4 เทคนิค กู้คืนความจำ ดึงความรู้กลับคืนมา
ทักษะการเรียนรู้นอกจากเรื่องสมาธิ และความเข้าใจแล้ว ความสามารถที่จะนำความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปกลับมาใช้ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทักษะที่จำเป็น
ทักษะการเรียนรู้นอกจากเรื่องสมาธิ และความเข้าใจแล้ว ความสามารถที่จะนำความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปกลับมาใช้ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทักษะที่จำเป็น ซึ่งการดึงความรู้ที่เก็บเข้าลิ้นชักไปแล้ว ออกมาใช้เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมนี่เอง ที่สร้างความแตกต่างระหว่างคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต กับ คนที่เก่งแค่เพียงในห้องเรียน
เพราะแม้จะเข้าใจบทเรียนตามตำรา ทำข้อสอบตอบคำถามได้ แต่เมื่อถึงเวลาจำเป็นต้องนำความรู้เหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงกลับนึกไม่ออก จำไม่ได้ ก็เท่ากับว่าความรู้ที่ร่ำเรียนมาสูญเปล่าไม่เกิดประโยชน์อันใด
บทความนี้ Starfish LabZ ชวนพ่อแม่ผู้ปกครอง ทำความรู้จัก Retrieval Practice วิธีการเรียนที่จะช่วยให้ลูกดึงความรู้มาใช้ได้อย่างไร้ขีดจำกัด เพื่อกู้ความรู้ที่หล่นหาย ให้กลับมาเหมือนเดิม
Retrieval Practice คืออะไร?
Retrieval Practice คือวิธีการเรียนรู้ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถดึงความรู้ออกมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำว่า Retrieval แปลว่า การดึงความรู้ ส่วน Practice แปลว่า การฝึกฝน ปฏิบัติ เมื่อนำสองคำมารวมกัน จึงมีความหมายว่า วิธีปฏิบัติเพื่อดึงความรู้ออกมาใช้งาน นั่นเอง
อธิบายเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น Retrieval Practice เป็นการพยายามดึงข้อมูลความรู้ทั้งหมดที่เคยเรียนรู้ออกมาใช้ โดยไม่ต้องเปิดหนังสือ ค้นกูเกิ้ล หรือใช้ตัวช่วยใดๆ ยกตัวอย่างเช่น หากเคยเรียนเรื่องกายวิภาค โครงกระดูก เส้นเลือด ระบบต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ ฯลฯ ผู้เรียนฝึก ดึงความรู้ชุดนี้ได้โดยการพยายามนึกถึงชื่อเรียกเส้นเลือด ระบบต่างๆ โดยไม่เปิดหนังสือ เมื่อลิสต์สิ่งที่จำได้ออกมา ก็ลองมาเปรียบเทียบดูว่า เราดึงความรู้ออกมาถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจคิดว่า นี่เป็นเรื่องที่รู้อยู่แล้ว นักเรียนหลายคนก็ใช้วิธีนี้ในการจดจำข้อมูล จริงอยู่ว่าวิธีนี้อาจมีหลายคนเคยใช้มาแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า ผลการวิจัยล่าสุดในต่างประเทศพบว่า Retrieval Practice เป็นวิธีการเรียนที่ทำให้ความจำระยะยาว เปลี่ยนเป็นความจำใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
โดยในการทดลองนี้ ครูจะให้นักเรียนทำควิซทันทีหลังจากที่สอนจบ โดยควิซนั้นไม่ได้มีผลต่อผลการเรียนแต่อย่างใด หลังจากทำเช่นนี้จนครบเทอม พบว่าเมื่อถึงเวลาสอบจริงๆ นักเรียนทำคะแนนได้ดีกว่าการเรียนการสอนปกติที่ไม่มีควิซ หรือใช้การทบทวนวิธีอื่น เช่น อ่าน หรือ ทำแบบฝึกหัดทบทวน
ประโยชน์ของ Retrieval Practice
การเรียนรู้ยุคใหม่ โดยเฉพาะในช่วงที่เพิ่งผ่านพ้นการเรียนออนไลน์ หากพ่อแม่ผู้ปกครองช่วยฝึกให้ลูกมีทักษะการดึงความรู้มาใช้ได้ประโยชน์หลายประการ คือ
- ป้องกันภาวะการเรียนรู้ถดถอย : วิกฤติโรคระบาด หรือกระทั่งช่วงปิดเทอมที่เด็กๆ ไม่ได้ไปโรงเรียน ผู้ใหญ่มักมีคำพูดว่าเด็กๆ นำความรู้คืนคุณครูไปหมดแล้ว แต่หากหมั่นใช้วิธี Retrieval Practice ความรู้ที่เรียนที่ถูกเก็บไว้เป็นความจำระยะยาว จะสามารถเปลี่ยนเป็นความจำใช้งานเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมได้ แม้ว่าการเรียนรู้นั้นจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ตาม
- ประหยัดเวลา : Retrieval Practice ช่วยให้ผู้เรียนทบทวนบทเรียนได้รวดเร็วแต่ได้ประสิทธิภาพมากกว่าการอ่านหนังสือที่ต้องใช้เวลานาน
