เป็นครู.....ควรรู้เรื่อง “ยา”
Drug vs Pharmacist (ยาและเภสัชกรรม) “ยา” ในที่นี้ คือ ยารักษาโรค คือสิ่งที่ใช้ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บของมนุษย์ และสัตว์ โดยต้องใช้ความรู้ทั้งทางวิทยาศาสตร์และศิลปะมาผนวกในการ ผสม ปรุงแต่ง และแปรสภาพสาระสำคัญและส่วนประกอบอื่นตามสูตรตำรับ
คุณครูจะต้องมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ “ยา” เพื่อความปลอดภัยของนักเรียนเมื่อเจ็บป่วยจะได้ใช้ยาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย อันดับแรกจะต้องศึกษาในเรื่อง “ฉลากยา” เพราะ ฉลากยามีความสำคัญคือ เพื่อทราบเบื้องต้นว่ายาใดมีความจำเป็นกับตัวเอง หรือยาชนิดใดทำให้อาการของโรคบรรเทาหรือหายและยาชนิดใดเหมาะหรือไม่เหมาะสำหรับเรา
Label ฉลากยา หรือเอกสารกำกับยา นับเป็นข้อมูลสำคัญที่มีประโยชน์ และให้ความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ยา ฉะนั้น เพื่อป้องกันการเกิดผลร้ายอันไม่คาดคิดกับผู้ใช้ยา คุณครูควรได้อ่านฉลากหรือเอกสารกำกับยาทุกครั้งก่อนใช้ยา Label จะประกอบไปด้วย
1. ชื่อผลิตภัณฑ์
2. สรรพคุณ
3. วิธีใช้
4. คำเตือนหรือข้อควรระวัง
5. ปริมาณหรือขนาดบรรจุ
6. ผู้ผลิต
7. วันเดือนปีที่ผลิตยา
8. วันสิ้นอายุของยา
9. การเก็บรักษา
10. เลขทะเบียนยา
ระบบตรวจสอบการอนุญาตในการขึ้นทะเบียนยา คุณครูสามารถตรวจสอบในเวปได้เลย ว่าเป็นยาที่มีมาตรฐานและมีคุณภาพหรือไม่ ว่ายาตัวไหนมีสถานะคงอยู่ หรือมียาบางตัวที่ไม่มีเลขทะเบียนอาจจะมีการสวมทะเบียน เพราะปัจุบันมีการยาปลอมแพร่ระบาดเป็นจำนวนมาก
ยาสามัญประจำบ้านสำหรับห้องพยาบาลในสถานศึกษาและการจัดการเจ็บป่วยเบื้องต้น
หลักการและเหตุผลของยาสามัญประจำบ้าน คือ
1. รักษาอาการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ
2. เป็นอาการที่สามารถรักษาได้ง่าย
3. ราคาไม่แพงมากนัก
4. มีความปลอดภัยสูง
โดยที่คุณครูสามารถเข้าไปดูรายละเอียด และชื่อยาของยาสามัญประจำบ้านว่ามียาชนิดไหนบ้างที่คณะกรรมการอาการและยา (อย.)ให้การรับรองว่ามีความปลดภัยนั่นเอง ถ้าเป็นยาสามัญประจำบ้านจะมีการเขียนคำว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” อยู่ในกรอบสีเขียวสามารถหาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วๆไปเพราะเป็นยาที่ไม่อันตรายและมีความปลอดภัยสูง
ตัวอย่างยาสามัญประจำบ้านสำหรับห้องพยาบาลในสถานศึกษา เช่น ยาแก้ปวดท้องอืดท้องเฟ้อ ยาแก้ท้องเสีย ยาบรรเทาปวดลดไข้ ยาแก้แพ้ลดน้ำมูก ยาแก้ไอขับเสมหะ ยาแก้เมารถเมาเรือ ยาสำหรับโรคปากและคอ ยาใส่แผลล้างแผล ยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อแมลงกัดต่อย ยาสำหรับโรคผิวหนัง และยาดมหรือยาแก้วิงเวียน หน้ามืด คัดจมูก เป็นต้น
ดังนั้นยาสามัญประจำบ้านสำหรับห้องพยาบาลในโรงเรียนจะช่วยในการบรรเทา หรือป้องกันอาการบาดเจ็บหรือความเจ็บป่วยในเบื้องต้น เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก อาเจียน น้ำมูกไหล เมารถ เมาเรือ เป็นต้น คุณครูสามารถนำมาใช้รักษานักเรียนเองได้ ห้องพยาบาลควรมีชุดยาสามัญเก็บไว้ใช้ และควรเก็บไว้ในที่ที่แห้ง หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดโดยตรง และสะดวกต่อการหยิบใช้ คุณครูสามารถจัดชุดยาสามัญได้ด้วยตัวเองหรือหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องมีใบสั่งแพทย์ โดยฉลากยาจะมีคำว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” ในกรอบสีเขียวมีขนาดตัวอักษรที่อ่านได้ชัดเจน และระบุคำว่า “ยาสิ้นอายุ” เพื่อแสดงวัน เดือน ปี พ.ศ. ที่ยาสิ้นอายุ และควรหมั่นตรวจสอบชุดยาเป็นประจำ หากพบยาที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุควรเปลี่ยนยาเพื่อความพร้อมต่อการใช้งาน
