การจัดการศึกษาแบบ Remote Learning เพื่อการสอนแบบ Teach From Home

Starfish Academy
Starfish Academy 23375 views • 4 ปีที่แล้ว
การจัดการศึกษาแบบ Remote Learning เพื่อการสอนแบบ Teach From Home

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ทุกคนกังวลกับความเสี่ยงที่จะติดเชื้อหากต้องออกจากบ้านมาพบปะกันในสถานที่ต่างๆ ดังนั้น หลายองค์กรจึงได้ตอบรับนโยบายของภาครัฐในการลดความเสี่ยงด้วยการเพิ่มระยะห่างระหว่างกันในสังคม โดยอนุญาตให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน หรือเรียกกันแบบเก๋ๆ ว่า Work from home (WFH) จนส่งผลให้จำนวนผู้ใช้โปรแกรม Zoom.us ซึ่งเป็นแฟลตฟอร์มสำหรับการประชุมทางไกล (Video Conference) เพิ่มขึ้นจาก 10 ล้านคนทั่วโลก เป็น 200 ล้านคนต่อวัน ไม่เพียงแต่ภาคธุรกิจเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบและต้องปรับวิธีการทำงาน ในส่วนขององค์กรด้านการศึกษาเองก็เช่นกันที่ต้องปรับกระบวนการจัดการเรียนการสอน โดยนำเอาเทคโนโลยีและบรรดาเครื่องมือที่จะช่วยในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์เข้ามาปรับใช้เพื่อให้ครูและเด็กๆ สามารถดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ต่อไปได้ภายใต้วิกฤติโรคระบาดนี้ โดยครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาหลายคนอาจจะยังไม่ทันได้เตรียมตัวเตรียมใจกันมาก่อน จึงอาจกล่าวได้ว่า "โควิด-19" เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการปฏิรูป (Transfomation) สถานศึกษาสู่องค์กรยุคดิจิทัลในเวลาเพียงชั่วข้ามคืนเลยก็ว่าได้


ภายใต้ความสับสน อลหม่าน และสภาวการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูงเกี่ยวกับกำหนดวันเปิดภาคเรียนใหม่ ซึ่งสุดท้ายก็ถูกเลื่อนออกไปจากวันที่ 15 พฤษภาคม เป็นวันที่ 1 กรกฏาคม 2563 แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนในรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ส่งผลให้หลายโรงเรียนเริ่มมองหาวิธีการที่จะจัดการเรียนรู้ในแบบที่ครูกับเด็กอาจจะไม่ได้อยู่ในห้องเดียวกัน หรือที่เรียกว่า “การจัดการศึกษาทางไกล” (Distance or Remote Learning) และด้วยความไม่คุ้นเคยกับการจัดการศึกษาในรูปแบบนี้ ทำให้ผู้บริหารและครูหลายคนอาจคิดออกเพียงแค่การใช้ครูตู้ (การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมหรือระบบทีวีดิจิทัล) และการใช้การประชุมทางไกลมาทดแทนการสอนแบบบรรยายในห้องเรียนแล้วให้เด็กๆ นั่งฟังครูเล่าความรู้อยู่ที่บ้าน ซึ่งทุกคนก็รู้อยู่แก่ใจดีว่า "มันไม่เวิร์ค"


นอกจากการพัฒนาครูให้พร้อมกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์และการแจกแท็ปเล็ตให้กับเด็กๆ (ซึ่งคงต้องประเมินความคุ้มค่าให้ดีเสียก่อน) เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเรียนแบบ Remote Learning แล้ว โรงเรียนอาจต้องใช้ความร่วมแรงร่วมใจจากหลายฝ่ายด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นส่วนของสถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้ปกครอง โดยนอกจากจะต้องชี้แจ้งให้ทุกคนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการจัดการเรียนการสอนแล้ว ก็คงต้องทำการสำรวจความพร้อมของนักเรียนและผู้ปกครองด้วย เช่น อุปกรณ์ที่จะใช้ในการเรียนรู้ การสามารถในการเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ช่องทางที่สะดวกในการสื่อสาร เวลาในการดูแลบุตรหลานและภาระของผู้ปกครอง รวมถึงความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ของคนในบ้านด้วย (ในกรณีของครอบครัวชนเผ่าหรือคนต่างด้าว ที่อาจไม่สื่อสารด้วยภาษาไทย) 





