การเป็นพี่เลี้ยงและการให้คำปรึกษา
กิจกรรม PLC Teacher ครั้งที่ 9 โครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง รุ่นที่ 1 และ 2 ต่อเนื่อง
ในปี 2564หัวข้อ “การเป็นพี่เลี้ยงและการให้คำปรึกษา”
ปัจจุบันโลกมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษา ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้ เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น โดยการพัฒนาครูจากการปฏิบัติจริง และระหว่างปฏิบัติงานที่อยู่บนพื้นฐานของความร่วมมือ ซึ่งอาศัยบุคลากรในสถานศึกษาและมีระบบสนับสนุนในรูปแบบการเป็น “Internal Coach” หรือ “พี่เลี้ยง” เพื่อให้เป็นครูแกนนำในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
“พี่เลี้ยง” คือ คนที่คอยให้คำปรึกษา แนะนำ ส่งเสริม คอยรับฟังปัญหา เป็นต้นแบบในการเรียนรู้ เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรม และเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง สามารถที่จะถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ให้สำเร็จลุล่วง และคอยรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นๆ เพื่อให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างมีความสุข
สำหรับบทบาทของการเป็นพี่เลี้ยงหรือโค้ชในโรงเรียน (Internal Coach) เริ่มจากตัวครูแกนนำในการปรับมุมมอง ปรับทัศนคติ พร้อมเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ทำความเข้าใจในสิ่งที่ได้เรียนรู้ และพร้อมถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่ ๆ ให้กับครูคนอื่น ๆ ในโรงเรียน รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำ คำปรึกษาแก่ครูในการจัดกิจกรรมภายในโรงเรียนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และจากการที่โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการครูแกนนำ สิ่งที่เป็นประเด็นท้าทาย คือ การเพิ่มภาระงานของครู เนื่องจากจำนวนครูที่มีจำกัด นักเรียนเกิดภาวะความถดถอยทางการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนและการจัดโครงการในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งสิ่งที่ทำให้ก้าวผ่านสถานการณ์นั้นได้ คือ การเปิดใจพร้อมที่จะยอมรับและเรียนรู้สิ่งใหม่โดยไม่คิดว่าสิ่งใหม่เป็นอุปสรรคหรือข้อจำกัด ทั้งนี้ อยากให้มองว่าสิ่งใหม่ที่เข้ามาเป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้และพัฒนาตนเอง ตลอดจนการร่วมพูดคุยในโรงเรียน การเชื่อมโยงกิจกรรม การเรียนรู้ต่างๆ ให้เข้ากับโครงการผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นขั้นตอน โดยการบูรณาการในแต่ละกลุ่มสาระวิชา ผ่านกระบวนการ STEAM Design Process การส่งต่อถ่ายทอดให้กับครู
ท่านอื่นๆ ได้นำไปทดลองและปรับใช้ใน
การจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งที่ได้จากการนำกิจกรรมไปใช้ นอกจากการสร้างครูแกนนำในโรงเรียน สร้าง Internal Coach แล้ว ยังเป็นการสร้างนักเรียนแกนนำอีกด้วย
เห็นได้ว่า สิ่งที่จะทำให้งานประสบความสำเร็จได้ คือ การมีส่วนร่วมของครูทุกคน แต่ด้วยระบบที่มีการสร้างครูพี่เลี้ยงหรือครูแกนนำในโรงเรียน ส่งผลให้เกิดความยั่งยืนของการทำงานที่โรงเรียนสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมถึงแนวทางในฐานะครูพี่เลี้ยงจะมีวิธีการจัดการอย่างไรได้ที่ www.StarfishLabz.com
ครูสิทธิชัย ทรัพย์ประเสริฐ โรงเรียนวัดนางคุ่ม
ครูภัคสรกัญญ์ พันธ์ตาวงศ์ โรงเรียนวัดนิลเพชร
ครูสุปราณี ลามู โรงเรียนวัดร้องอ้อ
Related Courses
Peer Learning วิธีฟื้นฟู Learning Loss
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับ Peer Learning คืออะไร 5 รูปแบบของกิจกรรม Peer to Peer Learning ตัวอย่างก ...
5 กระดานบอร์ดออนไลน์ช่วยสร้างห้องเรียนแบบมีส่วนร่วม
เรียนรู้เทคนิคการนำ 5 กระดานบอร์ดออนไลน์ Idroo, Miro, Classroomscreen, Whiteboard.fi และ HeyHi Whiteboa ...
5 กระดานบอร์ดออนไลน์ช่วยสร้างห้องเรียนแบบมีส่วนร่วม
การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)
เรียนรู้ผลกระทบของ Learning Loss ที่ส่งกระทบถึงผู้เรียน ในภาพรวมของประเทศเพื่อฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้ 5ม ...
ห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย โรงเรียนบ้านปลาดาว
เรียนรู้ไอเดียการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย ฉบับโรงเรียนบ้านปลาดาว ทำความเข้าใจลักษณะห้ ...