เขียน Whiteboard อย่างไร ให้มีระเบียบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เรามาพูดถึง ‘การเขียน Whiteboard’ กันค่ะ
ทุกโรงเรียนคงจะมีกระดานดำ หรือบางโรงเรียนอาจจะเปลี่ยนเป็น Whiteboard แล้ว
ซึ่งเป็นเรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญมากจริงๆ สำหรับคุณครู
แต่คุณครูรู้ไหมคะว่า ‘ทักษะการเขียน whiteboard’ เป็นทักษะที่สำคัญในการจัดการชั้นเรียนที่คุณครูจะมองข้ามไม่ได้เลย เพราะมันหมายถึงว่าคุณครูได้มีการวางแผนเนื้อหาและกระบวนการสอนมาอย่างดี แล้วจึงนำมาถ่ายทอดให้กับนักเรียน
นอกจากนี้ ถ้าคุณครู #จัดระเบียบกระดานได้ดี จะทำให้นักเรียนมีโฟกัส รู้ว่าเขากำลังเรียนอะไร และรู้ว่าจะต้องทำอะไรต่ออย่างเป็นขั้นเป็นตอน
Starfish จึงมาให้เทคนิคการเขียน Whiteboard เพื่อให้คุณครูลอง #ฝึกฝน ดูกันค่ะ
4 ประโยชน์สำคัญของการใช้ Whiteboard
กระดานดำ หรือ Whiteboard เป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับคุณครูในการสื่อสาร หรือถ่ายทอดบทเรียนให้กับนักเรียน เพราะ…
- ช่วยให้นักเรียนมีโฟกัส เข้าใจและเห็นภาพมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เมื่อนักเรียนได้ยินสิ่งที่ครูพูด และนักเรียนก็ได้เห็นสิ่งที่ครูเขียนลงบน Whiteboard นักเรียนจะเข้าใจมากขึ้น (เป็นการเรียนรู้ทั้งสองทาง)
- การใช้ Whiteboard ช่วยสนับสนุนนักเรียนที่มีวิธีการเรียนรู้ที่ต่างกัน ให้สามารถเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้น เช่น นักเรียนที่เรียนรู้ได้ดีผ่านการเห็นภาพ (Visual Learner) นักเรียนที่เรียนรู้ได้ดีผ่านการฟัง (Auditory) และนักเรียนที่เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ (Kinesthetic) เพราะการที่เขาได้ออกมาทำกิจกรรมบนกระดาน จะช่วยให้เขาเรียนรู้ได้ดีขึ้น
- ช่วยให้คุณครูสามารถถ่ายทอดบทเรียนที่กำลังสอนได้อย่างลื่นไหลในลักษณะของภาพ อีกทั้ง ยังช่วยเป็นเครื่องมือใส่ประเด็นคำตอบของนักเรียนที่เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลานั้นได้อีกด้วย ซึ่งจะแตกต่างกับการใช้ Powerpoint ที่คุณครูมีการเตรียมสไลด์ไว้ล่วงหน้าแล้ว
- ช่วยให้คุณครูสามารถไฮไลท์ประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างบทเรียนได้ และในระหว่างที่ไฮไลท์ประเด็นสำคัญนั้น คุณครูยังสามารถสังเกตว่านักเรียนมีโฟกัส และเข้าใจประเด็นนั้นหรือไม่อย่างไร
มาดูวิธีการจัดระเบียบ Whiteboard กัน
คุณครูควรแบ่งกระดานออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 (มุมบนซ้าย) : เขียนจุดประสงค์ (objective) ของบทเรียน (ซึ่งจะเป็นพื้นที่ๆคุณครูจะต้องไม่ลบออกตลอดคาบ)
ส่วนที่ 2 (มุมล่างซ้าย) : เขียนการบ้าน (Task) ที่จะต้องทำต่อไป เพื่อเช็กลิสต์ในวันต่อไป
ส่วนที่ 3 (มุมบนขวา) : เขียนคำศัพท์ใหม่ๆ หรือ บทเรียนที่ได้เรียนรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นระหว่างเรียน
ส่วนที่ 4 (มุมล่างขวา) : เขียนหลักคิด / Concept ที่นักเรียนจะต้องจำ ต่างๆ เช่น หลักแกรมม่าในวิชาภาษาอังกฤษ