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) โรคโควิด 19 คือ โรคติดต่ออุบัติใหม่ซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรนาชนิดที่มีการค้นพบล่าสุด โดยไวรัสและโรคอุบัติใหม่ชนิดนี้ไม่เป็นที่รู้จักเลยก่อนที่จะมีการระบาดในประเทศจีน เมื่อช่วงเดือนธันวาคมปี ค.ศ.2019 ขณะนี้โรคโควิด 19 มีการระบาดใหญ่เป็นวงกว้าง จนส่งผลกระทบเป็นอย่างมากในด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจของแทบทุกประเทศทั่วโลกจนถึงปัจจุบันเกิดได้ทุกกลุ่มอายุทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งเด็กส่วนใหญ่ไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่บางรายมีอาการรุนแรงมาก ได้แก่กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบรุนแรงและอาจมีอาการของสมองอักเสบจนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ดังนั้นคุณครูต้องสังเกตุอาการของนักเรียนถ้าหากนักเรียนมีอาการเป็นไข้ ชัก ร่วมกับเกิดอาการซึมเด็กนอนหลับมากขึ้น คุณครูควรรีบนำนักเรียนส่งต่อโรงพยาบาล
ที่สำคัญถ้าเด็กมีโรคประจำตัว หรือมีโรคอ้วน หรือหายใจถี่ ควรรีบส่งต่อทันทีเช่นกัน สำหรับวัคซีนโควิด ควรให้มีการฉีดเพื่อป้องกันและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ทุกคนสามารถติดโรคโควิด 19 ได้ และมีโอกาสพัฒนาไปมีอาการรุนแรงได้เช่นกัน หากสงสัยอาการของนักเรียน คุณครูควรปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อความปลอดภัยของนักเรียนได้มากที่สุดนั่นเอง
เห็นได้ว่า สิ่งสำคัญที่ทำให้การช่วยเหลือนักเรียนให้ปลอดภัย ในเรื่องของการดูแลนักเรียนเป็นเรื่องสำคัญ ที่ผู้รับผิดชอบคือคุณครูต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมากในการดูแลนักเรียน ทั้งการใช้ยาต่างๆหรือกรณีที่นักเรียนเกิดอุบัติเหตุ ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.StarfishLabz.com
อ.ภก.ภัทรพันธ์ สุขวุฒิชัย ภาควิชาบริบาลเภสัชกรรม
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภญ.ธิตินันท์ รักษ์หนู ภาควิชาบริบาลเภสัชกรรม
กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสุราษฏร์ธานี
Related Courses
การดูแลพฤติกรรมเด็กๆ ในห้องเรียน (ประถมศึกษา)
เด็กๆ มีพฤติกรรมที่หลากหลาย มีทั้งพฤติกรรมทางบวกและลบ ดังนั้น “ครู” จึงเป็นบุคคลสำคัญที่จะช่วยพาเด็กๆ ให้เข้าใจตนเอง ว่าเ ...
สุขภาพเด็กวัยเรียนสำคัญอย่างไร
การเรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพของเด็กในวัยเรียนที่ครูและผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ พร้อมนำไปปรับใช้ให้มีความเหมาะสมกับเด็ก ในด้านก ...
การดูแลสุขภาวะครู
เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีและเพิ่มพูนทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูจึงต้องดูแลตนเองและหาวิธีคลายเครียด เพื่อให้ ...
ออกแบบห้องเรียนที่มีหัวใจ...ด้วยหัวใจอาชีพ
เราเลือกอาชีพ? หรืออาชีพเลือกเรา? เราวัดคุณค่าของอาชีพจากอะไร การรู้จักอาชีพที่หลากหลาย อาชีพที่มีค่าตอบเเทนสูง อาชีพที่ ...