Learning Culture สร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ แบบผู้บริหารโรงเรียนยุคใหม่
การศึกษาเป็นรากฐานที่สำคัญในการผลิตและพัฒนาความรู้ ความสามารถของบุคคล ผู้บริหารสถานศึกษา และครู ถือได้ว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อให้ได้รับการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน ฉะนั้น ผู้บริหาร ครูและบุคลากรจึงต้องมีการพัฒนาตนเอง เพื่อให้การจัดการศึกษามีคุณภาพ และการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนา ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการพูดคุย แลกเปลี่ยนแนวคิดในการสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ (Learning Culture) ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือ เทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ การทำงานในด้านต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารบุคลากรสู่การขับเคลื่อนองค์กรในรูปแบบใหม่
Learning Culture หรือ วัฒนธรรมองค์กร เป็นพฤติกรรมที่ทำต่อเนื่องจนเป็นวิถีชีวิต สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งนี้ คำว่า “วัฒนธรรม” มาจาก “วัฒน” แปลว่า ความเจริญงอกงาม “ธรรม” แปลว่า ดี งาม สำหรับวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้หรือวัฒนธรรมที่ดีของโรงเรียน คือ พฤติกรรมที่ดีงามของบุคลากรในโรงเรียน ที่ปฏิบัติสืบมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาภาพลักษณ์และคุณภาพของโรงเรียนจนเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของโรงเรียน ส่งผลให้เกิดการยอมรับของบุคคลและชุมชนจากวัฒนธรรมที่องค์กรได้สร้างขึ้น
อย่างไรก็ตาม การที่จะสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ได้มีปัจจัยภายนอกบางอย่างที่กระทบต่อกระบวนการสร้างวัฒนธรรมที่ดีของโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันทักษะทางวิชาการในแต่ละระดับ การประกวด การประเมินในด้านต่างๆ ที่มีอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่ดีในองค์กร ครูเน้นการแข่งขันมากกว่าการพัฒนาด้านทักษะ และสมรรถนะของผู้เรียน จนกระทั่งการจัดการศึกษา เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มุ่งเน้นฐานสมรรถนะ รวมไปถึง ว.PA ที่ได้มีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การประเมินจึงเกิดการขับเคลื่อน ครูหันกลับมาสนใจนักเรียน และกระบวนการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน รวมถึงผู้บริหารมุ่งเน้นที่คุณภาพของนักเรียนมากขึ้น ซึ่งถ้าหากมีการสนใจอย่างต่อเนื่องสิ่งนั้นจะกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ แต่ถ้าผู้บริหารไม่เข้าใจความหมายของวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ดี อาจทำให้เกิดมุมมองที่คลาดเคลื่อน (Misconception) ได้
ทั้งนี้ Learning Culture เกิดจากการเรียนรู้ (Learning) กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงความรู้ ความเชื่อ พฤติกรรม เจตคติ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ให้แก่ผู้เรียนแต่เป็นสิ่งที่ผู้เรียนลงมือทำให้แก่ตนเอง โดยคำว่า Learning จะใช้กับผู้เรียน สำหรับครูใช้คำว่า กระบวนการจัดการเรียนการสอน/กระบวนการจัดประสบการณ์ และสำหรับผู้บริหารใช้คำว่า กระบวนการบริหาร ซึ่งเป็นกระบวนการบริหารที่ทำให้ครูปรับ mindset ปรับความเชื่อ เปลี่ยนพฤติกรรม ปรับเจตคติ ฉะนั้น ถ้าสิ่งใดก็ตามที่ครูพยายามทำให้เด็กสิ่งนั้นไม่ใช่การเรียนรู้ (Learning) แต่ถ้าเด็กทำเองถึงจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ เช่นเดียวกับผู้บริหารที่พยายามทำให้ครูเปลี่ยน เช่น การออกคำสั่ง การบอก การมอบหมาย หรือการให้นโยบาย
การสร้าง Learning Culture จะเกิดขึ้นได้ยากเพราะครูไม่เกิดการเรียนรู้ ดังนั้น ถ้าหากอยากให้เกิด Learning Culture ในโรงเรียน ผู้บริหารจำต้องปรับวิธีคิดเชิงบริหาร การสั่งการ การใช้อำนาจเชิงบริหารจะต้องลดลง การลดตัวตนของผู้บริหาร การปรับกระบวนทัศน์ของผู้บริหารใหม่ การปรับประยุกต์โดยใช้กระบวนการ Active Learning 5 ขั้นตอน (การปรับ Mindset, Learning Resource, Coaching Material Job, Self-directed Learning และ Connection) การใช้ทักษะการสื่อสาร พูดคุย รวมไปถึงการเปลี่ยนกระบวนการที่ทำให้ครูได้คิด ได้สะท้อน ได้มีส่วนร่วม แลกเปลี่ยนความคิดร่วมกัน สิ่งเหล่านี้จะก่อให้เกิดกลไกสำคัญในการเกิด Learning Culture ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นได้
ทั้งนี้ ในการสร้าง Learning Culture ของผู้บริหารโรงเรียนยุคใหม่จะมีแนวทางวิธีการอย่างไร และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะส่งผลเช่นไร สามารถรับฟังประสบการณ์เพิ่มเติมได้ที่ www.starfishlabz.com หรือเพจ Facebook
รับชมย้อนหลังได้ที่ : www.facebook.com/watch/live/?ref=watch_permalink&v=733962547625039
ดร.ศุภโชค ปิยะสันต์ ผอ.โรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี จ.เชียงราย
ผอ.ไชยพร มะลิลา ผอ.โรงเรียนไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา จ.กาญจนบุรี
บทความใกล้เคียง
Starfish Teachers Hero Season 2 แท็กทีมครูมีไฟ หัวใจฮีโร่ ในยุค New Normal
รีวิว Starfish Class Website Version ตัวช่วยครูเรื่อง “การประเมินสมรรถนะ”
5 เคล็ดลับ การพัฒนาทักษะเด็กออทิสติก ทั้งทางร่างกายสู่ทางปัญญา
Related Courses
เจาะลึกสอบ TCAS
การสอบ TCAS ที่ควรรู้ในแต่ละปีเริ่มเตรียมตัวสอบกันด้วยประเด็นอะไร และสอบอะไร ลองมาดูกันว่ามีประเด็นไหนเกี่ยวกับการสอบ ...
Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.1-3
การที่เด็กอารมณ์ดี มีความร่าเริงแจ่มใสจะมีผลต่อพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น สมอง จิตใจ และร่างกาย แต่หากอารมณ์ไม่ ...
Social and cultural awareness classroom
ห้องเรียนความตระหนักรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นการออกแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างความตระหนักรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม ให้ผู้เ ...
Micro Learning เทคนิคการดูแลสุขภาพกายระดับชั้น ม.ต้น
วัยรุ่น หากมีร่างกายที่สมส่วนย่อมทำให้มีสุขภาพดี การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะส่งผลร่างกายแข็งแร ...