5 EdTech ที่จะเปลี่ยนห้องเรียนในอนาคต
ภาพน่าตื่นตาตื่นใจอย่างในนิยายวิทยาศาสตร์ หรือภาพยนตร์ไซไฟแฟนตาซี ที่เราเคยได้แต่นึกจินตนาการ ค่อยๆ ปรากฏให้เห็นกันเป็นเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวันไปแล้ว ยิ่งหลังเหตุการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ผู้ใหญ่หลายๆ คนจำต้องเร่งเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ให้ทันเด็กๆ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างไม่หยุดชะงัก โดยเฉพาะในแวดวงการศึกษา คุณครูต่างต้องตื่นตัวลุกขึ้นมาหาทางออกว่าเราจะสอนเด็กๆ อย่างไรหากไม่สามารถมาโรงเรียนได้ จนเกิดการปรับตัวไปเรียนออนไลน์แทบจะ 100% และเด็กๆ เพิ่งได้กลับเข้าเรียนออนไซต์ตามปกติได้ไม่นานมานี้เอง ซึ่งคงต้องสลับไปมาเช่นนี้ต่อไปแบบ Hybrid Learning
(คุณอาจสนใจบทความ EdTech เรื่อง 18 รูปแบบการเรียนรู้ด้วย Edtech ที่น่าจับตามองในปี 2022 คลิกอ่านเพิ่มเติมต่อได้ที่ bit.ly/37LKynY )
หากย้อนไปไม่ถึง 100 ปีก่อน ใครจะไปนึกว่าวิวัฒนาการของโทรศัพท์จะก้าวกระโดดมาไกล ในขณะนี้เราต่างอยู่ในยุคทองของมือถือสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต อุปกรณ์สื่อสารขนาดพกพาที่เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้เราแทบทุกอย่าง เราเซย์ฮัลโหล Google สวัสดี SIRI เพื่อสอบถามเส้นทางหรือสั่งซื้อสินค้า แชตคุยกับ Bot ไม่ต่างจากที่ Iron Man คุยกับ JARVIS เพื่อกอบกู้โลกแบบในหนังซุปเปอร์ฮีโร่ ซึ่งระบบปฏิบัติการเหล่านี้ช่วยเราปฏิสัมพันธ์กับคนทั่วโลก เรียนรู้สิ่งใหม่ สร้างสรรค์ผลงาน เสพย์ข่าวสาร และสื่อบันเทิงได้อย่างครบครัน
ในขณะที่เราหลับ เหล่า AI ก็ไม่เคยได้หยุดพัก พวกมันเรียนรู้ภาษา คำสั่ง และการสื่อสารจากผู้คน จนมันเริ่มแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยได้ดีขึ้น เขียนบันทึก บทความ บทกวี หรือแม้แต่แต่งเพลงง่ายๆ ได้เองเป็นภาษาอังกฤษ
Starfish Labz จะขอชวนคุณลองคาดการณ์ว่าหน้าตาห้องเรียนจะล้ำขึ้นได้อย่างไรบ้าง จาก 5 เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่น่าจะช่วยสนับสนุนด้านการศึกษา กระตุ้นให้เด็กๆ เรียนรู้ได้ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
1. สร้างบรรยากาศให้เหมือนไม่ได้อยู่ในโรงเรียน
โรงเรียนในอนาคตอาจเปลี่ยนไปมีหน้าตาเหมือนเราวาปไปที่ไหนก็ได้ในโลก มีพื้นที่จำลอง โรงอาหารอาจเหมือนคาเฟ่เก๋ๆ ที่มานั่งทำงานกลุ่มได้ หรือห้องพยาบาลก็อาจไม่ต่างจากฮอสพิเทลหรู การตกแต่งและสถาปัตยกรรมจะต้องสร้างความรู้สึกโปร่งโล่ง อากาศถ่ายเท สวยงามสบายตา เพิ่มสุนทรีย์ในการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนมีโฟกัสกับบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น
