หลักสูตร CBE 6 สาขา ครูจะพัฒนาผู้เรียน ตามกรอบฐานสมรรถนะ ให้เด็กๆ เก่งขึ้นได้อย่างไร

Starfish Academy
Starfish Academy 3631 views • 2 ปีที่แล้ว
หลักสูตร CBE 6 สาขา ครูจะพัฒนาผู้เรียน ตามกรอบฐานสมรรถนะ ให้เด็กๆ เก่งขึ้นได้อย่างไร

ด้วยการปรับใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency-Based Curriculum) ที่กำลังจะมาถึงในอนาคตอันใกล้ การทำความเข้าใจความหมายและแนวคิดของสมรรถนะของผู้เรียน (Competencies of Learners) อย่างถ่องแท้ โดยเฉพาะในบริบทของหลักสูตร CBE ก็ยิ่งเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งคุณครูและผู้ปกครองสามารถเข้าใจหัวใจหลักของสมรรถนะผู้เรียนากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเข้าใจหลักสูตร CBE และการคอยทำหน้าที่เป็นกองหนุน ส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกหรือเด็ก ๆ ในรูปแบบใหม่

ในบทความนี้ Starfish Labz จึงจะขอพาคุณครูและผู้ปกครองทุกคนมาเรียนรู้การพัฒนาผู้เรียนตามกรอบฐานสมรรถนะให้เด็ก ๆ เก่งขึ้น โดยเริ่มที่การทำความเข้าใจความหมายของ “สมรรถนะของผู้เรียน” ในบริบทของหลักสูตร CBE อย่างถ่องแท้กัน สมรรถนะของผู้เรียนในบริบทของหลักสูตร CBE คืออะไร? มีอะไรบ้าง? และคุณครูจะเริ่มพัฒนา เตรียมพร้อม หรือหรือทดลองการเรียนการสอนในสไตล์ CBE อย่างไรได้บ้าง ตาม Starfish Labz มาเรียนรู้ทุกคำตอบกันในบทความนี้เลยค่ะ

สมรรถนะของผู้เรียนคืออะไร? (Competencies of Learners)

ขอบเขตและความหมายของคำว่า “สมรรถนะของผู้เรียน” ที่เคยมีมา

ในหลักสูตร และระบบการศึกษาของประเทศไทยนั้น จริง ๆ แล้วคำว่า “สมรรถนะของผู้เรียน” ไม่ใช่สิ่งใหม่ และในหลักสูตรการเรียนการสอนของเราที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการก็ได้มีการกำหนดให้คุณครูคอยประเมินสมรรถนะในด้านต่าง ๆ ของนักเรียนนอกเหนือจากความรู้ในด้านวิชาการจากการทำคะแนน หรือการเรียนจากวิชาต่าง ๆ เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว อาทิ ทักษะในการจัดการเวลา, ทักษะความคิดสร้างสรรค์, การตรงต่อเวลา หรือการมีระเบียบวินัยในการทำสิ่งต่าง ๆ Competencies of Learners หรือสมรรถนะของผู้เรียน ในขอบเขตที่เคยมีตลอดมาของเราในเบื้องต้นนี้ จึงอาจกล่าวได้ว่าหมายถึง คุณลักษณะหนึ่ง ๆ ของเด็กที่มีคุณค่า เป็นประโยชน์ หรือสามารถช่วยผลักดันให้เขาสามารถทำสิ่งต่าง ๆ หรือปฏิบัติงานจนบรรลุตามเป้าหมาย เป็นสมรรถนะหรือคุณลักษณะพิเศษอันโดดเด่น หนึ่งของพวกเขาที่นอกเหนือจากความสามารถในด้านวิชาการหรือเพียงแค่การเรียนรู้ภายในห้องเรียน 

สมรรถนะของผู้เรียนในหลักสูตรเดิมที่มีมา จึงอาจกล่าวได้ว่าเปรียบเสมือนเป็นชุดทักษะย่อย ๆ ที่คุณครูคอยช่วยส่งเสริม ประเมิน และติดตามการเติบโตของพวกเขานอกเหนือจากการสอนในวิชาหลัก ๆ และในหลักสูตร CBE ใหม่เอง ระบบการเสริมและประเมิน “สมรรถนะของผู้เรียน” ในขอบเขตความหมายดังกล่าวหรือในลักษณะเป็นชุดทักษะย่อย ๆ เสริมจากการเรียนรู้หลักก็ยังคงมีอยู่และถูกใช้อยู่เหมือนเดิมเช่นเดียวกัน แต่เมื่อถูกปรับมาเป็น CBE แล้ว คำว่า สมรรถนะของผู้เรียน” ในหลักสูตรใหม่ยังจะไม่ใช่แค่นั้น แต่ยังมีความหมายอันลึกซึ้งและสลักสำคัญของการเป็นแนวคิดหรือแกนกลางหลักของหลักสูตรที่หันมาเน้น “ความถนัด” (competency), “ความสามารถ” (capability), และ “ความรัก หรือ ความชื่นชอบ” (passion)” ในสายทางอันเฉพาะเจาะจงของเด็ก ๆ มากกว่าที่จะเป็นการเรียนรู้ในเนื้อหา 6 หรือ 7 วิชาต่อเทอมอย่างกว้าง ๆ

