10 เทรนด์ EdTech แห่งปี 2023: เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ยุคใหม่
เมื่อการเติบโตของ EdTech ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในสถานศึกษาอีกต่อไป เพราะคนทำงานต่างก็หันมาเร่งอัปสกิลพัฒนาตัวเองกันอย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นเทรนด์การเรียนรู้ตลอดชีพ (Lifelong Learning) และด้วยมูลค่าตลาด EdTech ที่คาดว่าจะเติบโต 16.5% ต่อปีในช่วงปี 2022 – 2030 ลองมาดูกันว่าเทรนด์ EdTech ในปี 2023 มีอะไรบ้างที่น่าจับตามอง
1. Personalized Learning
เมื่อผู้เรียนแต่ละคนมีอัตราการเรียนรู้หรือความสนใจเนื้อหาที่ต่างกันออกไป การสอนด้วยวิธีการเดียวอาจไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรเพราะบทเรียนไม่ได้สนองตอบต่อผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดังนั้น การเรียนการสอนยุคใหม่จึงถูกปรับให้มีความเฉพาะบุคคลมากขึ้นการออกแบบบทเรียนที่เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียนแต่ละคน ซึ่งผู้เรียนก็สามารถเลือกเรียนวิชาได้ตามความสนใจ ติดตามความคืบหน้า และโฟกัสไปที่จุดอ่อนของตัวเองได้อย่างตรงจุดมากขึ้น Personalized Learning จึงถือว่าเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่จะเข้ามามีอิทธิพลมากขึ้นในช่วงปีนี้
2. Subscription-based Model for Learning
สมัยนี้ก็มีแพลตฟอร์มการศึกษาที่ใช้โมเดล Subscription-based เช่นเดียวกันที่เปิดให้ผู้เรียนได้สมัครรายเดือนหรือรายปี และเรียนกี่วิชาก็ได้ภายในระยะเวลาที่เป็นสมาชิกอยู่ ซึ่งต่างจากการเรียนออนไลน์แบบเดิมที่ผู้เรียนต้องเลือกชำระเงินเรียนทีละรายวิชาและต้องเรียนให้จบเพื่อรับใบประกาศนียบัตร ในช่วงปี 2020 – 2022 มีแพลตฟอร์มการศึกษาแบบ Subscription-based model เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19
3. Hybrid Learning / Blended Learning
สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้เทคโนโลยีการศึกษาบูมขึ้นมา ทำให้สถานศึกษาทั่วโลกต่างต้องหันมาสอนทางออนไลน์กันมากขึ้นโดยหลายๆโรงเรียนก็เริ่มใช้โมเดลการสอนแบบ Hybrid Learning ที่ครูอาจารย์สอนในห้องที่มีนักเรียนอยู่ที่โรงเรียน พร้อม ๆ กับถ่ายทอดสดไปยังผู้เรียนออนไลน์ที่อยู่ทางบ้านรวมถึงแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเสริมประสบการณ์การเรียนรู้กันมากขึ้นอย่างแพร่หลาย ด้วยแนวทางแบบ Blended Learning ที่นำสื่อมัลติมีเดียต่าง ๆ แบบออนไลน์เข้ามาผสมผสานกับการเรียนการสอนแบบออฟไลน์ ทำให้ครูไม่ได้มีบทบาทเพียงแค่เป็นแหล่งข้อมูลความรู้เพียงแหล่งเดียวอีกต่อไป แต่เข้ามาเป็นผู้เอื้ออำนวยกระบวนการเรียนรู้ (Learning Facilitator) และเป็นผู้ให้คำปรึกษา (Mentor) ด้วย
4. Nano Learning / Bite-sized Learning
Nano Learning หรือ Bite-sized Learning คือ การแบ่งย่อยเนื้อหาเป็นส่วน ๆ ให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถรับอินพุตขนาดกำลังพอดีผ่านสื่อการเรียนรู้ในเวลาที่จำกัดได้ในช่วงเวลาตั้งแต่ 2 – 10 นาที ซึ่งการแบ่งย่อยบทเรียนทีละส่วนเช่นนี้จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจและเรียนรู้เนื้อหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าการถ่ายทอดบทเรียนเป็นชั่วโมงซึ่งอาจทำให้เกิดความเหนื่อยล้าจากการใช้สมาธิต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานได้