ห้องเรียนโอ่โถง มีพื้นที่เคลื่อนไหวร่างกายในแต่ละกิจกรรม มีระยะห่างไม่แออัด ครูเลือกออกแบบห้องเรียนและจัดสรรพื้นที่ให้เด็กๆ บูรณาการการเรียนรู้ได้ อุปกรณ์และเครื่องมือจัดกิจกรรมเคลื่อนที่และจัดเก็บได้ง่าย ไม่กินพื้นที่ใช้สอย สามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้เหมาะสมกับวิชาและพัฒนาการตามช่วงวัยได้
มีแผงควบคุมแสงกระตุ้นการเรียนรู้ เพราะแสงมีผลต่อร่างกายของมนุษย์ตามหลักการของนาฬิกาชีวภาพในตัวเรา หากสามารถตั้งเวลาเปิดปิดม่านรับแสงอาทิตย์ หรือตั้งค่าปรับระดับแสงไฟภายในอาคารให้มีความสว่างที่เหมาะสมกับแต่ละกิจกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละห้อง เราสามารถตั้งค่ากำหนดโทนสี และความสว่างที่จะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ภายในโซนนั้นๆ ได้
2. สร้างชั้นเรียนไฮบริดที่เพิ่มการมีส่วนร่วมแบบแอคทีฟ
แม้จะมาเรียนออนไซต์ เด็กๆ สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ของตนเองเข้ากับอุปกรณ์กลางผ่านระบบออนไลน์ เพื่อที่ทุกคนจะมีส่วนร่วมใช้งานแอปฯ หรือโปรแกรมในชั้นเรียนได้ไปพร้อมๆ กัน
หน้าชั้นเรียนเปลี่ยนจากกระดานดำ เป็นหน้าจอกว้างๆ ทดแทน มีขนาดใหญ่ คมชัด และความละเอียดสูง ไม่มีฝุ่นชอล์กหรือกลิ่นไม่พึงประสงค์ของปากกาเคมีรบกวนการเรียน
คุณครูและเด็กๆ สามารถสัมผัสหน้าจอได้ เขียนหรือพิมพ์ลงไปได้ มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อการเรียนรู้ได้ทันทีทันใดเหมือนในพิพิธภัณฑ์ไฮเทค เพื่อร่วมกันระดมสมอง แสดงความคิดเห็น และทิ้งคำถามโชว์ขึ้นกระดานเดียวกันแบบออนไลน์ ให้ทุกคนในชั้นเรียนได้เรียนรู้และขบคิดไปพร้อมกัน
3. สร้างสรรค์ประสบการณ์และคำนึงถึงสุขภาวะของผู้เรียนเป็นสำคัญ
ทุกๆ เช้าครูประจำชั้นจะต้องจัดกิจกรรมช่วยประเมินสภาพร่างกายและจิตใจของเด็กๆ ว่าเป็นอย่างไร และสร้างแรงจูงใจให้พวกเขาแอคทีฟ พร้อมจะเรียนรู้ หากเด็กคนไหนไม่พร้อมก็ไม่ต้องฝืน อาจสลับให้ไปเข้ากิจกรรมบำบัดที่เน้นการปฏิบัติ ส่งเสริมพัฒนาการหรือทักษะที่เด็กสนใจเป็นพิเศษแทน
4. สร้างสื่อการสอนดิจิทัล
ครูจะต้องพัฒนาตนเองให้สามารถผลิตสื่อการสอนดิจิทัลที่มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น อาจสร้างโจทย์เป็น Gamification เกมจำลองสถานกาณ์เพื่อการเรียนรู้ หรือเพิ่มความสนุกโดยร้อยเรียงเป็นเรื่องเล่าจำง่าย เน้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ จากการทำกิจกรรม ได้คิดวิเคราะห์ ทดลอง และสะท้อนคิดมากกว่าการท่องจำ ทำให้เด็กๆ อยากเรียนรู้บทเรียนต่อๆ ไปแทบแย่เหมือนที่เราติดซีรี่ย์งอมแงมให้ได้ จนต้องบอกว่าวันนี้ให้พอแค่นี้ก่อน
5. สร้างจุดบรรจบกับโลกนอกห้องเรียน
เพิ่มการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนกับโรงเรียน ต่างฝ่ายต่างให้ฟีดแบ็กกันได้ นักเรียนและผู้ปกครองสามารถประเมินการสอนของครู และนโยบายของโรงเรียนได้ ครูคอยติดตามและรายงานผลพัฒนาการของเด็กๆ ในชั้นเรียนให้ผู้ปกครองเห็นความพร้อมในห้องเรียนของลูกได้เป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน ไม่ต้องรอเกรดออกก็เปลี่ยนกลยุทธ์การเรียนรู้ของลูกใหม่ได้ระหว่างปีการศึกษา
