กพฐ.ปรับลดตัวชี้วัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ.2551
การประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ปรับตัวชี้วัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 จาก 2,056 ตัวชี้วัด ลดเหลือ 771 ตัวชี้วัด และให้ความสำคัญกับกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะ มากกว่าความจำ
โดยคณะอนุกรรมการด้านคุณภาพและเทคโนโลยี เพื่อการเรียนรู้ใน กพฐ. และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ดำเนินการตามมติ กพฐ. จัดกลุ่มตัวชี้วัด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้ดังนี้
1) จำนวนตัวชี้วัดทั้งสิ้น 2,056 ตัวชี้วัด สามารถจำแนกเป็นตัวชี้วัดระหว่างทาง 1,285 ตัวชี้วัด และตัวชี้วัดปลายทาง 771 ตัวชี้วัด ทั้งนี้ จำนวนตัวชี้วัดยังคงครบถ้วน และผู้เรียนมีคุณภาพตามที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนด
2) ตัวชี้วัดปลายทางเป็นตัวชี้วัดผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน ส่วนตัวชี้วัดระหว่างทางเป็นตัวชี้วัดระหว่างการจัดการเรียนรู้
3) จำนวนตัวชี้วัดในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้จะมีมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
4) ตัวชี้วัดในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้สามารถอธิบายภาพความสำเร็จของผู้เรียนได้ โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนของตัวชี้วัด
แนวทางในการนำตัวชี้วัดปลายทางไปใช้
1. สพฐ. กำหนดแนวทางในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยใช้ตัวชี้วัดปลายทางในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้และแต่ละระดับชั้น
2. ครูประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียนรู้ โดย ใช้ตัวชี้วัดปลายทาง 771 ตัวชี้วัด
3. ตัวชี้วัดที่เหลือซึ่งถือเป็นตัวชี้วัดระหว่างทาง ให้ครูใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนการสอน โดยอาจมีการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นหลัก แต่ไม่ต้องนำไปรวมเพื่อตัดสินผลการเรียนรู้
4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้นั้นจะใช้มโนทัศน์ของการประเมินเพื่อพัฒนา (Assessment for Learning) เป็นหลัก โดยเน้นการให้ผลป้อนกลับที่มีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาผู้เรียนที่มากพอ (Constructive Feedback) โดยใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย ทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : www.sobkroo.com/articledetail.asp?id=13546
ข่าวที่เปิดอ่านมากที่สุด
สพฐ. ร่วมกับ Starfish Education เปิดตัว การเรียนรู้แห่งอนาคต สร้างทักษะอนาคตเยาวชน Future Youth Thailand Building future skills Anywhere, Anytime
12.12.24
โรงเรียนปลาดาวต้อนรับคณะสำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาการศึกษา
20.12.24
“วัยรุ่นเจนใหม่ คิดเจ๋ง ไอเดียเปลี่ยนโลก!” ส่งนวัตกรรมสู้วิกฤต (SDG) เปลี่ยนอนาคต!
21.01.25
Starfish Education เข้าร่วมแลกเปลี่ยนการประชุมเพื่อเก็บข้อมูลตามมิติพลังอำนาจของชาติ ด้านสังคมจิตวิทยา การขับเคลื่อนนโยบายด้านการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
16.12.24