5. Gamification
Gamification เป็นเทคนิคฝึกทักษะแก้โจทย์ปัญหา โดยใช้กลไกของเกมเพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น พัฒนาทักษะและเรียนรู้ผ่านเกมได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุด อีกทั้งยังช่วยทบทวนความจำและทำให้เรื่องยาก ๆ เข้าใจได้ง่าย ตอบโจทย์วัตถุประสงค์การเรียนรู้ กระตุ้นผู้เรียนให้บรรลุเป้าพร้อมกับได้รับฟีดแบ็กทันทีการใช้เกมกับการเรียนรู้ไม่ได้ใช้แค่ในเฉพาะกลุ่มนักเรียนในสถานศึกษา แต่ยังรวมไปถึงการใช้ฝึกพนักงานตามบริษัทด้วย เพราะโดยธรรมชาติแล้วคนทุกช่วงวัยต่างชอบเล่นเกมด้วยความรู้สึกท้าทายอยากเอาชนะในแต่ละด่าน เมื่อเกมเข้ามาเป็นตัวกลาง ก็ทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกเพลิดเพลิน และรู้สึกมีส่วนร่วมกับบทเรียนมากยิ่งขึ้นไปด้วย
6. Augmented Reality & Virtual Reality
AR และ VR กลายเป็นสองเทคโนโลยีหลักที่ขับเคลื่อนการพลิกโฉมแวดวงการศึกษาด้วยการจำลองบทเรียนหรือแนวคิดที่ซับซ้อนให้ผู้เรียนเห็นภาพที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น บทเรียนเกี่ยวกับ STEM การจำลองเนื้อหาด้านการแพทย์ ศิลปะและวิทยาศาสตร์ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยประสบการณ์เสมือน ขยายโอกาสในการทดลองต่าง ๆ ลดการท่องจำพร้อมส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของผู้เรียน ปัจจุบันก็มีตัวอย่างบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการใช้ AR/VR เพื่อการศึกษา ได้แก่ Wonderscope, Mondly, JigSpace ซึ่งคาดว่าในอนาคตอันใกล้นี้ เทคโนโลยี AR/VR จะเข้ามาครองพื้นที่ EdTech เพื่อเสริมการเรียนรู้ในวงกว้างมากขึ้นอย่างแน่นอน
7. Digital and Comprehensive Online Assessments / AI-powered Assessment
การวัดและประเมินผลความรู้เชิงทฤษฎีแบบดั้งเดิมจะกลายเป็นเรื่องล้าสมัยไปแล้ว เพราะมีแนวโน้มการประเมินผู้เรียนโดยอิงตามความรู้ในทางปฏิบัติ การทดลอง การลงพื้นที่ทำจริงเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งรูปแบบการสอบจะเน้นไปที่การจัดสอบทางออนไลน์ ทั้งภาคปฏิบัติและการสอบปากเปล่า ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สถาบันการศึกษาจะเริ่มหันมาใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ช่วยในการจัดสอบและระบบประเมินผลด้วยการอัดเสียงผ่านออนไลน์เทคโนโลยี AI ก็เข้ามามีบทบาทในการวัดประเมินผลความรู้เช่นเดียวกับการจัดการเรียนรู้แบบเฉพาะบุคคล (Personalized Learning) ด้วยฟีเจอร์ AI ที่ประเมินผ่านทางออนไลน์จะแสดงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลการเรียนของนักเรียน การวิเคราะห์กลุ่ม และการวิเคราะห์ผู้เรียนเดี่ยวในแต่ละหัวข้อบทเรียน ซึ่งการใช้ AI-powered Assessment จะช่วยลด Bias หรือความไม่เที่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ผู้วัดผลที่เป็นมนุษย์ได้ และให้ฟีดแบ็กแก่ผู้เรียนรายบุคคลได้
8. Exam Management with EdTech
