3R-เทคนิคดูแลใจเด็กนักเรียน

Starfish Academy
Starfish Academy 6489 views • 2 ปีที่แล้ว
3R-เทคนิคดูแลใจเด็กนักเรียน

“ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน” เป็นสิ่งที่ทุกโรงเรียนต้องดำเนินการ เพื่อเป็นเครื่องมือในการดูแล ช่วยเหลือ พิทักษ์ ปกป้อง คุ้มครองนักเรียนอย่างรอบด้าน ผ่านกระบวนการ 5 ขั้นตอนที่พวกเรารู้จักกันดี ได้แก่

  1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
  2. การคัดกรองนักเรียน
  3. การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน
  4. การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน
  5. การส่งต่อ

ซึ่งบทความนี้จะมาพูดถึง เทคนิคต่าง ๆ ที่จะช่วยให้การดูแลช่วยเหลือนักเรียนนั้นมีประสิทธิภาพมายิ่งขึ้น ด้วยเทคนิค 3R ซึ่งประกอบไปด้วย “Relationship Rules Respect”

Relationship – สัมพันธภาพ

เคยได้ยินบ้างไหมว่า วิธีการส่งเสริมให้เด็กประสบความสำเร็จ แก้ปัญหาการจัดการชั้นเรียน และการสร้างห้องเรียนแห่งความสุขนั้น สร้างได้ด้วยการสร้างสัมพันธภาพกับเด็ก การสร้างสัมพันธภาพกับเด็ก ๆ นอกจากจะช่วยให้พวกเขาได้พัฒนาทักษะทางวิชาการแล้ว ยังช่วยพัฒนาทักษะทางสังคมได้อีกด้วย คุณครูสามารถเริ่มต้นสร้างสัมพันธภาพได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น

  • ทำความรู้จักนักเรียน – สามารถทำได้ผ่านการพูดคุยกับเด็กนักเรียนโดยตรง คุยกับเพื่อนๆ ของเด็ก เยี่ยมบ้าน พูดคุยกับผู้ปกครอง หรือแม้กระทั่งการอ่านประวัติของนักเรียน การรู้จักนักเรียนมากขึ้นจะช่วยทำให้คุณครูเข้าใจเบื้องหลังพฤติกรรม นิสัย หรือความสนใจ คร่าว ๆ ของนักเรียนได้
  • เข้าใจพัฒนาการเด็ก - พัฒนาการเด็ก อาจจะฟังดูวิชาการไปหน่อย แต่ที่จริงแล้ว สามารถช่วยให้คุณครูสามารถทำความเข้าใจเด็ก ๆ ได้ง่ายขึ้น รวมถึงสามารถจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการตามศักยภาพของเด็กได้อีกด้วย
  • ความสนใจของนักเรียน - ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป คุณครูจำเป็นจะต้องตามเด็กให้ทันด้วย ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยี แนวเพลง เกม แฟชั่น หรือสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของเด็กในเวลานี้ หากคุณครูรู้จัก รู้เท่าทัน นอกจากจะทำให้บทสนทนาระหว่างครูและนักเรียนเป็นไปอย่างไหลลื่นแล้ว ครูเองก็สามารถให้ข้อแนะนำ หรือชวนเด็กๆ อภิปรายถึงประโยชน์และโทษของสิ่งที่เด็กๆ สนใจได้
  • เป็นพื้นที่ปลอดภัย - ให้ความรัก ความเมตตา ยอมรับในความเป็นตัวตนของเด็กแต่ละคน เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดระบายความรู้สึก บอกความต้องการหรือเสนอความคิดเห็นบ้าง เมื่อคุณครูสร้างความไว้ใจให้กับเด็ก เมื่อเด็กมีปัญหาหรือเรื่องที่ลำบากใจ เด็กจะไม่ปฏิเสธที่จะเล่าให้ครูฟัง เพราะว่าเชื่อมั่นว่าครูจะคอยให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือได้ โดยไม่ตัดสิน

