5 เทคนิคครูยุคใหม่ สอนเด็กคิดสร้างสรรค์ ต้องสร้างห้องเรียนแบบไหน?
ความคิดสร้างสรรค์เปรียบเสมือนสิ่งที่ไม่สิ้นสุด เพราะความคิดสร้างสรรค์คือการคิดที่ผ่านทักษะการคิดออกมาเพื่อแก้ไขปัญหา หรือการคิดแนวคิดใหม่ ๆ ออกมา ลักษณะการคิดแบบมีความคิดสร้างสรรค์ล้วนแล้วแต่เป็นทักษะที่ทุกคนควรมี โดยสามารถพัฒนาได้อยู่ตลอดเวลาจากการจินตนาการ
ในห้องเรียน เด็ก ๆ สามารถเรียนรู้กับคุณครูผ่านจากประสบการณ์ และในห้องเรียนเราจะพบว่าคุณครูสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก ๆ ได้โดยผ่านการทำงาน ซึ่งคุณครูสามารถเสริมสร้างและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ๆ ได้ผ่าน 5 วิธีนี้
1. เน้นกิจกรรม ให้เกิดการระเบิดความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ๆ โดยการวาดภาพด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เด็กคาดไม่ถึง หรือ จัดกิจกรรมที่ให้เด็ก ๆ ได้ช่วยกันสร้างผลงานขึ้นมาด้วยตัวเอง หรือจะเป็นการช่วยกันแข่งขันผลงานต่าง ๆ เป็นกลุ่ม โดยให้เด็กได้รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น และการแลกเปลี่ยนไอเดีย
2. เคารพความคิดเห็นของเด็ก ๆ ในการออกความคิดเห็น เช่น การระดมสมองที่ทุกไอเดีย ไม่ใช่ไอเดียที่แย่ พูดคุยในหัวข้อต่างๆ โดยเน้นไปที่การพูดคุย ระดมสมอง หรือ ตอบคำถาม เพื่อสร้างบรรยากาศที่เคารพซึ่งกันและกัน
3. พยายามหาแนวทางการจุดประกายที่แปลกใหม่อยู่เสมอ เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ อาจจะมีทั้งเรื่องที่ชอบ และไม่ชอบ แต่ทุกสิ่งเกิดจากการสร้างสรรค์ และไม่มีอะไรถูกผิด ดังนั้นการได้ลองสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาพถ่าย ภาพวาด ดนตรี หรือมุมมองความคิดใหม่ๆ เปรียบเสมือนการเดินทางบนโลกแห่งความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างดีเยี่ยม
4. ประยุกต์ใช้สื่อการสอนด้านความคิดสร้างสรรค์ โดยปกติแล้ว คุณครูอาจคุ้นเคยแค่เพียงกับสื่อการสอนในวิชาสามัญหลัก ๆ เช่น สื่อการสอนคณิตศาสตร์ หรือสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ แต่รู้ไหมคะว่านอกเหนือจากวิชาหลัก ๆ เหล่านั้นแล้ว ปัจจุบันชุมชนและสถาบันการเรียนรู้หลาย ๆ แห่งเช่น Starfish Labz ยังได้พัฒนาและมีสื่อการสอนด้านความคิดสร้างสรรค์สำหรับคุณครู ผู้ปกครอง คุณพ่อคุณแม่ และตัวเด็ก ๆ เองด้วย อาทิ สื่อการสอน / คอร์สออนไลน์ “การออกแบบห้องเรียนที่บ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์,” สื่อการสอน / คอร์สออนไลน์ “การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ผ่านวิชาศึกษาอิสระ IS” ไปจนถึงสื่อการสอนเทคนิค “How to Play: กลเมล็ดพิชิตใจเด็ก” ที่บูรณาการเอาการเล่น หรือ Gamification เข้ามาช่วยในการจุดประกาย และบ่มเพาะทักษะความคิดสร้างสรรค์และการคิดนอกกรอบของเด็ก ๆ ไว้ในเพียงแค่เกม ๆ หนึ่งหรือเพียงแค่ในกิจกรรมเดียว สำหรับคุณครูหรือผู้ปกครองที่เพิ่งริเริ่ม ยังจับทางไม่ถูกหรือยังไม่รู้ว่าควรจะเริ่มอย่างไรดี การค่อย ๆ เริ่มด้วยสื่อการสอนที่ใช่ ที่ได้รับการพัฒนา และถูกใช้งานมาแล้วถือเป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับสำคัญในการค่อย ๆ เริ่มต้นของเราอีกด้วยค่ะ
ส่วนสำหรับคุณครูที่เป็นมือโปร แน่นอนว่าสื่อการสอนด้านความคิดสร้างสรรค์ก็ยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญ เป็นจุดที่เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำจริง ไม่ว่าการลงมือทำดังกล่าวจะหมายถึงเพียงแค่การพยายามอ่านและทำความเข้าใจใบงาน หรือการทำกิจกรรมหนึ่ง ๆ เพื่อเสริมสร้างทักษะของพวกเขาก็ตาม
5. และที่สำคัญ อย่าลืมสุขภาพของเด็ก ๆ การที่จะริเริ่ม หรือสร้างไอเดียที่แปลกใหม่ ต้องเริ่มจากสุขภาพที่แข็งแรง และพักผ่อนให้เพียงพอ บางครั้งการพาเด็ก ๆ ออกไปข้างนอกเพื่อเดินเล่น อาจจะให้แรงบันดาลใจใหม่ๆกับเด็กก็ได้
ดังนั้นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก ๆ ต้องเริ่มจากการที่ผู้สอนเคารพในความคิดของพวกเขา และมอบกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้กล้าที่จะแสดงความคิดและ เป็นแรงบันดาลใจให้พวกเขาต่อไปในอนาคต
Related Courses
Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน
Starfish แหล่งเครื่องมือช่วยครูในจัดการชั้นเรียนที่หลากหลาย เช่น Starfish Labz, Starfish Class แบบเว็บไซต์ และแ ...
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...
Micro Learning - เครื่องมือประเมินผู้เรียน
เครื่องมือครูในการประเมินผู้เรียนประกอบไปด้วย แอปพลิเคชัน 4 แอปพลิเคชัน คือ Kahoot Plicker , Quizzes , และ Cla ...
3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ตัวช่วยทำสื่อการสอน
เรียนรู้ 3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ที่นำไปใช้ได้จริงสำหรับการสร้างสื่อการสอน สะดวกต่อการใช้งาน มีประโยชน์สำหรับห้องเรียน ช่วยให้นัก ...