การจัดสอบโดยทั่วไปยังอยู่ในรูปแบบดั้งเดิมอยู่ที่มีศูนย์จัดสอบ การคุมสอบ การตรวจกระดาษคำตอบแบบแมนนวล ซึ่งเป็นงานที่ซ้ำซากจำเจ และใช้แรงงานคนมากเกินจำเป็น จุดนี้เองที่ AI เข้ามาช่วยในเรื่องของระบบการจัดการสอบ เช่น ระบบคุมสอบด้วย AI (AI-based Proctoring) หรือ การคุมสอบทางไกลอัตโนมัติ (Auto-remote Proctoring) ที่ให้สถาบันดำเนินการจัดสอบได้โดยไม่ต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานหรือโลจิสติกส์ใด ๆเทคโนโลยีคุมสอบทางไกล (Remote Proctoring Technology) สามารถเข้ามาช่วยให้นักเรียนเข้าสอบจากที่ไหนก็ได้ผ่านอุปกรณ์ที่ใช้อินเทอร์เน็ต โดยระบบจะติดตามอิริยาบถของผู้สอบทางไกลผ่านการสตรีมวิดีโอ ภาพและเสียง ซึ่ง AI จะสามารถวิเคราะห์ได้ว่านักเรียนกำลังทำข้อสอบโดยสุจริตอยู่
9. Digital & Cloud-based Infrastructure
นอกจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ต้องเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนแล้ว สถาปัตยกรรมโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลก็เป็นพื้นฐานสำคัญในการสนับสนุนเส้นทางการศึกษาในอนาคตของนักเรียน ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เราได้เห็นห้องเรียนแบบดิจิทัลกันมากขึ้นที่ผสานนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามา เช่น กระดานไวท์บอร์ดอินเทอร์แอคทีฟ โปรเจกเตอร์ ห้องแล็บ ICT หรือศูนย์มัลติมีเดีย เกมการศึกษา ซอฟต์แวร์การจัดการ ระบบ E-learning บนคลาวด์ และอื่น ๆ อีกมาก ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้เปิดโอกาสใหม่ให้กับการเรียนการสอนยุคนี้
10. Blockchain
เทคโนโลยีบล็อกเชนนำมาใช้เป็นหลักฐานบันทึกข้อมูลเพื่อยืนยันทักษะและความเชี่ยวชาญรูปแบบดิจิทัลที่สามารถตรวจสอบได้และไม่สามารถแก้ไขดัดแปลงได้ เช่น การจัดเก็บข้อมูลนักเรียนขนาดใหญ่อย่างมั่นคงปลอดภัยสูงสุด การเก็บบันทึกและจัดการหลักฐานวุฒิการศึกษาในภาพรวม การใช้งานเทคโนโลยีบล็อกเชนในภาคการศึกษานั้นถือว่ามีศักยภาพในการเพิ่มความถูกต้องแม่นยำและเชื่อถือได้ อย่างการเก็บประวัติของนักเรียน ทำให้สถานศึกษารวมไปถึงนายจ้างสามารถตรวจสอบประวัติข้อมูลประจำตัวของผู้เรียนได้ โดยมั่นใจได้ว่าข้อมูลดังกล่าวไม่ผ่านการปลอมแปลง นอกจากนี้ เทคโนโลยีบล็อกเชนยังมอบความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลสำคัญต่าง ๆ เช่น การจัดเก็บ Course Syllabus และ Coursework รายวิชาต่าง ๆ ในระดับมหาวิทยาลัย เป็นต้น
อ่านรายละเอียดเนื้อหาเพิ่มเติม : www.adpt.news/2023/01/17/10-edtech-trends-2023/
ข่าวที่เปิดอ่านมากที่สุด
พัฒนาทักษะอนาคตเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ให้กับนักเรียน กับกิจกรรม School Tour Future Youth Thailand @กาญจนบุรี
22.11.24
สพฐ. ร่วมกับ Starfish Education เปิดตัว การเรียนรู้แห่งอนาคต สร้างทักษะอนาคตเยาวชน Future Youth Thailand Building future skills Anywhere, Anytime
12.12.24
มูลนิธิสตาร์ฟิชเอ็ดดูเคชั่น เข้าพบท่านองคมนตรี รายงานผลการดำเนินงานของมูลนิธิฯ และรางวัล World best school ของโรงเรียนปลาดาว
07.12.24
รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” เน้นย้ำ ทุกหน่วยงานบูรณาการความร่วมมือ มุ่งเป้าเด็กไทยทุกคนต้องได้รับการศึกษาภาคบังคับทั่วถึงเท่าเทียม
08.11.24
Starfish Education เข้าร่วมแลกเปลี่ยนการประชุมเพื่อเก็บข้อมูลตามมิติพลังอำนาจของชาติ ด้านสังคมจิตวิทยา การขับเคลื่อนนโยบายด้านการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
16.12.24
โรงเรียนปลาดาวต้อนรับคณะสำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาการศึกษา
20.12.24