PLC ครั้งที่ 1 : แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ห้องย่อยที่ 6 (Learning Box)
Starfish Future Labz เป็นกิจกรรม PLC พูดคุยแลกเปลี่ยน เพื่อให้ครูในโรงเรียนเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการ Starfish Future Labz ได้แลกเปลี่ยนความคืบหน้าการใช้เครื่องมือ Learning Box เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ตลอดจนแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ และสามารถต่อยอดพัฒนาชั้นเรียนให้มีประสิทธิภาพตามบริบทของแต่ละโรงเรียนได้
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คณะผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านปลาดาวได้ออกแบบนวัตกรรมกล่องการเรียนรู้ (Learning Box) ที่ช่วยให้นักเรียนเกิดทักษะที่สำคัญเมื่อต้องเรียนรู้ที่บ้านด้วยการจัดการเรียนรู้ภายใต้กิจกรรมการอ่าน การเขียน และการคำนวณ (3R) กิจกรรมทักษะชีวิต (Life Skill) และกิจกรรม Makerspace พื้นที่นักสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มทักษะในศตวรรษที่ 21 ผ่านกระบวนการ STEAM Design Process 5 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย
1. Ask (การตั้งคำถาม) เป็นการทำความเข้าใจปัญหาที่นำไปสู่การสร้างชิ้นงานหรือวิธีการในการแก้ปัญหา
2. Imagine (การจินตนาการ) การรวบรวมข้อมูลและแนวทางการแก้ปัญหา
3. Plan (การวางแผน) การประยุกต์ใช้ข้อมูลและแนวคิดเพื่อการออกแบบชิ้นงานหรือวิธีการในการแก้ปัญหา
4. Create (การสร้างสรรค์) การกำหนดลำดับขั้นตอนการสร้างชิ้นงาน การลงมือหรือพัฒนาวิธีการเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา
5. Reflect & Redesign (การคิดสะท้อนและออกแบบใหม่) การทดสอบและประเมินการใช้งานของชิ้นงานหรือวิธีการ และนำผลที่ได้มาปรับปรุงและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างเหมาะสมที่สุด
โดยโรงเรียนบ้านปลาดาวได้สร้างความเข้าใจแก่ผู้ปกครองถึงบทบาทหน้าที่ วัตถุประสงค์ การจัดการเรียนรู้ และกิจกรรมภายในกล่องการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีบทบาทในการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน และจากกระบวนการดังกล่าว ก่อให้เกิดผลงานของนักเรียนในรูปแบบการคิดสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะ งานฝีมือ เมนูอาหาร หรือการประดิษฐ์เป็นชิ้นงาน เห็นได้ว่า Learning Box เป็นเครื่องมือในการช่วยส่งเสริมทักษะให้นักเรียนทั้งด้านวิชาการ ทักษะกระบวนการคิด การวางแผนและการทำงานอีกด้วย ซึ่งขั้นตอนในการวางแผน ถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการ STEAM Design Process ในการขับเคลื่อนให้เด็กได้มีวิธีการวางแผน ดำเนินงาน และลงมือปฏิบัติ โดยโรงเรียนได้มีการบูรณาการร่วมกับกลุ่มสาระวิชาหลักในระดับอนุบาล และประถมที่มุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้ Active Learning ในรูปแบบของกิจกรรม
สำหรับการเรียนรู้แบบโครงงานและปัญหาเป็นฐาน (Project Based Learning – PBL) เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติงานจริงอย่างมีระบบให่แก่ผู้เรียน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ตรง โดยมีครูเป็นผู้กระตุ้นนำความสนใจที่เกิดจากตัวผู้เรียนมาใช้ในการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย 6 ขั้นตอน โดยปรับใช้จากกระบวนการ STEAM Design Process ในการสร้างสรรค์ผลงานทั้งนวัตกรรม 3R กิจกรรม Makerspace และ PBL ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนนั่นเอง
บทความใกล้เคียง
PLC Happy Hour การออกแบบบรรยากาศ และรูปแบบในการจัดการเรียนรู้
สร้างการเรียนรู้ที่บ้าน แบบง่ายๆ ด้วย Learning Box ทำยังไงได้บ้าง
กิจกรรม TSQP Kick Off กลุ่มที่ 2 การนำไปใช้กับผู้เรียน (ครูผู้สอน)
Related Courses
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...