การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อเด็กทุกคน ตลาดนัดการเรียนรู้ โรงเรียนพัฒนาตนเอง สู่การยกระดับคุณภาพโรงเรียน
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “เพื่อเด็กทุกคน : บทเรียนจากโรงเรียนพัฒนาตนเอง รุ่น 1”
ภายใต้โครงการบริหารจัดการโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)
ตลาดนัดการเรียนรู้ โรงเรียนพัฒนาตนเอง สู่การยกระดับคุณภาพโรงเรียน
การจัดกิจกรรมตลาดนัดการเรียนรู้ โรงเรียนพัฒนาตนเอง สู่การยกระดับคุณภาพโรงเรียนของเครือข่ายโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม ได้มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถค้นหาวิธีการพัฒนาตนเองโดยใช้กระบวนการ STEAM Design Process เรียนรู้การดำเนินการและผลลัพธ์จากโรงเรียนในโครงการที่มีความโดดเด่นในแต่ละองค์ประกอบ สร้างเครือข่ายเรียนรู้จากโรงเรียนที่มีความสนใจเดียวกัน และร่วมกันวางแผนแก้ไขปัญหา โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันผ่านกระบวนการทั้ง 7 กิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 Think Ice breaking โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตามความสนใจดังนี้ กลุ่ม 1 กลไกการบริหารจัดการโรงเรียน (Goal, Info, PLC, Network) กลุ่ม 2 การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่ม 3 เครื่องมือนวัตกรรมการเรียนรู้ (Learning Loss, Learning Recovery) การดูแลเด็กด้อยโอกาส และกลุ่ม 4 การขยายผลโรงเรียนพัฒนาตนเองกลไกการทำงานร่วมกับหน่วยงานต้นสังกัดในพื้นที่
กิจกรรมที่ 2 พัฒนาตนเอง ผ่านกระบวนการ STEAM Design Process จากขั้นตอนของการใช้คำถาม (ASK) โดยการเขียนคำตอบลงกระดาษ Post it จากข้อคำถามตามประเด็นของแต่ละกลุ่มถึงสิ่งที่เราทำได้ดีคืออะไร และสิ่งที่อยากพัฒนาคืออะไร
กิจกรรมที่ 3 เล่าสู่กันฟัง เป็นกิจกรรมการสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรียนรู้การดำเนินการ ผลลัพธ์ ปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนวิธีการรับมือแก้ไขปัญหาจากตัวแทนโรงเรียนที่มีความโดดเด่นในแต่ละกลุ่ม
กิจกรรมที่ 4 เรียนรู้กันและกัน (Image) เป็นการระดมความคิดเห็นถึงวิธีการแก้ไข โดยการแบ่งกลุ่มใหญ่ในแต่ละประเด็นเป็น 2 กลุ่มย่อย ครูในกลุ่มแบ่งปันสิ่งที่ตนเองเขียนในกระดาษ Post it และนำข้อความที่แชร์แล้วติดลงบนกระดาษบรู๊ฟตามหัวข้อสิ่งที่ทำได้ดี และสิ่งที่อยากพัฒนาต่อยอด จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมในทีมเลือกประเด็นที่อยากพัฒนาต่อยอดมากที่สุด 1 ประเด็น ทำการระดมความคิดถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาในประเด็น “เราจะจัดการ/แก้ไขอย่างไรดี” และเลือก 1 วิธีการที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด
กิจกรรมที่ 5 เรียนรู้จากประสบการณ์ เป็นขั้นตอนของการวางแผนดำเนินการแก้ปัญหา และลงมือปฏิบัติตามแผนพัฒนาคุณภาพโรงเรียนที่วางไว้
กิจกรรมที่ 6 แบ่งปัน เป็นขั้นตอนของการคิดสะท้อนและออกแบบใหม่ จากการทบทวน รวบรวมปัญหาอุปสรรค ความสำเร็จ และการพัฒนาต่อยอด
กิจกรรมที่ 7 สรุปบทเรียน เป็นการสรุปบทเรียนและองค์ความรู้/เนื้อหาที่เกิดขึ้น จากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว สามารถสรุปองค์ความรู้ในแต่ละด้านได้ดังนี้
1) ด้านความรู้ (Knowledge) เช่น การจัดการเรียนรู้โดยเทคนิคที่หลากหลาย แนวทางการพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา Learning loss การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Active Learning ด้วยกระบวนการ steam Design process แนวคิดหลักการในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เป็นต้น
2) ด้านทักษะ (Skill) เช่น ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบเป็นขั้นเป็นตอน กระบวนการในการจัด
การเรียนรู้ การทำงานเป็นทีมและการสะท้อนคิด เป็นต้น
3) เครื่องมือ (Material) เช่น กระบวนการ STEAM DESIGN PROCESS แบบฝึกทักษะการเรียนรู้/การแก้ไขปัญหา เครื่องมือหาค่าประเมินสื่อ รูปแบบการวัดประเมินผล เป็นต้น เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ การจัดกระบวนการเรียนรู้ การสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลายนำไปสู่การจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับบริบทของผู้เรียน
บทความใกล้เคียง
Related Courses
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...