ฮาวทูปลุกพลังครู เปลี่ยนห้องเรียนให้ Active

Starfish Academy
Starfish Academy 3199 views • 2 ปีที่แล้ว
ฮาวทูปลุกพลังครู เปลี่ยนห้องเรียนให้ Active

เมื่อเจอกับสถานการณ์ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้การเรียนการสอนส่วนใหญ่ ต้องสอนในรูปแบบออนไลน์  แต่เมื่อเรียนออนไลน์ก็ทำให้เกิดปัญหาต่างๆหลายประการ เช่น  ขาดแคลนอุปกรณ์ในการเรียนรู้  สัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่ดี  การขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องมือสำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์  การไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง การที่นักเรียนไม่ให้ความร่วมมือในการเรียนออนไลน์ ขาดสื่อการเรียนการสอนที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอน รวมไปถึงกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอน ไม่สอดคล้องกับการเรียนออนไลน์ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ล้วนส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ลดลง 

เพื่อเตรียมความพร้อมในการเตรียมความรู้ที่ถดถอยเหล่านั้น  ในบทบาทของครูแล้ว ต้องมีความพร้อมให้มากที่สุด เพื่อที่จะเปลี่ยนห้องเรียนใหม่ เพื่อปลุกพลังในตัวครูและนักเรียน  และทำห้องเรียนให้ Active มากขึ้น

เมื่อรูปแบบการศึกษาเปลี่ยนไป บทบาทและหน้าที่ครูก็ย่อมเปลี่ยนตาม จากที่เคยเป็นครูผู้สอน ถ่ายทอดความรู้เพียงอย่างเดียว ก็ต้องสวมบทบาทใหม่ในฐานะโค้ช (Coach) ที่คอยสังเกตพฤติกรรม พร้อมให้คำแนะนำและกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะตามเป้าหมาย ไปสู่การพัฒนาสมรรถนะด้านต่าง ๆ ที่ผู้เรียนจำเป็นต้องมี เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนมาต่อยอด และปรับใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคตได้ ดังนั้นการที่ครูนั้นจะเปลี่ยนห้องเรียนได้ ต้องเริ่มจากตัวครูก่อน โดยมีเทคนิคง่ายๆ ดังนี้

1. อย่าทำตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญ   

ครูต้องทำตัวไม่รู้บ้าง สอบถามผู้เรียนบ้าง ให้ผู้เรียนได้ออกความคิดเห็น ได้ตอบ อย่าให้ผู้เรียนรู้สึกพึ่งพิงแต่คุณครู จนไม่ยอมใช้ความสามารถที่ตัวเองมี และไม่ยอมคิดในสิ่งที่แตกต่าง

2. อย่าขัดจังหวะโดยไม่จำเป็น 

คุณครูต้องปล่อยให้ผู้เรียนจดจ่ออยู่กับการปฏิบัติกิจกรรม อย่าไปขัดจังหวะ หรือรบกวนสมาธิของผู้เรียนถ้าไม่จำเป็น แต่ถ้าหากครูเห็นว่า ผู้เรียนกำลังเข้าใจในสิ่งที่เรียนแบบคลาดเคลื่อน เทคนิค การตั้งคำถามเพื่อให้ต่อมเอ๊ะ! ผู้เรียนทำงาน ก็มีความสำคัญมากๆ เพราะจะช่วยกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการคิด แล้วนำพาไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมอย่างเต็มใจ

3. ชี้แนะในสิ่งที่ถูกต้อง และเติมกำลังใจให้กัน 

กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ ในช่วงการเปลี่ยนถ่ายการศึกษาจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่ง ทั้งครูและผู้เรียนก็ต้องปรับตัว และหากว่าผู้เรียนสับสน ไม่เข้าใจ หรือทำงาน กิจกรรมไม่ถูกต้อง คุณครูต้องรีบให้กำลังใจในความมุ่งมั่นก่อนเป็นลำดับแรก แล้วค่อยๆ ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง จุดสำคัญของเทคนิคนี้ คือการที่คุณครูทำให้ดูเป็นตัวอย่าง แต่ห้ามทำแทนเด็ดขาด! เพราะการทำแทน ถือเป็นการทำลายโอกาสในการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนวิธีหนึ่ง

4. ให้ผู้เรียนเห็นความสามารถของตัวเอง

เทคนิคนี้ครูต้องใช้การสังเกตพฤติกรรมขั้นสูง เพราะหากคุณครูอยากทราบว่าผู้เรียนคนไหนมีแววหรือมีศักยภาพด้านใด ต้องใช้การสังเกต การเอาใจใส่ เพื่อให้ผู้เรียนรู้ว่าตัวเองมีสมรรถนะเด่นอะไร แล้วสามารถพัฒนาสมรรถนะนั้นอย่างไร วิธีนี้จะช่วยให้ผู้เรียนรู้ความสามารถของตัวเอง และมี Growth mindset ที่เข้มแข็งมากขึ้น

