นวัตกรรม : โรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง และโรงเรียนวัดไผ่หูช้าง
นวัตกรรมโรงเรียน โครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) รุ่นที่ 2 ต่อเนื่องในปี 2564
การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการลดความถดถอยในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Learning Loss)
โรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง
Active Learning (การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ) หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยผ่านการกระทำและร่วมมือกันระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ซึ่งเกิดขึ้นจากสมมติฐาน 2 ประการ คือ
1. การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์
2. แต่ละคนมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
ดังนั้น การเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะความคิดระดับสูงอย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้ผู้เรียนวิเคราะห์สังเคราะห์ และประเมินข้อมูลในสถานการณ์ใหม่ได้ดีในที่สุดจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจจนสามารถชี้นำตลอดชีวิตในฐานะผู้ฝักใฝ่การเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง ได้ศึกษาการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ Active Learning และต้องการนำมาใช้ในการพัฒนานักเรียน แต่ก็มีปัญหาก่อนเข้าร่วมโครงการพัฒนานวัตกรรมเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความล้มเหลวในการจัดการเรียนรู้ นั่นคือ
- ผู้เรียน มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
- ครู ขาดการติดตามงานที่มอบหมายอย่างใกล้ชิด
- สภาพแวดล้อม ในสถาณการณ์ปัจจุบันที่มีความเสี่ยงในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
โรงเรียนจึงได้จัดทำนวัตกรรม “ รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อลดความถดถอยในการเรียนรู้ รายวิชาพื้นฐานตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ในหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง” ด้วยเทคนิค Active Learning ผ่านกระบวนการ STEAM Design Process ชื่อหน่วยการเรียนรู้ “วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย”
ชื่อเรื่อง “หลอดไฟต่อกันอย่างไร” โดยมีวิธีการจัดการเรียนรู้ คือ
1. การสอนโดยใช้การถาม
2. การสอนโดยให้ผู้เรียนปฏิบัติหรือทดลอง
3. STEAM Design Process
หลังจากใช้นวัตกรรมโรงเรียนได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ สรุปได้ดังนี้
นักเรียน
- ผู้เรียนสามารถสร้างนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้น หรือพัฒนาด้วยตนเองบนพื้นฐานจากประสบการณ์ในการเรียนรู้ การค้นคว้า และการสังเคราะห์เป็นนวัตกรรมที่มีคุณค่าเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
- ผู้เรียนมีพัฒนาการเกี่ยวกับการจัดการระบบความคิด การสร้างกระบวนการคิดอย่างเหมาะสมตามศักยภาพของผู้เรียน
- ผู้เรียนมีความภูมิใจ มั่นใจ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับตนเองโดยพยายามพัฒนาความสามารถให้ดียิ่งขึ้น
ครูผู้สอน
พัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลง และเข้าใจแนวทาง ทฤษฎีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
โรงเรียนวัดไผ่หูช้าง
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ส่งผลกระทบในหลายๆด้าน โดยเฉพาะด้านการศึกษาที่กระทบต่อนักเรียนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โรงเรียนได้หามาตราการในการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้โรงเรียนต้องมีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนโดยเน้นการเรียนรู้จากที่บ้าน ในเมื่อบ้านต้องกลายเป็นโรงเรียนคุณพ่อคุณแม่จึงต้องเปลี่ยนบทบาทมาเป็นคุณครู อีกทั้งการเรียนรู้แบบออนไลน์มีข้อจำกัด จากหลายสาเหตุ ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้ได้ โรงเรียนจึงได้หาวิธีการที่หลากหลายการเรียนรู้ และการใช้วิธีการ Learning Box ขึ้นมา เพื่อเสริมสร้างด้านทักษะชีวิตและพัฒนาการเรียนรู้ให้กับเด็กที่บ้านได้ แต่ทางโรงเรียนมีข้อมูลพื้นหลังและมีปัญหาก่อนเข้าร่วมโครงการพัฒนานวัตกรรมที่เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความล้มเหลวในการจัดการเรียนรู้ นั่นคือ
- ผู้เรียน ไม่กระตือรือร้น ไม่คิดสร้างสรรค์ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไม่ได้
- ครู ลงมือแก้ปัญหาให้ด้วยตัวเอง ไม่สามารถให้คำปรึกษาได้ ไม่สนับสนุนความคิดเห็นใหม่ ๆ
- สภาพแวดล้อม ไม่เอื้ออำนวย ไม่เปิดรับความคิดใหม่ ๆ ระยะเวลา และอุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อการเรียนรู้
โรงเรียนจึงได้จัดทำ นวัตกรรม PHC LEARNING BOX โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับนวัตกรรมคือการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es Instructional Model) และ (STEAM Design Process)จากการใช้นวัตกรรมดังกล่าวโรงเรียนได้ผลลัพธ์ที่ดี จากการนำนวัตกรรม Learning bag และ Learning box มาช่วยในการแก้ไขการลด การถดถอยในการเรียนรู้ของผู้เรียน ร่วมกับกระบวนการทำงาน การคิด การวางแผนที่เป็นขั้นตอนตามกระบวนการของครูในแต่ละบุคคล และร่วมกับ STEAM Design Process ส่งผลให้นักเรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ ได้ฝึกทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ การใช้สื่อ-อุปกรณ์ และเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ ทั้งนี้ยังได้ฝึกทักษะชีวิต และอาชีพ ให้รู้จักการปรับตัว ยืดหยุ่น ริเริ่ม สิ่งใหม่ รับผิดชอบในหน้าที่ หมั่นหาความรู้รอบด้านฝึกการทำงานเป็นทีม และยังสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาเป็นอาชีพ หรือเป็นความรู้พื้นฐานในการต่อยอดอาชีพต่อไปได้
บทความใกล้เคียง
ยกระดับการเรียนรู้โรงเรียนทองผาภูมิวิทยา ด้วย 3 นวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการศึกษา จาก Starfish Education
กิจกรรมฐานสมรรถนะกับห้องเรียนออนไลน์
หลักสูตรฐานสมรรถนะในต่างประเทศเป็นอย่างไร? ชวนดูหลักสูตรฐานสมรรถนะที่สำเร็จในต่างแดน
Related Courses
การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)
เรียนรู้ผลกระทบของ Learning Loss ที่ส่งกระทบถึงผู้เรียน ในภาพรวมของประเทศเพื่อฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้ 5ม ...
Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน
Starfish แหล่งเครื่องมือช่วยครูในจัดการชั้นเรียนที่หลากหลาย เช่น Starfish Labz, Starfish Class แบบเว็บไซต์ และแ ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...