ขอบเขตและความหมายของคำว่า “สมรรถนะของผู้เรียน” ในฐานะแนวคิดและแกนกลางหลักของหลักสูตร CBE

CBE หรือหลักสูตรฐานสมรรถนะ คือการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ทั้งในประเทศไทยและในอีกหลาย ๆ ประเทศ ตัวหลักสูตรกำเนิดจากการศึกษา การพยายามทำความเข้าใจ และการผลักดันมานานนับทศวรรษว่าหลักสูตรการท่องจำแบบเดิม ๆ ที่มีลักษณะในการเน้นเนื้อหาอย่างกว้าง ๆ (content-based) และส่วนใหญ่ก็เป็นเนื้อหาที่เยอะเกินโดยไม่จำเป็นนอกจากจะไม่ช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ทักษะในการประยุกต์ใช้และต่อยอดแล้ว กว่าหมื่นพันที่จบการศึกษามายังไม่เคยรู้ว่าตัวเองถนัด (competent) ในด้านไหน หรือหากรู้ ก็ไม่เคยได้รับการสนับสนุนหรือบ่มเพาะจากโรงเรียนหรือภายในครอบครัวมาก่อนเลย 

การตระหนักรู้ในจุดอ่อนของระบบการศึกษาดั้งเดิมที่มีมาในจุดนี้จึงเป็นที่มาของ Competency-Based Curriculum หรือหลักสูตรฐานสมรรถนะที่หันมาให้ความสำคัญกับ “สมรรถนะหลัก” รวมถึงสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนรองต่าง ๆ มากกว่า และคำว่า “สมรรถนะของผู้เรียน” ใน ณ ทีนี้จึงไม่ได้มีความหมายถึงเพียงแค่การเป็นสมรรถนะชุดย่อย ๆ เสริมจากการเรียนรู้หลักเพียงแค่อย่างเดียวอีกต่อไป แต่ยังหมายถึง “ความถนัดหลัก” หรือแนวโน้มของเด็กคนหนึ่งที่จะมีทักษะ ความสามารถ ความอยากเรียนรู้ หรือความชอบในแขนง ในทักษะ หรือในศาสตร์หนึ่ง ๆ อย่างเฉพาะเจาะจง แต่การจะไปให้ถึงจุดนั้น แน่นอนว่า CBE ย่อมต้องมีกรอบสมรรถนะสำคัญคร่าว ๆ ที่จะส่งไม้ต่อให้คุณครูค่อย ๆ พัฒนาให้กับเด็ก ๆ ก่อน ภายในกรอบสมรรถนะเหล่านี้ วิชาเรียนหลัก ๆ ยังคงมีอยู่เหมือนเดิม เนื้อหา หรือ “content” ยังคงมีอยู่ เพียงแต่ไม่ใช่แกนกลางหลักหรือแกนกลางเดียวในกระบวนการการเรียนรู้และการเติบโตของเด็ก ๆ อีกต่อไป แต่เป็นเพียงเครื่องมือหรือตัวกลางหนึ่ง ๆ ในการช่วยเด็ก ๆ สามารถต่อยอดไปถึง “competency” ของเขาเท่านั้น

กรอบ 6 สมรรถนะหลักใหม่ของหลักสูตร CBE

ไม่ว่าความถนัดหรือความชอบหลักของเด็ก ๆ จะเป็นสิ่งใด แต่กรอบการพัฒนาเริ่มต้นหลักที่กระทรวงศึกษาธิการได้วางไว้ก็คือค่อย ๆ พัฒนาและบ่มเพาะการเรียนรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ภายใต้ 6 เป้าหมายหมวดสมรรถนะหลักอย่างกว้าง ๆ นั่นคือ

1. สมรรถนะในการจัดการตนเองอย่างมีสุขภาวะ

2. สมรรถนะในการคิดขั้นสูงและการเรียนรู้

3. สมรรถนะในการสื่อสารด้วยภาษา

4. สมรรถนะในการจัดการและการทำงานเป็นทีม

5. สมรรถนะในการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง

6. สมรรถนะในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน

คุณครูจะเริ่มเรียนรู้ เตรียมพร้อม หรือทดลองการเรียนการสอนในสไตล์ CBE หรือการเน้นสมรรถนะอย่างไรได้บ้าง