สำหรับงานวิชาการอาจจะต้องพิจารณาดูว่า สามารถปรับตารางเรียนตารางสอนใหม่จากเดิมที่เคยสอนเป็นคาบเรียนวันละ 6-7 วิชา โดยอาจจัดตารางเรียนใหม่ให้เป็น แบบเรียนวันละวิชา หรือ แบบบล็อกคอร์ส (Block course) ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไปทีละรายวิชา เมื่อจบวิชาหนึ่งแล้วจึงจะเริ่มขึ้นวิชาใหม่ในวันหรือสัปดาห์ถัดไป ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถโฟกัสในกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละวิชาได้ง่ายและลดความสับสนจากการเรียนอย่างเร่งรีบในแต่ละวันได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ส่วนงานวิชาการอาจจำเป็นต้องออกแบบวิธีการหรือจัดหาระบบสารสนเทศเพื่อการกำกับและติดตามการจัดการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชาอย่างใกล้ชิด ไม่ใช่เพื่อการจับผิดว่าครูสอนหรือไม่ แต่ใช้เพื่อดูว่าวิธีการจัดการเรียนรู้ในแต่ละรายวิชาตามนโยบายที่กำหนดไว้นั้นใช้ได้ผลหรือไม่ และมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ซึ่งจะช่วยให้ฝ่ายวิชาการสามารถให้การสบับสนุนและช่วยเหลือครูผู้สอนในการแก้ไขปัญหาที่เกิดได้อย่างทันท่วงที โดยเบื้องต้นผมขอแนะนำว่าให้ฝ่ายวิชาการใช้ Google Form ในการสร้างเป็นแบบฟอร์มให้ครูผู้สอนกรอกเป็นบันทึกหลังการสอนในแต่ละหน่วย ก็จะช่วยให้ฝ่ายวิชาการสามารถรวบรวมข้อมูลได้รวดเร็ว รวมทั้งสามารถนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลการจัดการเรียนรู้ในเบื้องต้นได้อีกด้วย ( ตัวอย่างคำถามสำหรับการสร้าง Google Form เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/34lZyD9 ) นอกจากนี้ อาจจัดให้มีการประชุมหรือกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนาวิชาชีพ (PLC) ของครูเพื่อสรุปปัญหาและช่วยกันหาแนวทางแก้ไขอย่างน้อยทุกสัปดาห์


ในบทบาทของครูผู้สอนก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องพัฒนาทักษะในการสร้างสื่อการเรียนรู้และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อช่วยในการทำงานและจัดการเรียนการสอน โดยเบื้องต้นนั้นก็คงต้องศึกษาหาความรู้และฝึกฝนการใช้เครื่องมือต่างๆ ที่เกี่ยวกับ (ดูแผนภาพความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับครูได้ที่ miro.com/app/board/o9J_ku8qQmA=/ )

  • การใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แบบพกพา
  • การสื่อสารและการใช้อินเทอร์เน็ต
  • การออกแบบและการสร้างสื่อดิจิทัล
  • การสืบค้นข้อมูลและทรัพย์สินทางปัญญา
  • ความปลอดภัยและกฏหมายดิจิทัล


สำหรับการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการเรียนรู้นั้น ครูก็คงต้องรื้อฟื้นทบทวนเอาความรู้พื้นฐานที่คุ้นเคยมาปัดฝุ่นเพื่อใช้เป็นฐานในการวิเคราะห์บทเรียนและการ Redesign กิจกรรมเพื่อจัดการศึกษาทางไกล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ OLE (Objective-Learning-Evaluation) หรือเรื่องของ การกำหนดวัตถุประสงค์และการประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม (Taxonomy of Education) ทั้ง 3 โดเมน คือ พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) จิตพิสัย (Affective Domain) ซึ่งเป็นเครื่องมือหลักที่จะนำมาใช้ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และเจตคติ (Attritude) ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ตามจุดมุ่งหมายของรายวิชาหรือหลักสูตร 





อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูจึงต้องคำนึงถึงการผสมผสานความรู้ด้านเทคโนโลยีกับศิลปะและกระบวนทัศน์ในการจัดการเรียนรู้เข้ากับการนำเสนอเนื้อหาในการสร้างองค์ความรู้และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกรอบ TPCK หรือ TPACK Model โดยท่านสามารถศึกษาเกี่ยวกับการใช้ TPACK Model เพื่อการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติมได้จากบทเรียนของ StarfishLabz เรื่อง “พื้นฐานการใช้เทคโนโลยีสำหรับครู” เข้าถึงได้จาก https://www.starfishlabz.com/คอร์ส/3-พื้นฐานการใช้เทคโนโลยีสำหรับครู


โดยสิ่งที่ครูจะต้องพิจารณาเพื่อจัดกิจกรรมการศึกษาทางไกลนั้น ประกอบด้วย


(1) การแยกเนื้อหาที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ ออกเป็น 2 ส่วน คือ 

1.1 ส่วนที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากการอ่าน ศึกษาค้นคว้า หรือการดูคลิปวิดีโอ ซึ่งเป็นส่วนที่ผู้เรียนแต่ละคนสามารถทำได้เองในกิจกรรมแบบไม่ผสานเวลา (Asynchronous learning) ซึ่งส่วนนี้ผู้สอนอาจจัดทำเป็นใบความรู้และใบงานส่งไปให้ผู้เรียนหรืออัพโหลดไว้ในเว็บไซต์รายวิชาหรือระบบจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ (LMS) ของโรงเรียน 

1.2 ส่วนที่มีความซับซ้อนหรือเป็นองค์ความรู้ใหม่ซึ่งผู้สอนจำเป็นจะต้องอธิบาย สาธิต หรือทำกิจกรรมกับผู้เรียนแบบผสานเวลา (Synchronous learning) โดยกิจกรรมในส่วนนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจจะต้องนัดหมายเวลาในการทำกิจกรรมร่วมกันผ่านการประชุมทางไกลและอาศัยเครื่องมืออย่างเช่น ระบบโต้ตอบกับผู้เรียน (Student Response System) หรือเครื่องมือเพื่อการทำกิจกรรมร่วมกันแบบออนไลน์ (Online Collabroration Tools) มาใช้ประกอบการทำกิจกรรม


(2) การพิจารณาความเหมาะสมของระดับในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดกิจกรรมตามตารางการบูรณาการเทคโนโลยี (Technology. Integration Matrix: TIM) เพื่อจะได้สามารถเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ ให้ได้อย่างเหมาะสมต่อผู้เรียนและลักษณะรูปแบบในการจัดการเรียนรู้


อ้างอิงตารางจากหนังสือ เรื่อง "การเรียนรู้ที่บูรณาการร่ว?มกับเทคโนโลยี (Technology Integrated Learning)"

เขียนโดย ผศ.ดร. สุทธิดา จำรัส คณะศึกษาศาตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 


