั้น คือ
- ปรับประยุกต์
- แก้ปัญหา
- ริเริ่มพัฒนา
- คิดค้นปรับเปลี่ยน
- สร้างการเปลี่ยนแปลง
ในช่วงท้ายของกิจกรรม Workshop ดร.วรวุฒิ ได้ให้คุณครูเปิดกล่องการเรียนรู้ Learning box ว่าจากกิจกรรมในวันนี้ได้รับอะไรบ้าง? ได้สะท้อนถึง K S A M อย่างไรเพื่อนำไปปรับใช้ในการสร้างนวัตกรรม สิ่งสำคัญคือ นอกจากจะมี K S A แล้ว สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญจะเกิดประสิทธิภาพหรือไม่ คือ ตัว M กระบวนการ หากคุณครูมีทุกอย่างในตัวแล้ว แต่หากครูไม่สามารถจัดกระบวนการให้เกิดขึ้นได้จริง ก็อาจไม่เกิดประโยชน์
(ดร.วรวุฒิ)
บทความใกล้เคียง
Related Courses
การทำงานแบบทีม ทักษะจำเป็นยุคดิจิทัล (Collaboration skill)
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้ว่า การทำงานร่วมกันเป็นอย่างไร ทำไมเราต้องทำงานกับผู้อื่น แล้วเมื่อต้องทำงานร่วมกันแล้วจะส่งเสริมใ ...
การทำงานแบบทีม ทักษะจำเป็นยุคดิจิทัล (Collaboration skill)
เจาะลึกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เด็กรุ่นใหม่ต้องมีการปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป และต้องมีทักษะอะไรบ้างเพื่อรองรับกับอ ...
วัยรุ่นยุคใหม่ ต้องรู้เท่าทันโลกโซเชียล (Media Literacy)
ถึงเวลาที่น้องๆ ต้องรู้เท่าทันโลกโซเชียล เมื่อโลกอินเทอร์เน็ตทำให้เราเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและสะดวกต่อการเข้าถึ ...
วัยรุ่นยุคใหม่ ต้องรู้เท่าทันโลกโซเชียล (Media Literacy)
การสร้างรายได้จากสติกเกอร์ Line
เมื่อยุคเปลี่ยนไปการสื่อสารกันในชีวิตประจำวันเปลี่ยนตาม จากการพูดคุยกลายเป็นการพิมพ์คุยกัน การสร้างสติกเกอร์ไลน์จึงเป็นอาชีพ ...