EdTech กระแสแรง อนาคตแห่งการเรียนรู้ !!
Educational Technology หรือเรียกสั้น ๆ ว่า EdTech กำลังเป็นที่กล่าวถึงกันอย่างแพร่หลายในแวดวง Startup ว่ากันว่า EdTech กำลังเป็น Disruption ของวงการศึกษาในขณะนี้เลยทีเดียว
Edtech ย่อมากจาก Education Technology หรือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อผลักดันคุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้น โดยในปัจจุบันนี้ได้มีการนำ EdTech เข้ามาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เช่น การใช้แอปพลิเคชันในการเรียนการสอน การเรียนผ่านวิดีโอออนไลน์
เทคโนโลยีด้านการศึกษาหรือ Education Technology (EdTech) ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการศึกษาในหลายประเทศทั่วโลก สะท้อนจากข้อมูลของ Holon IQ ที่ประเมินว่า ในปี 2563 เม็ดเงินลงทุนใน Venture Capital ด้าน EdTech มีมูลค่าสูงถึง 16.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัว 1.3 เท่าจากปี 2562
โดยจำนวน Start Up ใน EdTech ทั่วโลกที่สามารถยกระดับตัวเองเป็นยูนิคอร์นมีประมาณ 25 ราย ซึ่งกว่าครึ่งเป็นผู้พัฒนาในจีน ตามด้วยอินเดีย นอกจากนี้ ยังพบว่า EdTech ระดับยูนิคอร์นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะอยู่ในคลัสเตอร์ด้านการพัฒนาทักษะและอาชีพ เช่น พัฒนาความสามารถ การให้คำปรึกษาด้านอาชีพ การเทรนนิ่งระดับองค์กร
ในปัจจุบันได้มีการใช้ EdTech กันมากมายในการเรียนการสอนทั้งของเด็กและผู้ใหญ่ และยังคงมีแนวโน้มที่จะใช้กันอย่างแพร่หลายในอนาคต วันนี้เราจึงได้รวบรวมเทรนด์สำหรับการใช้ EdTech ในรูปแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
Game-based learning
นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่ออกแบบและสอดแทรกเนื้อหาบทเรียนลงไปในเกม ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ลงมือเล่นและฝึกปฏิบัติในการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยในขณะที่ลงมือเล่นผู้เรียนจะได้รับทักษะ และความรู้จากเนื้อหาบทเรียนไปด้วยขณะที่เล่น จากที่ได้กล่าวไปข้างต้น ผู้ชนะของ Startup Pitch ในงาน EdTechX Asia คือทีม Vonder ผู้ประดิษฐ์ Chatbot ที่เป็น Game-based learning เพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็ก นอกจาก Chatbot แล้ว Game-based learning ยังรวมไปถึงการจำลองสถานการณ์ การเล่นบอร์ดเกม หรือ การ์ดเกม เพื่อการศึกษาอีกด้วย
หนึ่งใน Application ที่เป็นที่รู้จักกันดีสำหรับ Game-based learning คือ Kahoot นอกจากจะมีเกมให้เลือกเล่นแล้ว ยังเปิดโอกาสให้เราสร้างเกมใหม่เองได้อีกด้วย
Gamification
Gamification เป็นการนำเอา Element ต่าง ๆ ของเกมมาเป็นองค์ประกอบในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น สื่อการเรียนการสอน โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่อาจจะรู้สึกสับสนระหว่าง Gamification และ Game-based learning เพราะมีความเกี่ยวข้องกับเกมเหมือนกัน สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ Gamification เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนลักษณะทั่วไป แต่มีการนำเอา Element ของเกมมาใช้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วม เช่น การสะสมแต้ม การได้เหรียญ (Badge) เมื่อผ่านเงื่อนไขต่าง ๆ วัตถุประสงค์ของการใช้ Gamification คือเพื่อชักจูงให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายที่วางเป็นลำดับขั้นไว้ เพื่อเสริมสร้าง Engagement ในการเรียนรู้
ตัวอย่างของ Platform ที่เป็นที่นิยมและมีการใช้ Gamification ได้แก่ Khan Academy ที่ได้สร้างระบบการให้รางวัล การสะสมคะแนนต่าง ๆ เมื่อเรียนคอร์สต่าง ๆ จบแล้ว
