การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้กับเด็ก

“Design Thinking” คือ กระบวนการคิดเชิงออกแบบที่ยืดหยุ่นเพื่อให้ผู้เรียนได้ประโยชน์สูงสุดจากกระบวนการสร้างสรรค์ โดยกระบวนการนี้มักใช้ในงานศิลปะ วิศวกรรม โลกธุรกิจ มหาวิทยาลัย และพื้นที่งานทางสังคมต่าง ๆ ซึ่งคุณครูสามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุก ๆ วิชาที่สอน และทุก ๆ ช่วงวัยของเด็ก อีกทั้งกระบวนการนี้มีประโยชน์มาก ๆ เมื่อต้องการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนงานหรือการออกแบบงานบริการด้านอื่น ๆ ก็สามารถทำได้เช่นกัน
ในบทความนี้ จะพูดถึงการนำกระบวนการ “Design Thinking” ที่ง่ายต่อการจดจำและนำไปใช้เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้กับเด็ก ซึ่งสามารถใช้ได้กับเด็กตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดย John Spencer และ A.J. Juliani ทำออกมาเป็น “Framework” ที่มีชื่อว่า “The LAUNCH Cycle” ที่จะช่วยให้เด็กเป็นนักสร้างสรรค์โปรเจกต์ได้ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
- L (Look, Listen, and Learn) : เป็นกระบวนการในช่วงต้นที่เด็กจะมอง ฟัง และเริ่มเรียนรู้ ซึ่งต้องเริ่มจากการตระหนักถึงเป้าหมาย หรืออาจจะเป็นชวนให้เด็กรู้สึกสงสัยในกระบวนการ ตระหนักถึงปัญหา และมีความเห็นอกเห็นใจ กับกลุ่มเป้าหมายของตัวเอง
- A (Ask Tons of Questions) : เป็นกระบวนการที่คุณครูจะต้องจุดประกายความอยากรู้ให้กับเด็กเพราะเด็กกำลังจะเข้าสู่ช่วงที่สอง ซึ่งเป็นช่วงที่จะต้องถามคำถามเกี่ยวกับปัญหานั้น ๆ ให้ได้มากที่สุด
- U (Understanding the Process or Problem) : เป็นขั้นตอนของการนำไปสู่ความเข้าใจกระบวนการและปัญหาผ่านการวิจัยที่ผ่านประสบการณ์จริง เด็กอาจจะสร้างแบบสัมภาษณ์ขึ้นมา หรือหาแบบประเมิน บทความ หรือดูวิดีโอ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์
- N (Navigate Ideas) : เป็นขั้นตอนที่เด็กนำความรู้ใหม่ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้กับแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้ ในขั้นตอนนี้ ไม่เพียงแต่จะเป็นการระดมไอเดียเท่านั้น แต่เด็กจะต้องวิเคราะห์ไอเดีย ผสมผสานไอเดียต่าง ๆ เข้าด้วยกันและก่อสร้างแนวคิดที่ทำขึ้นมา
- C (Create a Prototype) : เป็นขั้นตอนที่เด็กจะสร้างแบบจำลองที่เกิดจากไอเดียที่คิดขึ้นมา อาจจะเป็นงานดิจิทัล หรือผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ อย่างเช่น งานศิลปะ งานที่สร้างขึ้นจากที่เด็กออกแบบ หรืออาจจะเป็นการกระทำ งานเทศกาล หรือระบบต่าง ๆ เป็นต้น
- H (Highlight and Fix) : หลังจากที่สร้างแบบจำลองขึ้นมาแล้ว เด็กจะต้องเริ่มวิเคราะห์ และเน้นว่าอะไรคือสิ่งที่ได้ผล และอะไรที่ไม่ได้ผล เป้าหมายของขั้นตอนนี้คือ การมองว่ากระบวนการที่ต้องแก้ไขเป็นการทดลองที่เต็มไปด้วยการทำซ้ำ ซึ่งทุก ๆ ข้อผิดพลาดจะช่วยทำให้เด็กเข้าใกล้ความสำเร็จมากขึ้น
- Launch to an Audience : เป็นขั้นตอนสุดท้าย เมื่อทำทุกอย่างเสร็จแล้วก็จะส่งโปรเจกต์นี้ไปยังกลุ่มเป้าหมายเพื่อทดลองใช้งาน และให้เด็กได้แชร์ผลงานนี้ไปให้ทุกคนรับรู้
จะเห็นได้ว่า ประโยชน์ของกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) สามารถฝึกการแก้ไขปัญหาที่เป็นลำดับขั้นตอน ทำให้มองเห็นอย่างรอบคอบมากขึ้น แก้ไขปัญหาได้ค่อนข้างตรงจุดมีทางเลือกหลายทาง และจะพบตัวเลือกที่ดีที่สุด มีประสิทธิภาพที่สุด ได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์ ระดมความคิด ซึ่งจะทำให้สมองได้ฝึกคิดหลากหลายรูปแบบและวิธีการ ทำให้เราพบวิธีแปลกใหม่ จนเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้เช่นกัน
แปลและเรียบเรียงจาก :
spencer. getting started with design thinking. https://spencerauthor.com/designthinking/
Related Courses
ครูสอน KIDS (คิด)
ครูสอน KIDS (คิด) ชวนคุณครูมาร่วมสร้าง Mindset ใหม่ๆ พร้อมหาไอเดียการตั้งคำถาม เพื่อสอนเด็กให้มีวิธีคิดและทำอย่างไรให้เ ...



คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...



ออกแบบ Booklet (กิจกรรมการเรียนรู้) อย่างไร ช่วยนักเรียนไม่ถดถอยในการเรียนรู้ช่วงปิดเทอม
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับ 6 ปัจจัยการออกแบบการเรียนรู้ให้นักเรียน ในแบบฉบับ Booklet เช็คลิสต์ 8 วิธีออกแบบกิจ ...



ออกแบบ Booklet (กิจกรรมการเรียนรู้) อย่างไร ช่วยนักเรียนไม่ถดถอยในการเรียนรู้ช่วงปิดเทอม
การประเมินภาวะการเรียนรู้ถดถอย
การประเมินภาวะการเรียนรู้ถดถอยในวันที่โรงเรียนกลับมาเปิดเทอมใหม่อีกครั้ง หลังจากที่เด็กๆ เรียนออนไลน์มาเป็นเวลานาน ส่ง ...



Related Videos


Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)