ผู้ปกครองและครูจะได้แลกเปลี่ยนมุมมองให้ทำความเข้าใจในตัวเด็กคนหนึ่งมากขึ้น และมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลให้ลูกหลานได้รับความรู้ครบถ้วน เสริมส่วนที่ยังขาดต่อได้เองที่บ้าน ลูกมีกำลังใจดี มีทางออกที่จะแแก้ปัญหาการเรียนรู้ถดถอยไม่ทันเพื่อนได้ทันท่วงที
สามารถเตรียมความพร้อมทางร่างกายและจิตใจของลูกได้ดีขึ้นในวันถัดไป หากคุณครูท่านใดอยากมาก่อนกาล ก็สามารถติดตั้งผลิตภัณฑ์ Starfish Class ของเรา เพื่อเริ่มติดตามและประเมินสมรรถนะผู้เรียนได้ตั้งแต่ตอนนี้ ไม่ต้องรออนาคต ใช้งานได้ฟรีทั้งบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน
(หากคุณสนใจ Starfish Class คลิกอ่านและรับชมวิธีการใช้งานเพิ่มเติมต่อได้ที่ bit.ly/3v7LIDf)
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ทุกคนพอจะนึกภาพตาม และเห็นความเป็นไปได้แค่ไหนกับห้องเรียนในฝันที่ล้ำอนาคตแบบที่ Starfish Labz ค้นคว้ามาเล่า ว่าไหมว่ายิ่งเทคโนโลยีก้าวหน้า ก็ยิ่งช่วยให้คุณครูและคุณพ่อคุณแม่พาเด็กๆ ออกตามหาศักยภาพที่ซ่อนอยู่ และค้นพบความชอบของตนเองได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อที่เด็กๆ จะมีหมุดหมายในใจ เห็นความสำคัญว่าทำไมเขาต้องตั้งใจเรียน และพัฒนาตนเองให้มีทักษะมากพอจะไปต่อในเส้นทางที่พวกเขาอยากเฉิดฉายในอนาคตนั่นเอง
แหล่งอ้างอิง:
- 5 EdTech Predictions https://halltechav.com/edtech-predictions
- 6 Sub-Domains Of Education Technology https://www.teachthought.com/the-future-of-learning/future-classroom-tech/
- How Learning Might Change: Envisioning The Future Of Technology In Education https://www.teachthought.com/the-future-of-learning/future-classroom-tech/
ข่าวที่เปิดอ่านมากที่สุด
พัฒนาทักษะอนาคตเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ให้กับนักเรียน กับกิจกรรม School Tour Future Youth Thailand @กาญจนบุรี
22.11.24
สพฐ. ร่วมกับ Starfish Education เปิดตัว การเรียนรู้แห่งอนาคต สร้างทักษะอนาคตเยาวชน Future Youth Thailand Building future skills Anywhere, Anytime
12.12.24
มูลนิธิสตาร์ฟิชเอ็ดดูเคชั่น เข้าพบท่านองคมนตรี รายงานผลการดำเนินงานของมูลนิธิฯ และรางวัล World best school ของโรงเรียนปลาดาว
07.12.24
รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” เน้นย้ำ ทุกหน่วยงานบูรณาการความร่วมมือ มุ่งเป้าเด็กไทยทุกคนต้องได้รับการศึกษาภาคบังคับทั่วถึงเท่าเทียม
08.11.24
Starfish Education เข้าร่วมแลกเปลี่ยนการประชุมเพื่อเก็บข้อมูลตามมิติพลังอำนาจของชาติ ด้านสังคมจิตวิทยา การขับเคลื่อนนโยบายด้านการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
16.12.24
โรงเรียนปลาดาวต้อนรับคณะสำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาการศึกษา
20.12.24