ในปัจจุบัน หลักสูตร CBE จะยังคงอยู่ในช่วงนำร่องการทดลองเพียงแค่ในบางโรงเรียน การทดลองสอนหรือการเตรียมพร้อมอย่างจริงจังโดยตรง จึงยังอาจเป็นสิ่งที่คุณครูทำได้อย่างไม่เต็มที่นัก แต่หนึ่งในสิ่งที่แน่นอนว่าสามารถทำได้ก็คือการค่อย ๆ เรียนรู้ ศึกษา และทำความเข้าใจ ทั้งในแง่ของหลักการและการประยุกต์ใช้เครื่องมือต่าง ๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีในการช่วยติดตาม พัฒนา และประเมินสมรรถนะของผู้เรียนในแง่มุมต่าง ๆ ที่จะเข้ามามีความสำคัญอย่างแน่นอน ในช่วงเริ่มต้น คุณครูอาจค่อย ๆ ทดลองใช้บรรดาเครื่องมือที่ช่วยสร้างกลุ่มสมรรถนะและประเมินบรรดาสมรรถนะดังกล่าวของเด็ก ๆ ต่างได้อย่างง่าย ๆ เช่น Starfish Class เพื่อสร้างความเคยชินและความเข้าใจอย่างลึกซึ้งใน CBE ตลอดจนความสำคัญของการพัฒนาสมรรถนะให้เด็ก ๆ โดยตรง

ถูกพัฒนาและออกแบบมาเพื่อคุณครูและการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะ Starfish Class คือแพลตฟอร์มเครื่องมือฟรีที่จะช่วยให้คุณครูสามารถสร้างอีกหนึ่งห้องเรียนย่อย ๆ ในพื้นที่ Online และช่วยประเมินสมรรถนะ/ทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนได้อย่างเป็นระบบโดยตรง

การใช้งานไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ เปิดให้ใช้งานกันได้อย่างฟรี ๆ คุณครูสามารถเรียนรู้การใช้งาน ฟีเจอร์ และคุณประโยชน์ของ Starfish Class เพิ่มเติมได้ที่นี่

และ Starfish Labz หวังว่า บทความนี้จะช่วยให้คุณครูเข้าใจขอบเขตและความหมายของ “สมรรถนะการเรียนรู้” ทั้งในหลักสูตรเดิมและหลักสูตรใหม่มากยิ่งขึ้น แล้วอย่าลืมมาค่อย ๆ ฝึกทดลอง ใช้งาน ประเมิน ทักษะ สมรรถนะกันใน Starfish Class กันเยอะ ๆ นะคะ

อ้างอิง

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
Starfish Academy

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา ด้านความสัมพันธ์ การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)

เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
Starfish Academy

การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านความสัมพันธ์
basic
2:00 ชั่วโมง

Micro Learning - เครื่องมือประเมินผู้เรียน

เครื่องมือครูในการประเมินผู้เรียนประกอบไปด้วย แอปพลิเคชัน 4 แอปพลิเคชัน คือ Kahoot Plicker , Quizzes , และ Cla ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning - เครื่องมือประเมินผู้เรียน
Starfish Academy

Micro Learning - เครื่องมือประเมินผู้เรียน

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning หลักการเขียนภาษาไทย ม. 1-3

หลักการเขียนภาษาไทย ม.1-3 เป็นการเรียนรู้ในรูปแบบของ Micro Learning เรื่อง เขียนอย่างไรให้สื่อความง่ายและตรงประ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning หลักการเขียนภาษาไทย ม. 1-3
Starfish Academy

Micro Learning หลักการเขียนภาษาไทย ม. 1-3

Starfish Academy

Related Videos

3 ข้อดี Starfish Class Website Version
02:55
Starfish Future Labz

3 ข้อดี Starfish Class Website Version

Starfish Future Labz
456 views • 3 ปีที่แล้ว
3 ข้อดี Starfish Class Website Version
3 ภาคีเครือข่าย ผนึกกำลังสร้างครู Creator Teacher Hero Season 3
03:14
Starfish Academy

3 ภาคีเครือข่าย ผนึกกำลังสร้างครู Creator Teacher Hero Season 3

Starfish Academy
74 views • 2 ปีที่แล้ว
3 ภาคีเครือข่าย ผนึกกำลังสร้างครู Creator Teacher Hero Season 3
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management)
04:50
Starfish Academy

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management)

Starfish Academy
10905 views • 2 ปีที่แล้ว
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management)
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
03:45
Starfish Academy

เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”

Starfish Academy
7866 views • 3 ปีที่แล้ว
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”