เมื่อครูมีเทคนิคที่จะเปลี่ยนการสอนแล้ว สิ่งสำคัญก็คือกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนที่จะนำครูและนักเรียนไปสู่ห้องเรียนที่เป็นการจัดเรียนรู้เชิงรุก หรือ ห้องเรียนแบบ Active Learning ซึ่งการจัดการเรียนรู้มีหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น

  • การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กำหนดแต่ละคน ประมาณ 2-3 นาที (Think) จากนั้นให้แลกเปลี่ยนความคิดกับ เพื่อนอีกคน 3-5 นาที (Pair) และนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด (Share)
  • การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative learning group) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยจัดเป็นกลุ่มๆ ละ 3-6 คน
  • การเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน (Student-led review sessions) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้และพิจารณาข้อสงสัยต่าง ๆ ในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ โดยครูจะคอยช่วยเหลือกรณีที่มีปัญหา
  • การเรียนรู้แบบใช้เกม (Games) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้สอนนำเกมเข้าบูรณาการในห้องเรียน
  • การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ (Analysis or reactions to videos) คือ การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ดูวีดีโอ 5-20 นาที แล้วให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น หรือสะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู อาจโดยวิธีการพูดโต้ตอบกัน การเขียน หรือ การร่วมกันสรุปเป็นรายกลุ่ม
  • การเรียนรู้แบบโต้วาที (Student debates) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้ นำเสนอข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์และการเรียนรู้ เพื่อยืนยันแนวคิดของตนเอง
  • การสอนแบบโครงงาน (Project-based learning) คือ การจัดกิจกรรม โดยให้ผู้เรียนกำหนดหัวข้อที่ต้องการเรียนรู้ วางแผนการเรียน เรียนรู้ตามแผน สรุปความรู้หรือสร้างผลงาน และสะท้อนความคิดในสิ่งที่ได้เรียนรู้
  • การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze case studies) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียน ได้อ่านกรณีตัวอย่างที่ต้องการศึกษา จากนั้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแนวทาง แก้ปัญหาภายในกลุ่ม แล้วนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด

เชื่อว่าเมื่อคุณครูเปลี่ยนบทบาทเป็นโค้ช เพื่อทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียนได้แล้ว การที่เราปลุกให้ทั้งตัวครูและเด็กมีพลัง ก็ย่อมจะเกิดการเรียนเชิงรุก จะทำให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ในเนื้อหารายวิชา ส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดทักษะ การสร้างการทำงานเป็นทีม สร้างความแข็งแกร่ง  เกิดเครือข่ายการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ทำให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าในตนเอง ทำให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ค้นพบแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง อีกทั้งยังทำให้มีส่วนร่วมสำหรับผู้สอนและผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น

Sources:

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนภาษาไทย (3R)

การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนภาษาไทย (3R)
Starfish Academy

การสอนภาษาไทย (3R)

Starfish Academy
2716 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
Starfish Academy

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

Starfish Academy
2675 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านความสัมพันธ์
basic
2:00 ชั่วโมง

Play and Learn classroom design

Play and Learn classroom design ออกแบบห้องเรียนให้สนุกด้วยเล่นปนเรียน เรียนรู้ความหมายของการเล่นปนเรียน ประ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Play and Learn classroom design
Starfish Academy

Play and Learn classroom design

Starfish Academy
1194 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านความสัมพันธ์
basic
3:30 ชั่วโมง

เคล็ดไม่ลับเปลี่ยนครูเป็น facilitator สอนอย่างไรให้เด็กสนุก มีส่วนร่วมในห้องเรียน

วันนี้ Starfish Labz มีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้ครูผู้สอนจะได้แนวคิดในการทำสื่อ เทคนิคไอเดียวิธีการสอน ที่จะทำให้ห้องเรียนสนุก ...

นจรส  ศิริขรรแสง (ครูเจ)
นจรส ศิริขรรแสง (ครูเจ)
เคล็ดไม่ลับเปลี่ยนครูเป็น facilitator สอนอย่างไรให้เด็กสนุก มีส่วนร่วมในห้องเรียน
นจรส  ศิริขรรแสง (ครูเจ)

เคล็ดไม่ลับเปลี่ยนครูเป็น facilitator สอนอย่างไรให้เด็กสนุก มีส่วนร่วมในห้องเรียน

นจรส ศิริขรรแสง (ครูเจ)

ต้องใช้ 100 เหรียญ

Related Videos

Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)
05:05
Starfish Academy

Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)

Starfish Academy
578 views • 2 ปีที่แล้ว
Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)
Makerspace Day #1
07:41
Starfish Academy

Makerspace Day #1

Starfish Academy
558 views • 2 ปีที่แล้ว
Makerspace Day #1
CBE - การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ
10:22
Starfish Academy

CBE - การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ

Starfish Academy
1422 views • 6 เดือนที่แล้ว
CBE - การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ
Makerspace Day #2
04:27
Starfish Academy

Makerspace Day #2

Starfish Academy
278 views • 2 ปีที่แล้ว
Makerspace Day #2