Artificial Intelligence และ Machine Learning
Machine Learning (ML) ถูกใช้งานเหมือนเป็นสมองของ Artificial Intelligence (AI) โดยที่มนุษย์มีหน้าที่เขียนโปรแกรมให้ AI จากนั้น AI จึงใช้ ML ในการจดจำรวมทั้งส่งผลลัพท์ออกมาเป็น Code และส่งต่อไปแสดงผล หรือสั่งให้ AI ทำหน้าที่ต่าง ๆ
ประโยชน์ในการใช้ AI และ ML ในแวดวงการศึกษายุคใหม่คือ ความสามารถในการ Personalize โปรแกรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียน รวมไปถึงการแนะนำบทเรียนเพิ่มเติมที่เป็นการต่อยอดการเรียนรู้ และให้คะแนนเพื่อประเมินผล
ตัวอย่าง Application ที่ใช้ AI และ ML คือ Duolingo เป็น Platform การเรียนการสอนภาษาต่างชาติที่ใช้ AI และ ML ในการหาจุดอ่อนของผู้เรียน รวมทั้งแนะนำบทเรียนและหนังสืออ่านเสริมที่เหมาะสมให้นักเรียนแต่ละคน
AR และ VR
Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) ทำการสร้าง Virtual model เพื่อจำลองสถานการณ์ให้เราได้เรียนรู้ประสบการณ์ต่าง ๆผ่าน Computer Simulation ตัวอย่างที่คนรู้จักกันมากคือ Flight simulation ที่จำลองสถานการณ์ให้นักเรียนที่เรียนการบินได้ฝึกฝนการบินก่อนการปฏิบัติจริง นอกจากนี้การนำ Simulation มาผสมผสานถือเป็นรูปแบบใหม่ในการเรียนการสอนของแพทย์เฉพาะทางอีกด้วย
Design Thinking
หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า Design Thinking กันมาบ้างแล้ว Design Thinking เป็นกระบวนการคิดในเชิงออกแบบที่กำลังแพร่หลายอย่างมากในปัจจุบัน หัวใจที่สำคัญคือการทำความเข้าใจปัญหาต่าง ๆ อย่างลึกซึ้ง โดยเอาผู้ใช้เป็นศูนย์กลางและประกอบไอเดียจากหลาย ๆ แหล่งมาสร้างแนวทางในการแก้ไข หลังจากนั้นจึงนำมาทดสอบและพัฒนา เพื่อให้ตอบโจทย์ให้ได้มากที่สุด
รูปแบบการคิดนี้เป็นการคิดนอกกรอบชนิดหนึ่ง ด้วยคุณประโยชน์ของกระบวนการคิดที่มีความยืดหยุ่น การ Focus ให้ตรงจุด รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับความร่วมมือของคนในทีม ทำให้ปัจจุบันมีการนำมาปรับใช้กันมากโดยเฉพาะในแวดวง Technology และการศึกษา
กลายเป็นตลาดที่น่าสนใจและมีเม็ดเงินจากการลงทุนสูงอย่างแน่นอนภายในอนาคต! เพราะแม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จะจบลง แต่พฤติกรรมหลายๆ อย่างของผู้คนจะเปลี่ยนไป ทำให้การเรียนการสอนแบบออนไลน์จะยังคงอยู่ภายในระบบการศึกษาไทยอย่างแน่นอน เพียงแต่เราต้องจับตาดูให้ดีว่าทางภาครัฐนั้นจะมีมาตรการในการสนับสนุนการเรียนออนไลน์อย่างไร ให้กระจายไปสู่เด็กๆ หรือผู้คนทั่วไปได้อย่างทั่วถึง และถ้าถึงวันนั้นขึ้นมาตลาด Edtech Startup ภายในประเทศไทย จะกลายเป็นตลาดการลงทุนขนาดใหญ่ที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลกอย่างแน่นอน!
ที่มา :
ข่าวที่เปิดอ่านมากที่สุด
โรงเรียนปลาดาวได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้เข้ารอบสุดท้ายรางวัลโรงเรียนยอดเยี่ยมด้านนวัตกรรมระดับโลก World’s Best School Prizes for Innovation โดยเป็นผู้นำในการบุกเบิกการศึกษาเพื่อความเท่าเทียมสำหรับทุกคน
28.10.24
Starfish Education ร่วมงาน didacta asia 2024 และ didacta asia congress เสนอนวัตกรรมการศึกษาสำหรับอนาคต
21.10.24
CEO Starfish Education ร่วมเวทีการประชุมนานาชาติ didacta asia 2024: Ministerial Panel on "Southeast Asia Education Policies"
17.10.24
Starfish Education เสนอแนวคิดนวัตกรรมการศึกษาต่อกระทรวงศึกษาธิการ
16.10.24
คุรุสภา ไฟเขียว ร่างประกาศยกเว้นใบอนุญาตครูชั่วคราว ขับเคลื่อนมาตรฐานการผลิตครู
02.11.24
พัฒนาทักษะอนาคตเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ให้กับนักเรียน กับกิจกรรม School Tour Future Youth Thailand @กาญจนบุรี
22.11.24