ส่วนที่ 5: Working space หรือ พื้นที่ทำงานของครู ที่ครูจะสามารถเขียนบทเรียน หรือคำถาม & คำตอบของเด็กๆ ระหว่างคาบเรียนได้
Tips:
1.การจัดระเบียบ Whiteboard จะช่วยให้นักเรียน ‘รู้’ ว่าตัวเองกำลังเรียนอะไรอยู่ และจะต้องทำอะไรต่อไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพราะสมองของนักเรียนจะสามารถจำเป็นภาพได้มากขึ้นจากการจัดระเบียบ Whitebaord ของคุณครู
2.ให้คุณครูลองถามตัวเองว่า บทเรียนของเราสามารถทำเป็น Column (ช่องตารางแนวตั้ง) หรือ Rows (ช่องตารางแนวนอน) ได้ไหม ยกตัวอย่างเช่น การเขียนหลักแกรมม่าในภาษาอังกฤษ S + V.(s/es) + Frequency marker จะช่วยให้ Whiteboard เป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น
10 เทคนิคในการเขียน Whiteboard ให้มีประสิทธิภาพ
- ให้พรินต์ (print) คีย์เวิร์ดที่สำคัญของเนื้อหา ไม่ต้องเขียนทุกอย่าง จะช่วยให้นักเรียนอ่านได้ง่ายขึ้น
- เอกสารที่พรินต์ออกมา คุณครูต้องแน่ใจว่าตัวหนังสือนั้นใหญ่พอที่นักเรียนหลังห้องสุดจะสามารถมองเห็น
- อย่าหันหลังให้กับนักเรียน 100% ขณะที่เขียนกระดาน (อย่าคุยกับกระดาน) แต่ให้คุณครูยืนเปิดตัวเองเป็นมุมกว้าง หันข้างเล็กน้อย ให้สายตาสามารถหันมามองนักเรียน สลับกับเขียนบนกระดานได้
- ใช้สีที่หลากหลายในการเน้นประเด็นสำคัญ และแยกความแตกต่างของเนื้อหา เช่น S (สีดำ) + V (สีแดง) + Object (สีน้ำเงิน)
- ใช้สัญญาลักษณ์ต่างๆ เพื่อเน้นประเด็นสำคัญ และแยกเนื้อหา (ในกรณีถ้าไม่มีปากกาสี) เช่น การขีดเส้นใต้ตรงใต้ประธาน การขีดเส้นใต้ขยึกขยักใต้คำกริยา
- มั่นใจว่าคุณครูเขียนตัวหนังสือแนวตรง อย่าเขียนให้เฉียงขึ้น หรือเฉียงลง เพราะนักเรียนอาจจะเอียงคอตามได้
- ถ้ากระดาน Whiteboard ของคุณครูสามารถใช้แม่เหล็กติดได้ ให้ใช้ประโยชน์จากมัน เช่น การใช้แฟลชการ์ด หรือรูปต่างๆ
- คุณครูต้องมั่นใจว่า Whiteboard นั้นสะอาด!
- เช็กหมึกปากกา Whiteboard ให้พร้อมใช้งานได้ก่อนสอนเสมอ! นี่ดูเหมือนเป็นจะไม่เป็นปัญหา แต่ก็เป็นปัญหาจริงๆ สำหรับคุณครู เพราะถ้าหมึกปากกากำลังจะหมด นักเรียนจะไม่เห็นสิ่งที่คุณครูเขียน
- อยากให้คุณครูจำไว้ว่า การเขียน Whiteboard ก็คือ การฝึกฝน (Practice) และทำอย่างต่อเนื่อง !
Tips : อย่าคิดว่าทักษะการจัดระเบียบกระดานไม่ใช่ทักษะที่สำคัญ หากครูสามารถจัดระเบียบความคิดของตัวเองได้ดี นักเรียนก็จะมีโฟกัส และจัดระเบียบความคิดของตัวเองได้เช่นกัน
แปลและอ้างอิง
Tyers, an experienced English language teacher trainer based in Canada. (2018). How to use the whiteboard effectively. bit.ly/3ygBpOG
Related Courses
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
วันนี้ Starfish Labz มีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้ครูผู้สอนได้เทคนิคการออกแบบกิจกรรมใน Booklet ให้มีความน่าสนใจ สร้างสรร ...
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
ต้องใช้ 100 เหรียญ
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...