(3) การกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นระยะๆ ตลอดการทำกิจกรรมการเรียนรู้ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ การวัดและประเมินกระบวนการที่ผู้เรียนใช้ในการสร้างองค์ความรู้หรือชิ้นงาน ซึ่งอาจทำได้ด้วยการให้ผู้เรียนจัดทำเป็นวิดีโอหรือเอกสารเพื่ออธิบายวิธีการหรือขั้นตอนที่ได้ทำในระหว่างดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ และอีกส่วนคือการประเมินผลลัพธ์หรือผลผลิตที่เกิดการเรียนรู้ในแต่ละกิจกรรม โดยผู้สอนจะต้องกำหนดลูบิคในการประเมินให้มีความชัดเจนและอาจให้ผู้เรียนที่ส่วนร่วมสะท้อนคิดเพื่อการประเมินผลลัพธ์หรือชิ้นงานที่ตนเองได้ทำ ทั้งนี้ ครูอาจนำเอาโปรแกรมประเภทแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ (Digital fortfolio) มาช่วยในการรวบรวมหลักฐานจากการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนได้ โดยท่านสามารถศึกษาเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมดังกล่าว เพื่อการประเมินผู้เรียนเพิ่มเติมได้จากบทเรียนของ StarfishLabz เรื่อง “การประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง” เข้าถึงได้จาก https://www.starfishlabz.com/คอร์ส/5-การประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง 


สำหรับผู้ปกครองนั้น คงไม่ต้องมานั่งเฝ้าดูลูกเรียนตลอดทั้งวันซึ่งแบบนี้แทนที่จะส่งเสริมการเรียนรู้จะกลายเป็นการรบกวนสมาธิของลูกเสียเปล่าๆ ในสถานนการณ์แบบนี้ผู้ปกครองคงต้องสวมบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้กับบุตรหลาน โดยการจัดสรรพื้นที่ในบ้านให้เป็นสัดส่วนและเอื้อต่อการทำกิจกรรมการเรียนรู้ และพร้อมที่จะเป็นเสมือนผู้ช่วยของคุณครูที่จะต้องคอยกำกับและติดตามการเรียนรู้ของบุตรหลายตนเองอย่างใกล้ชิดตามเวลาที่กำหนดอย่างเหมาะสม เช่น การช่วยสร้างความพร้อมให้กับเด็กๆ หลังอาหารเช้าก่อนการเรียน และการสอบถามถึงกิจกรรมและสิ่งที่ลูกๆ ได้ทำในวันนี้ในช่วงหลังอาหารเย็นเพื่อเป็นการสร้างสัมพันธ์ในครอบครัวและเป็นการส่งเสริมให้เด็กๆ ได้สะท้อนถึงสิ่งที่ได้เรียนในแต่ละวัน และอาจสรุปส่งเป็นข้อมูล Feedback ให้กับคุณครูตามแบบฟอร์มหรือรูปแบบที่ครูได้กำหนดไว้ทุกสิ้นวันหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง 


สุดท้ายนี้ ผมขอเสนอแนะรูปแบบที่อาจเป็นไปได้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

  1. การใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-learning package) ประกอบกับการติดตามของครูเป็นระยะๆ ซึ่งน่าจะเหมาะกับเด็กระดับปฐมวัย ประถมศึกษาตอนต้น หรือผู้เรียนที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงเทคโนโลยี 
  2. การจัดการเรียนรู้แบบบล็อกคอร์ส (Block course) ซึ่งน่าจะเหมาะกับผู้เรียนในระดับประถมปลายหรือมัธยมศึกษา ซึ่งมีความพร้อมในการเข้าถึงอุปกรณ์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แต่อย่างไรก็ตามสำหรับการจัดการเรียนรู้ในระดับประถมศึกษาก็ยังคงต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ปกครองในการติดตามและกำกับผู้เรียน อย่างน้อยในช่วงเย็นของทุกวันเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สะท้อนผลการเรียนรู้และเพื่อประเมินสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ในแต่ละวัน
  3. การจัดการเรียนรู้ตามตารางสอนเดิม (Schedule) แต่ผู้สอนกำหนดกิจกรรมในแต่ละคาบออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นกิจกรรมแบบไม่ผสานเวลาซึ่งกำหนดให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเองเพื่อปรับพื้นฐานความรู้เดิมและเตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ส่วนที่สองคือ กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสานเวลาที่ผู้เรียนจะต้องเข้ามาทำกิจกรรมกับผู้สอนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับผู้เรียน และในส่วนสุดท้ายคือกิจกรรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งผู้สอนสามารถกำหนดให้เป็นกิจกรรมแบบผสานเวลาหรือไม่ผสานเวลาก็ได้ตามความเหมาะสมของวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียน


หากเรามองโลกในแง่ดี อย่างน้อยวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ ก็ช่วยผลักดันและส่งเสริมให้พวกเราได้พัฒนาทักษะทางดิจิทัล (Digital Literacy) ตามโครงการของ ก.พ. และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งได้ปรับวิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อก้าวสู่การศึกษาซึ่งมุ่งสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามแผนพัฒนาประเทศสู่ “ดิจิทัลไทยแลนด์” และ “ประเทศไทย 4.0” อีกก้าวหนึ่งนะครับ (หรือว่าไม่จริง) 


เรียบเรียงโดย อาจารย์ธิติ ธีระเธียร

ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาครูและนักเทคโนโลยีทางการศึกษา

StarfishLabz และ Starfish Academy

มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม



มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน

Starfish แหล่งเครื่องมือช่วยครูในจัดการชั้นเรียนที่หลากหลาย เช่น Starfish Labz, Starfish Class แบบเว็บไซต์ และแ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน
Starfish Academy

Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
basic
2:00 ชั่วโมง

พื้นฐานการใช้เทคโนโลยี สำหรับครูยุคใหม่

หลักสูตรเพื่อก้าวสู่การครูยุคใหม่ซึ่งมีทักษะพื้นฐานทางดิจิทัลและความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในนำมาใช้ในการผลิตสื่อ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
พื้นฐานการใช้เทคโนโลยี สำหรับครูยุคใหม่
Starfish Academy

พื้นฐานการใช้เทคโนโลยี สำหรับครูยุคใหม่

Starfish Academy
28411 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

CS Unplugged

CS Unplugged หรือ Computer Science Unplugged เป็นแนวคิดการเรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กเล็กไปจนถึงเด็กโต ...

Starfish Future Labz
Starfish Future Labz
CS Unplugged
Starfish Future Labz

CS Unplugged

Starfish Future Labz
2706 ผู้เรียน
EdTech
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

สื่อไอซีทีง่ายๆด้วย Google Sheet

เรียนรู้การใช้ Flippity สร้างการสร้างเกมจับคู่, เกมแผ่นป้ายปริศนา, เกมล่าสมบัติ และเกมเกี่ยวกับคำศัพท์ เช่น Hangman, C ...

Google for Education Partner
Google for Education Partner
สื่อไอซีทีง่ายๆด้วย Google Sheet
Google for Education Partner

สื่อไอซีทีง่ายๆด้วย Google Sheet

Google for Education Partner
1700 ผู้เรียน

Related Videos

how to คุณอิสยาห์ กองเงิน
04:59
Starfish Academy

how to คุณอิสยาห์ กองเงิน

Starfish Academy
320 views • 5 ปีที่แล้ว
how to คุณอิสยาห์ กองเงิน
How to ทีม Rookyteam
03:55
Starfish Academy

How to ทีม Rookyteam

Starfish Academy
1152 views • 5 ปีที่แล้ว
How to ทีม Rookyteam
เปลี่ยนแปลงการศึกษา ด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม
03:33
Starfish Academy

เปลี่ยนแปลงการศึกษา ด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม

Starfish Academy
733 views • 2 ปีที่แล้ว
เปลี่ยนแปลงการศึกษา ด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม
เทคนิควิธีการสอนโดยใช้เทคโนโลยี ช่วยสอน
03:18
โรงเรียนปลาดาว

เทคนิควิธีการสอนโดยใช้เทคโนโลยี ช่วยสอน

โรงเรียนปลาดาว
1030 views • 5 ปีที่แล้ว
เทคนิควิธีการสอนโดยใช้เทคโนโลยี ช่วยสอน