Rules – กติกา

เมื่อมีสัมพันธภาพแล้ว “กติกา” ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่คุณครูใช้เป็นแนวทางการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียนร่วมกับเด็ก ๆ ที่ใช้คำว่า “กติกา” แทนว่าว่า “กฎ” เพราะว่ากติกานั้นเป็นการร่วมกันมือกันในการกำหนด แต่กฎนั้นส่วนใหญ่ถูกออกแบบมาจากคนเพียงบางกลุ่ม การเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนเป็นผู้ร่วมตั้งกติกาการอยู่ร่วมกันนั้น จะส่งผลให้เด็กเต็มใจจะปฏิบัติ มากกว่าคุณครูตั้งกฎเสียเอง ทั้งนี้ คุณครูสามารถนำเทคนิคทางจิตวิทยามาใช้ร่วมด้วยได้ ยกตัวอย่าง เช่น

การสร้างวินัยเชิงบวก - เป็นการจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กอย่างสร้างสรรค์โดยไม่ใช้การลงโทษ มีจุดมุ่งหมายให้เด็กรู้จักควบคุมพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของตัวเอง มากกว่าที่จะโดนบังคับ เพื่อให้เด็กเกิดการปรับพฤติกรรมไปในแนวทางที่ดีขึ้น และมีผลต่อเนื่องไปในอนาคต

Respect – เคารพซึ่งกันและกัน

คุณครูคาดหวังให้เด็กๆ เคารพในตัวครู แต่ในทางกลับกัน เด็กๆเองก็ต้องการได้รับการเคารพจากคุณครูด้วยเช่นกัน แต่นั่นไม่ง่ายเลย เพราะด้วยความอาวุโสกว่า มีอำนาจมากกว่าของครู อาจทำให้เราเผลอมองเด็กโดยไม่ได้คำนึงว่า เด็กก็มนุษย์คนหนึ่งที่ควรได้รับการเคารพ ในฐานะมนุษย์เช่นกัน   ในที่นี้คุณครูจะสามารถทำอย่างไรได้บ้าง

  • ฟัง (จริงๆ ที่ไม่ใช่ ฟังเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา) - หลายครั้งครูเองมักสวมบทบาท เป็นนักเขียนบท ที่รู้ตอนจบของเรื่องเสียแล้ว ทั้งที่เด็กๆยังไม่ทันได้อธิบาย การฟังเป็นรูปแบบหนึ่งที่เราแสดงออกว่า เราเคารพในความคิดเห็นของเด็ก ไม่ด่วนสรุป หรือด่วนตัดสิน
  • พูดคุยปราศรัยด้วยคำพูดที่น่าฟัง - เลือกใช้โทนเสียงที่เหมาะสม สุภาพ หลีกเลี่ยงการขึ้นเสียงกับเด็ก พยายามลดการออกคำสั่ง แต่ลองปรับเปลี่ยนเป็นการเชิญชวนเด็กๆให้ร่วมแสดงความคิดเห็น หรือร่วมทำกิจกรรมแทน
  • เสนอทางเลือก – เมื่อเด็กมีท่าทีจะต่อต้าน หรือไม่ทำตามกติกาที่ตกลงกันไว้ ให้ลองเสนอทางเลือกให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเลือก เช่น “ตอนนี้ครูให้หนูเลือก หนูจะเลือกใส่รองเท้าแล้วไปที่สนามเรียนพละกับเพื่อน ๆ หรือหนูจะเลือก....” (ให้ทางเลือกกับเด็ก เช่น นั่งอยู่ในห้องเวลาพัก เป็นต้น)
  • เป็นธรรม - อย่าเปลี่ยนกติกาโดยไม่ได้อธิบายเหตุผลกับเด็กนักเรียนก่อน แน่นอนว่าคุณครูเองก็สามารถผิดพลาดได้ อย่าอายที่จะพูด “ขอโทษ” กับเด็กเมื่อครูทำผิดพลาด การทำเช่นนี้ยิ่งจะทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ว่า ความผิดพลาด เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน เมื่อทำผิดก็ควรขอโทษ จะดีกว่าไหมที่เด็กๆได้เห็นแบบอย่างความจริงใจของคุณครู 
  • ทำตามสัญญา - หากครูคนไหนเคยสัญญาอะไรกับเด็ก ๆ เอาไว้ ขอให้รักษาสัญญาที่ให้ไว้ด้วยความสัตย์จริง เด็กๆจะเรียนรู้ว่าความซื่อสัตย์ เป็นคุณสมบัติที่ทุกคนควรมี

