สร้าง ACTIVE SCHOOL อย่างไรให้โรงเรียนไม่หยุดการเรียนรู้
ในประเทศไทย บริบทของแต่ละโรงเรียนมีความต่างกันในเรื่องของสภาพแวดล้อม เช่น โรงเรียนที่อยู่ในเมือง หรือโรงเรียนที่อยู่ในชนบท ผู้บริหารในฐานะของผู้อำนวยการจะต้องมีการศึกษาหาแนวทางในการพัฒนา ให้โรงเรียนมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา จึงได้มีการประชุมหาแนวทางแก้ไข รวมถึงปรับเปลี่ยนแนวคิดของคุณครูเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงการไปศึกษาดูงานโรงเรียนอื่นๆ เพื่อนำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงให้โรงเรียนของเรามีการพัฒนา ในที่สุดจึงมีการสร้างโรงเรียนให้มีการ ACTIVE จนเกิดกระแสในเชิงบวกเป็นโรงเรียนที่สามารถตอบสนองต่อผู้ปกครองและนักเรียนโดยโรงเรียนมีเป้าหมายคือ เป็นไปตามเป้าหมายการศึกษาของชาติและเป็นไปตาม วิสัยทัศน์ของโรงเรียน แต่ที่สำคัญจะต้องสามารถกุมหัวใจของผู้ปกครองนักเรียน ให้ผู้ปกครองมีความมั่นใจ และเชื่อมั่นในโรงเรียนในการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาโรงเรียนได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ที่สำคัญโรงเรียนจะต้องใส่ใจในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาในแนวทาง ACTIVE SCHOOL
ACTIVE SCHOOL ในมุมมองของผู้บริหาร คือ กิจกรรมในหลักสูตรและกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เคลื่อนไหว ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้ ACTION โดยให้นักเรียนได้มีการเคลื่อนไหวและมีกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ซึ่งตามปกติกิจกรรมการ ACTION จะมีในกลุ่มสาระวิชาต่างๆที่หลักสูตรได้กำหนดอยู่แล้ว เช่น วิชาสุขศึกษาและพละศึกษา วิชาศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี เป็นต้น แต่โรงเรียนได้มีการนำเอากิจกรรมการ ACTION เข้ามาใช้ในทุกกลุ่มสาระที่เหลือโดยไม่ให้นักเรียนนั่งนิ่งๆในห้องสี่เหลี่ยมเท่านั้น ครูจะต้องมีการออกแบบกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น การพานักเรียนไปเข้าค่าย หรือกิจกรรมทัศนศึกษา รวมถึงกิจกรรมการทดลองในห้องแล็บ เพื่อให้เด็กเกิด ACTION มีกิจกรรมทางกาย การเคลื่อนไหวร่างกาย ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ในรูปแบบ Active Learning จะทำให้นักเรียนมีพัฒนาการที่สมวัย มีความสุข และสนุกกับการเรียนส่งผลให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นนั่นเอง
ACTIVE SCHOOL ในมุมมองของวิชาการ คือ การจัดสรรเวลาและโอกาสให้นักเรียนได้มีการมีกิจกรรมทางกาย การเคลื่อนไหวร่างกาย ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ในหลักสูตร จะใช้กิจกรรมที่สำคัญคือ Active Learning คือกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจ และเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยผ่านการกระทำ และ Action Learning คือการเรียนรู้จากการปฏิบัติ เป็นการจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนเกิดการพัฒนาทักษะในทุกด้าน เน้นให้นักเรียนได้คิด วิเคราะห์ และสามารถปฏิบัติได้ และเกิดการคิดค้นด้วยตนเองจนสามารถถ่ายทอดออกมาโดยวิธีการออกมานำเสนอแนวคิดของตนเองให้เพื่อนๆได้รับฟัง เกิดการปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างเป็นรูปแบบในการพัฒนาในทุกด้าน
โรงเรียนได้ใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ คือหลักสูตรที่เน้นการวัดผล แบบสมรรถนะแทนการท่องจำเนื้อหา ซึ่งเดิมวัดผลจากการจำความรู้ แต่ฐานสมรรถนะได้มีการวัดผลจากการนำความรู้มาใช้งาน ซึ่งหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานหลักสูตรกำหนดสมรรถนะหลักไว้ 6 ฐานสมรรถนะ แต่โรงเรียนได้มีการเพิ่มเติมเป็น 10 ฐานสมรรถนะ โดยมีรูปแบบการนำมาใช้คือการนำมาออกแบบโครงสร้างหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและให้เป็นไปตามศักยภาพของนักเรียน ให้นักเรียนเกิดทักษะ skill คือความเชี่ยวชาญ หรือความชำนาญของนักเรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตรงตามที่หลักสูตรต้องการ
เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 โรงเรียนพบกับปัญหาที่สำคัญของโรงเรียนคือ
- คุณครูไม่มีทักษะในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ในการสอนของครู จึงได้จัดให้มีการอบรมเพื่อให้คุณครูเกิดทักษะเพื่อให้สามารถใช้ในการนำไปและประยุกต์ในการสอนได้
- โรงเรียนยังขาดการพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งใหม่ๆ โรงเรียนจึงได้มีการจัดซื้อจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับคุณครูผู้สอน เพื่อให้คุณครูสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีคุณภาพ ส่งผลตรงไปถึงนักเรียนในการจัดการเรียนรู้
- ปัญหาของนักเรียนที่ไม่มีความพร้อม หรือไม่มีเทคโนโลยีใช้ เช่น ที่บ้านไม่มีอินเทอร์เน็ต โรงเรียนก็จะส่งใบงานหรือใบความรู้ไปทางไปรษณีย์ ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายสูงแต่ทางโรงเรียนก็จะหาวิธีการในการติดต่อสื่อสารกับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง
เห็นได้ว่า Active School คือโรงเรียนที่มีการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้มีความสุขกับการเรียนรู้ผ่านทางการเล่น การเคลื่อนไหวร่างกาย คุณครูสามารถ นำแนวคิดของ Active School ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ในการพัฒนานักเรียนและใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.StarfishLabz.com
ผอ.ดร.สมพงษ์ เตชรัตนวรกุล
ผู้อำนวยการโรงเรียนเทพมงคลรังษี จังหวัดกาญจนบุรี
คุณครูจรัสพร รี่นนาค
ครูวิชาการโรงเรียนเทพมงคลรังษี จังหวัดกาญจนบุรี
บทความใกล้เคียง
Related Courses
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
การพัฒนาทักษะการเขียน
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการสอนเขียนสำหรับผู้เรียนประถมศึกษา ระดับชั้น ป.1- ป.6 โดยได้ยกตัวอย่างปัญหาการเขียนข ...