แนวทางครู พานักเรียนเอาตัวรอด จากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
เชื่อว่าคุณครูหลายท่านกำลังตกใจ และเสียขวัญกับเหตุการณ์กราดยิง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นเป็นอย่างยิ่ง ในประเทศไทยเริ่มมีเคสลักษณะแบบนี้ เพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นทีม Starfish Labz ขอเชิญคุณครูร่วมอ่านและทำความเข้าใจ วิธีช่วยเหลือนักเรียน ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด พร้อมเทคนิคจากเหตุการณ์จริงประกอบร่วมด้วย เพื่อเห็นภาพได้ชัดเจน
เหตุการณ์ที่วางแผนได้
กรณีคุณครูมีเวลาคุยกับนักเรียน และสามารถบอกได้ว่าต้องทำอะไรต่อ เช่น คุณครูสังเกตเห็นท่าทีคนเข้าออกโรงเรียนที่แปลกไป หรือสถานการณ์โดยรอบเปลี่ยนไปจากเดิม
1. ควบคุมสติ
ถ้าขณะที่คุณครูสอน ได้ยินเสียงปืน ระเบิด หรือมีอะไรผิดแปลกไป คุณครูอย่าตื่นตระหนก หายใจเข้าออกช้า ๆ ก่อน เพราะถ้าคุณครูแสดงท่าทางแพนิค ทุกคนในชั้นเรียนจะรู้สึกได้ และใจหายไปด้วย
2. ลงมืออย่างเร่งด่วน
เริ่มวางแผน คุณครูรีบพาเด็ก ๆ หนี โดยใช้คำว่า พวกเราจะผจญภัยกัน และทุกคนต้องอยู่ในความสงบ เป็นวิธีเดียวกับ
คุณครูมัทนียา ภูมิพัฒน์ ใช้พาเด็ก ๆ รอดจากเหตุการณ์อันตราย ที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง
3. ทำให้พื้นที่นั้น เหมือนไม่มีคนอยู่
คุณครูควรปิดไฟในห้องเรียนให้มืดสนิท แจ้งทุกคนปิดเสียงและปิดการสั่นของโทรศัพท์มือถือ ตรวจสอบหน้าต่าง กระจก ล็อกให้เรียบร้อย นำสิ่งของวางกีดขวางทางเข้า
ถ้าสามารถทำได้ ให้คุณครูอัปเดตลงโซเชียล กำลังเผชิญกับอะไรอยู่ และติดต่อขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ผ่าน SMS
4. ถ้าต้องสู้ แท็กทีมจะดีกว่า
เมื่อถึงเวลาต้องสู้ แนะนำให้คุณครูรวมกลุ่มกัน เพื่อแบ่งหน้าที่ เช่น คุณครูท่านที่หนึ่งฟาดหัว คุณครูท่านที่สองชกที่ตัว คุณครูท่านที่สามเตะที่ขา
5. ใช้อาวุธใกล้ตัว
มองหาเก้าอี้ โต๊ะ ตู้ล็อกเกอร์ หรือถังดับเพลิง กรณีสามารถหยิบออกมาได้ ถังดับเพลิงใช้ฉีดเข้าที่ตาผู้ก่อเหตุ และฟาดที่หัว
เหตุการณ์ที่วางแผนไม่ได้
ถ้าเหตุการณ์เกิดประชิดตัว คุณครูสามารถใช้หลักการ วิ่ง-ซ่อน-สู้ ตามคำแนะนำของ ผศ.ดร.ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล อาจารย์ประจำสาขาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรม คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
1. ‘วิ่ง’ วิ่งให้ไวที่สุด
คุณครูบอกเด็ก ๆ ทิ้งสัมภาระที่หนัก เพราะยากต่อการเคลื่อนไหว เวลาวิ่ง ให้วิ่งเป็นเส้นตรง ถ้าคนร้ายยิงแบบส่ายไปมา และวิ่งแบบซิกแซ็ก ถ้าคนร้ายจ่อเป้าชัดเจน
2. ‘ซ่อน’ หาที่หลบถ้าติดอยู่ในพื้นที่ปิด
แจ้งเด็ก ๆ ให้รีบปิดไฟ ล็อกประตู อย่าทำตัวเป็นจุดสนใจ
ซ่อนตัวตามกำแพง ตู้ที่แข็งแรง ใต้โต๊ะ และอย่าไปซ่อนในห้องน้ำเด็ดขาด เพราะพื้นที่แคบ ประตูห้องน้ำไม่สามารถกันกระสุนได้ ถ้าจำเป็นต้องซ่อนในนั้น หลีกเลี่ยงตรงบริเวณประตู
3. ‘สู้’ เล็งไปที่จุดอ่อน
ถ้าต้องสู้ ก็ต้องพยายามออกแรงให้มากที่สุด แต่ทีม Starfish Labz แนะนำให้เป็นตัวเลือกสุดท้ายสำหรับคุณครูและเด็ก ๆ เน้นจุดอ่อน ชกที่ดวงตา หาสิ่งของฟาดที่คอ หรือเตะหว่างขาคนร้าย
เมื่อต้องขอความช่วยเหลือ การแจ้งเหตุฉุกเฉิน ด้วยหลัก LCAN จะช่วยสรุปเหตุการณ์และทำให้เจ้าหน้าที่เข้าใจง่ายขึ้น
- Location บอกตำแหน่งปัจจุบัน
- Condition เกิดอะไรขึ้น
- Action กำลังเจออะไรอยู่
- Need ต้องการความช่วยเหลืออย่างไร
และนี่ก็เป็นวิธีรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ทั้งที่วางแผนได้และวางแผนไม่ได้ สำหรับเหล่าคุณครู ทีม Starfish Labz ขอชวนครูทุกท่าน นำสิ่งเหล่านี้ไปเป็นส่วนหนึ่งของการสอนในชั้นเรียน ให้เด็ก ๆ เข้าใจและเรียนรู้ผ่านการฝึกซ้อม
แหล่งอ้างอิง (Sources):
- 12 Things You Can Do Right Now to Prep Your Kids Against an Active Shooter | Goodhousekeeping
- Tips for Protecting Children in Violence-Based Emergencies | Savethechildren
- เอาตัวรอดอย่างไร เมื่อตกอยู่ใน สถานการณ์ความรุนแรง | โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย
- นักอาชญาวิทยาแนะนำ!! 3 วิธีเอาตัวรอด “วิ่ง-ซ่อน-สู้” เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์กราดยิง เพื่อลดการสูญเสีย | จส. 100
Related Courses
การดูแลพฤติกรรมเด็กๆ ในห้องเรียน (ประถมศึกษา)
เด็กๆ มีพฤติกรรมที่หลากหลาย มีทั้งพฤติกรรมทางบวกและลบ ดังนั้น “ครู” จึงเป็นบุคคลสำคัญที่จะช่วยพาเด็กๆ ให้เข้าใจตนเอง ว่าเ ...
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...