- ทำได้ทุกที่ : เพราะ Retrieval Practice เป็นวิธีการทบทวนบทเรียนที่ไม่ต้องใช้หนังสือ ไม่ต้องค้นข้อมูล แต่เป็นการเรียกคืนความเข้าใจจากสมองของเราเอง ดังนั้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน กำลังทำอะไร เราก็สามารถทบทวนความรู้ได้ เช่น ขณะอยู่บนรถ รอคิวพบแพทย์ ฯลฯ อาจพูดทบทวนกับตัวเอง หรือเขียนสิ่งที่จำได้ออกมาเพื่อทบทวน
Retrieval Practice ฝึกได้อย่างไร มีวิธีใดบ้าง
มาถึงบรรทัดนี้ คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองคงอยากรู้แล้วใช่ไหมคะว่า Retrieval Practice จะใช้อย่างไร มีวิธีใดบ้าง จะว่าไปแล้ว การฝึกใช้ Retrieval Practice ไม่ใช่เรื่องยาก และอาจเป็นเรื่องที่หลายคนทำอยู่แล้ว แต่คิดไม่ถึงว่าประสิทธิภาพของมันจะมากมายเพียงนี้ Starfish Labz มี 4 วิธีฝึกดึงความรู้ (Retrieval Practice)ให้คุณพ่อคุณแม่ลองนำไปใช้เสริมพัฒนาการลูกได้ง่ายๆ ที่บ้าน ดังต่อไปนี้ค่ะ
1. Brain Dumps จัดระเบียบความคิด : หลังจากเรียนรู้หรืออ่านหนังสือไปได้ระยะหนึ่ง หยุดทุกอย่าง ปิดหนังสือ และใช้เวลาสัก 2-3 นาที เขียนสิ่งที่อยู่ในหัวออกมาให้หมด ไม่ว่าจะเป็นคำศัพท์ใหม่ที่เพิ่งเรียน คีย์เวิร์ดต่างๆ เขียนทุกอย่างที่จำได้ออกมา หากพอมีเวลาเหลือ อาจค่อยๆ เชื่อมโยงสิ่งที่เขียนว่าเกี่ยวข้องกันยังไง หรืออาจทำในรูปของ Mind Map ก็ได้
2. Talk it out พูดออกมา : วิธีนี้ต่างจากการจัดระเบียบความคิด เหมาะสำหรับผู้ที่เรียนรู้ได้ดีผ่านการฟัง วิธีทำได้ง่ายๆ เพียงพูดทุกสิ่งที่เรียนรู้ออกมาให้หมดเท่าที่จำได้ เช่น หลังจากอ่านหนังสือจบหนึ่งบท ก็ปิดหนังสือและพูดสิ่งที่อ่านไปแล้วออกมา แต่หากอยู่ในที่สาธารณะไม่สะดวกที่จะพูดออกเสียง ก็อาจทบทวนในใจแทนก็ได้เช่นกัน
3. Think, Pair, Share คิด จับคู่ แบ่งปัน : วิธีนี้เป็นการผสมผสานสองวิธีแรกเข้าด้วยกัน กล่าวคือ หลังจากเรียนจบ หรือทบทวนบทเรียนแล้ว ให้แต่ละคนคิดและเขียนสิ่งที่ได้เรียนรู้ออกมาให้หมด หลังจากนั้นจับคู่กับเพื่อน แล้วเปรียบเทียบสิ่งที่แต่ละคนเขียนว่าเหมือนหรือต่างอย่างไร ผลัดกันพูดอธิบายสิ่งที่เขียนออกมา เหมือนกับการติวให้อีกฝ่าย ช่วยให้จดจำได้ดีขึ้น
4. Flashcard : วิธีการใช้แฟลชการ์ดเพื่อกู้ความรู้ได้ดีที่สุดคือ เขียนหัวข้อที่เคยเรียนรู้มาไว้ที่ด้านหนึ่งของการ์ด พยายามนึกคำอธิบายหัวข้อนั้นๆ แล้วจดไว้ในกระดาษโดยไม่ต้องเปิดหนังสือดู เมื่อเสร็จแล้วจึงคอยตรวจคำตอบในหนังสือ หากถูกต้อง จึงค่อยเขียนลงไปอีกด้านหนึ่งของการ์ดที่เขียนหัวข้อไว้ก่อนหน้า หนังจากนั้นจึงหมั่นทบทวนบ่อยๆ ด้วยการสุ่มหยิบหัวข้อขึ้นมา และพูดอธิบายหัวข้อนั้นๆ โดยยังไม่พลิกอีกด้าน
คำแนะนำสุดท้ายสำหรับการใช้ Retrieval Practice ก็คือ เริ่มต้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่น เขียนหรือพูดสิ่งที่เรียนรู้ออกมา 1-2 เรื่องก่อน อย่ากดดันตัวเองว่าต้องจดให้ได้ครบถ้วนในคราวเดียว อาจค่อยๆ ฝึกฝนให้ใช้ทักษะนี้อย่างเป็นธรรมชาติ เช่น ทบทวนในใจขณะยืนต่อคิวรอซื้ออาหาร ทำให้การทบทวนโดยไม่ต้องใช้หนังสือ กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันก็จะทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
แหล่งอ้างอิง (Sources):
บทความใกล้เคียง
Related Courses
Peer Learning วิธีฟื้นฟู Learning Loss
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับ Peer Learning คืออะไร 5 รูปแบบของกิจกรรม Peer to Peer Learning ตัวอย่างก ...
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ต้องใช้ 100 เหรียญ
Social and cultural awareness classroom
ห้องเรียนความตระหนักรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นการออกแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างความตระหนักรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม ให้ผู้เ ...
การพัฒนาทักษะการเขียน
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการสอนเขียนสำหรับผู้เรียนประถมศึกษา ระดับชั้น ป.1- ป.6 โดยได้ยกตัวอย่างปัญหาการเขียนข ...