ประเมิน PA อย่างไรดีในปีงบ 66 ลดเอกสาร เน้นที่ห้องเรียน ครูมีความสุข
ประเมิน PA อย่างไรดีในปีงบ 66 ลดเอกสาร เน้นที่ห้องเรียน ครูมีความสุข จากการที่ได้มีมติกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูรูปแบบใหม่ ซึ่งมีการนำการประเมินผลการปฏิบัติงาน คือการประเมิน PA (Performance Agreement) มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมิน ทำให้รูปแบบการประเมินที่เคยเป็นมานั้นเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือเพื่อ ลดเอกสาร เน้นที่ห้องเรียน ครูมีความสุข และกลายเป็นเรื่องสำคัญที่คุณครูจะต้องทำความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน ซึ่งการประเมินจะนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในพิจารณาเกี่ยวกับเงินเดือนและการขอวิทยฐานะ คือ ใช้ในการขอเลื่อน วิทยฐานะ การขอเลื่อนขั้นเงินเดือน และการคงไว้ซึ่งวิทยฐานะ ของครูโดยมีการแบ่งเบาภาระครูในเรื่องของการไม่ต้องทำเอกสารหรือแฟ้มงานเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา นั่นเอง ซึ่งคุณครูจะต้องสร้างแรงบันดาลใจด้วยตนเอง หรือคุณครูต้องมีการปรับ Mindset ในแบบที่สร้างโอกาสนำพาตนเองสู่ความสำเร็จในการเข้าใจในเรื่องของการประเมินรูปแบบใหม่ และต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติในทางบวกที่มีความต้องการในการพัฒนาตนเองให้สำเร็จตามเป้าหมายของการประเมิน ดังนั้น Mindset คือสิ่งที่มีภายในตัวทุกคน และมีผลต่อการตัดสินใจทุกด้านในชีวิตนั่นเอง
การเล่าเรื่องการประเมิน PA ซึ่งการดำเนินงาน PA ในปีงบประมาณ 2565 เพื่อการขับเคลื่อนและพัฒนา PA ในปีงบประมาณ 2566 ต่อไป เป็นการประเมิน 3 ด้าน 15 ตัวชี้วัด เป็นการประเมินที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงโดยการ ลดการประเมินด้วยเอกสาร เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนโดยใช้ PA ขับเคลื่อนหน้าที่หลักของคุณครู สู่ความงอกงามของผู้เรียน เพื่อให้คุณครูรักและศรัทธาในวิชาชีพ ในการร่วมกันในการพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพมาตรฐานที่กำหนดไว้ เพราะในการประเมิน วPA ส่วนใหญ่จะเป็นเน้นการประเมินในห้องเรียน ซึ่งครูจะอยู่ในห้องเรียนและอยู่กับนักเรียนมากขึ้น ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน นักเรียนจะได้รับการพัฒนาทักษะและสมรรถนะอย่างเต็มที่ เพราะถ้านักเรียนมีคุณภาพจะส่งผลโดยตรงกับ โรงเรียนให้มีคุณภาพ เมื่อนักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะจากครู โรงเรียนย่อมมีนักเรียนที่มีคุณภาพมากขึ้น ตรงตามมาตรฐานของโรงเรียนและตามมาตรฐานของชาติซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่กระทรวงได้วางไว้
สิ่งที่น่ากลัวของการขับเคลื่อน PA คือการขาด Mindset การที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อน หรือขาดการสื่อสาร การสื่อสารที่ผิดพลาด ติดอยู่กับการประเมินรูปแบบเดิม เข้าใจในสิ่งที่ผิดแต่คิดว่าถูก จะต้องมีการทำความเข้าใจกับโรงเรียน ผู้บริหาร คุณครู ให้มี Mindset ให้ตรงกัน จนสามารถปรับทัศนคติไปในทางที่ดี และผู้บริหารมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้บรรลุผล ส่วนใหญ่จะมีความวิตกกังวลกับการประเมินคือคณะกรรมการที่เข้ามาประเมิน แต่ปัจจุบันบทบาทของคณะกรรมการคือแค่การมีส่วนช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้ PA ขับเคลื่อนตามกลไกอย่างเป็นธรรมชาติเท่านั้น สิ่งสำคัญมากที่สุดคือตัวครูเอง ผู้บริหาร และกระบวนการภายในโรงเรียนที่มีการบริหารจัดการเพื่อให้มีการโชว์ศักยภาพของตัวครูมากที่สุด
ดังนั้นการประเมิน ว PA ของครู คือการลดการประเมินด้วยเอกสาร แต่ไม่ใช่ไม่ทำอะไรเลย แต่ต้องทำงานคือการจัดการเรียนการสอนตามปกติ มีแผนการสอนตามปกติ จะมีกรรมการเข้าไปประเมินโดยเข้าไปดูห้องเรียนโดยไม่รบกวนการเรียนการสอนของครูในห้องเรียน คือการประเมินโดยการเข้าไปสังเกตการณ์สอนในห้องเรียน อาจจะมีการนำเสนอได้ 3-5 นาทีได้เพื่อชี้แจงกิจกรรมการเรียนการสอนสามารถตอบโจทย์อะไรได้บ้าง คุณครูสามารถนำไปต่อยอดในเรื่องการขอวิทยฐานะที่สูงขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องไปดูเอกสาร คณะกรรมการประเมินจะเน้นที่ความเชื่อใจ และเข้าไปดู ไปสอบถามนักเรียนและไปดูการพัฒนาผลลัพธ์คือนักเรียนได้อย่างไรได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง
การประเมิน ว PA ของครู จะประสบผลสำเร็จหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการที่คุณครูสามารถพัฒนา “สมรรถนะ”ของผู้เรียน ได้ผลการเรียนตามเกณฑ์มาตรฐาน และตัวชี้วัดเป็นรายบุคคล ที่กำหนดไว้เป็นตัวเลข ร้อยละต่อคะแนนเต็มร้อย ผ่านครบทุกคนหรือไม่ แต่ละคนได้คะแนนเท่าไร ซึ่งคณะกรรมการประเมิน สามารถประเมินตามสภาพจริง เพื่อพิสูจน์ที่ตัวนักเรียนแต่ละคนได้ว่ามีคุณภาพและมาตรฐานตามที่กระทรวงได้กำหนดไว้หรือไม่ อย่างไรนั่นเอง
เห็นได้ว่า การประเมินวPA ได้ถูกนำมาใช้กับโรงเรียน เพื่อลดภาระงานของคุณครูและคุณครูก็จะไม่มีภาวะความเครียด ส่งผลต่อการสอนของครูในห้องเรียนที่จะมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.StarfishLabz.com
คุณครูสายบัว พิมพ์มหา
ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย สพม.ขอนแก่น
คุณครูวรายุทธ ประสพสิน
ครูโรงเรียนวัดบ้านนา จังหวัดระยอง
บทความใกล้เคียง
มัดรวมข้อมูลสำคัญ ว.PA สำหรับศึกษานิเทศก์
เพราะ วPA ไม่ใช่ตัวร้าย ถ้าครูทำแบบเข้าใจ
กิจกรรม TSQP Kick Off และ Leader Workshop
Related Courses
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน
หลักสำคัญ ในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครู เป็นแนวทางใหม่ของการประเมินวิทยฐานะของครู