การดูแลเด็กนั้นควรมีความสมดุลกันระหว่างสัมพันธภาพและกติกา ไม่ควรเน้นด้านใดด้านหนึ่งจนเกินไป หากเน้นที่สัมพันธภาพมากกว่ากติกา จะทำให้เด็กขาดวินัยและความรับผิดชอบในตนเอง แต่ถ้าหากเน้นที่กติกามากกว่าสัมพันธภาพ จะเป็นการบังคับใจเด็ก ทำให้เด็กรู้สึกกลัว ไม่กล้า หรืออาจถึงขั้นต่อต้านไม่ให้ความร่วมมือจนนำไปสู่ปัญหาพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ และที่สำคัญการสร้างสัมพันธภาพ และกติกากับนักเรียนนั้น ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเคารพซึ่งกันและกัน หากสิ่งนี้เกิดขึ้นจะช่วยสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้กับเด็กนักเรียน ได้พัฒนาทั้งทางร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคม ได้อย่างเต็มตามศักยภาพ

สุดท้ายนี้หวังว่าสิ่งที่นำมาเล่าสู่กันฟังในครั้งนี้ คงจะเป็นประโยชน์สำหรับคุณครูที่มีเป้าหมายเดียวกันคือ พัฒนาเด็กให้เป็น “นักเรียนรู้อย่างมีความสุข - Happy Learner” ได้นำไปใช้ในการดูแลนักเรียนต่อไปนะคะ

ครูนัท - ชลณัฐ วงค์สถาน

นักจิตวิทยาโรงเรียนประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

โค้ชชิ่งสู่เส้นทางที่ใช่ด้วย MBTI : Myers-Briggs Type Indicator

Coaching Through MBTI : Myers-Briggs Type Indicator เป็นคอร์สที่จะทำให้คุณครูได้เปลี่ยนจากครูที่ทำหน้าที่สอนให้เป็นโ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
โค้ชชิ่งสู่เส้นทางที่ใช่ด้วย MBTI : Myers-Briggs Type Indicator
Starfish Academy

โค้ชชิ่งสู่เส้นทางที่ใช่ด้วย MBTI : Myers-Briggs Type Indicator

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
Starfish Academy

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

Starfish Academy
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
Starfish Academy

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

Starfish Academy
2714 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนภาษาไทย (3R)

การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนภาษาไทย (3R)
Starfish Academy

การสอนภาษาไทย (3R)

Starfish Academy
2737 ผู้เรียน

Related Videos

3 ขั้นตอนอ่านออก เขียนได้ สไตล์ปลาดาว
04:12
Starfish Academy

3 ขั้นตอนอ่านออก เขียนได้ สไตล์ปลาดาว

Starfish Academy
473 views • 2 ปีที่แล้ว
3 ขั้นตอนอ่านออก เขียนได้ สไตล์ปลาดาว
TQSP Kicf Off แนวทางการพัฒนานวัตกรรม
05:59
Starfish Academy

TQSP Kicf Off แนวทางการพัฒนานวัตกรรม

Starfish Academy
350 views • 2 ปีที่แล้ว
TQSP Kicf Off แนวทางการพัฒนานวัตกรรม
โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก
15:04
Starfish Academy

โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก

Starfish Academy
617 views • 2 ปีที่แล้ว
โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
84 views • 3 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]