การวิเคราะห์ผลที่เกิดจากการนำนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการศึกษา

Starfish Academy
Starfish Academy 621 views • 2 ปีที่แล้ว
การวิเคราะห์ผลที่เกิดจากการนำนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการศึกษา

กิจกรรม PLC Teacher ครั้งที่ 6 โครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง 

รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ต่อเนื่องในปี 2564 

หัวข้อ “การวิเคราะห์ผลที่เกิดจากการนำนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการศึกษา”

กิจกรรม PLC Teacher ครั้งที่ 6 เป็นการพูดคุย แลกเปลี่ยนร่วมกันในหัวข้อ การวิเคราะห์ผลที่เกิดจาก การนำนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการศึกษา และจากการที่โรงเรียนได้มีการคิดค้นนวัตกรรมมาใช้ในโรงเรียน โดยในปี 2564 ได้มีเป้าหมายรองเพิ่มเติม 3 ด้าน เพื่อให้โรงเรียนได้เลือกใช้ในการพัฒนาหรือสร้างนวัตกรรม คือ การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ (CBE) การพัฒนาสุขภาวะขั้นพื้นฐานของผู้เรียน (Well-being) และการลดความถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียน (Learning Loss) 

ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา โรงเรียนได้นำนวัตกรรมไปใช้ และดำเนินการวัดและประเมินผลนวัตกรรมผ่านกระบวนการ Lesson Study และกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการแบ่งปันประสบการณ์จากครูต้นเรื่องทั้ง 3 โรงเรียนในการนำนวัตกรรมของโรงเรียนไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ผลที่นำนวัตกรรมไปใช้และการต่อยอดให้สามารถนำไปใช้ได้อย่างต่อเนื่องได้อย่างไร เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โรงเรียนที่ 1 - โรงเรียนเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ เป็นโรงเรียนประจำหญิงล้วนและไป-กลับ จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 เป็นนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ นวัตกรรมของโรงเรียน คือ กิจกรรมเราชนะเหา เนื่องจากเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนของนักเรียน โรงเรียนจึงคิดหาวิธีการกำจัดเหา โดยให้ครูประจำชั้นทุกคนคิดนำสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นมาทดลองหมักเหาให้กับนักเรียน ซึ่งกิจกรรมจะทำอาทิตย์ละ 1 ครั้ง 3 ชั่วโมง 

โดยการทำน้ำยาหมักและทำการหมักเหา ทั้งนี้ ในการทำกิจกรรมได้มีการใช้สมุนไพรที่แตกต่างกันในแต่ละชั้น ซึ่งครูได้ใช้กระบวนการ STEAM Design Process ร่วมกับนักเรียนในการเลือกใช้สมุนไพร เช่น สะเดา น้อยหน่า สาระแหน่ ยาสูบ ใบยอ และขี้เหล็ก เป็นต้น 

จากการทดลองครั้งที่ 1 -2 พบว่า ในการหมักแม่เหาตาย บางส่วนยังมีไข่อยู่ สมุนไพรที่ใช้หมักและได้ผลดีกว่าสมุนไพรชนิดอื่น คือ ใบน้อยหน่า แต่ยังพบปัญหา คือ น้ำยาหมักเหาไม่เข้มข้น จึงได้มีการทำ PLC ร่วมกันของครูเพื่อหาแนวทางพัฒนาและได้ข้อสรุปโดยการเพิ่มปริมาณสมุนไพรทำน้ำยาหมักที่เข้มข้นมากขึ้น เพิ่มการหวีเหาหลังสระผมแต่ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร จึงได้เชิญปราชญ์ชาวบ้านมาให้คำแนะนำกับครูในการใช้วัตถุดิบอื่นๆ ในการหมักน้ำยา คือ เหล้าขาวและน้ำส้มสายชู หลังจากนั้น จึงได้แบ่งการทำกิจกรรมออกเป็น 2 ช่วงชั้น โดยช่วงชั้นที่ 1 จะใช้สมุนไพรสะเดา สาระแหน่ น้อยหน่าและเหล้าขาว ช่วงชั้นที่ 2 ใช้สมุนไพรยาสูบ ใบยอ สะเดา น้อยหน่า และน้ำส้มสายชู จากการทดลองครั้ง 3-4 พบว่า แม่เหาตาย บางส่วนยังมีไข่ลีบอยู่ จึงได้ให้นักเรียนช่วยกันนำไข่ลีบออกและรักษาสุขอนามัยโดยการทำความสะอาดชุดเครื่องนอน 

สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินนวัตกรรม ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในชั้นเรียนก่อน-หลัง การทำ PLC การหา Effect Size และการใช้เครื่องมือ Starfish Class ในการประเมินคุณลักษณะของนักเรียน จากการประเมินหลังการทำกิจกรรม พบว่า เด็กมีสุขภาวะที่ดีขึ้น สำหรับแนวทางการพัฒนา โรงเรียนได้ขอความร่วมมือกับผู้ปกครองโดยการนำสูตรที่ได้ไปเผยแพร่ให้ผู้ปกครองใช้หมักเหาให้กับนักเรียนที่บ้านอีกด้วย และมีแนวความคิดในการพัฒนาต่อยอดสู่การทำผลิตภัณฑ์กำจัดเหาเพื่อนำไปแจกจ่ายชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย

โรงเรียนที่ 2 - โรงเรียนอนุบาลวังดิน นวัตกรรมของโรงเรียนเป้าหมายหลัก คือ การใช้กระบวนการ STEAM Design Process สำหรับเป้าหมายรอง คือ การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ซึ่งในปีแรกที่โรงเรียนเข้าร่วมโครงการได้ดำเนินการใช้กิจกรรม Makerspace โดยใช้กระบวนการ STEAM Design Process สำหรับนักเรียนระดับชั้น ป.4-6 ในกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ พบว่า นักเรียนมีความสนุกในการเรียน การตั้งคำถาม การหาคำตอบร่วมกัน 

ในปีที่สอง โรงเรียนเริ่มบูรณาการวิชาหลัก และขยายผลในระดับชั้นป.1-3 แต่เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 โรงเรียนจึงได้ดำเนินการโดยการใช้ STEAM Learning Box จัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ในระดับชั้นอนุบาล พบว่า นักเรียนมีความสนุกในการเรียน และเป็นปีที่โรงเรียนได้ขยายผลกับโรงเรียนบ้านแม่เมยและโรงเรียนบ้านดอยแก้ว และในปีที่สาม โรงเรียนได้มีการพัฒนาการวัดและประเมินผล โดยผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้สร้างตารางวัดและประเมินคุณภาพนวัตกรรมต่างๆ ในการจัดการเรียนรู้โดยรวมของโรงเรียน ทั้งนี้ โรงเรียนได้เน้นการมีส่วนร่วมของทุกคนในการขับเคลื่อนและทำการขยายผลไปยังหน่วยงานภายนอก 

ในส่วนของนวัตกรรม โรงเรียนได้นำเอาหลักสูตรฐานสมรรถนะมาร่วมกับกระบวนการ STEAM Design Process และการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับครูในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ Active Learning ร่วมกับ STEAM Design Process และฐานสมรรถนะ สำหรับเครื่องมือใช้ในการประเมินนวัตกรรม เป็นการวัดประเมินผลตามแต่ละธรรมชาติของรายวิชานั้นๆ ซึ่งผลที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม พบว่า มีแนวโน้มทางบวก เนื่องจากกระบวนการ STEAM Design Process เน้นให้นักเรียนได้มีความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา และฐานสมรรถนะที่เน้นกระบวนการพัฒนาทักษะชีวิต สำหรับปัญหาที่พบ คือ หลักสูตรฐานสมรรถนะเป็นหลักสูตรที่ไม่มีตัวชี้วัดที่เป็นสากล ซึ่งจะเป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการสอนของโรงเรียนต่อไป 

โรงเรียนที่ 3 – โรงเรียนวัดสันกลางเหนือ ได้พัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะด้วยกระบวนการ STEAM Design Process ในการจัดการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระระดับชั้นประถมศึกษา สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลการใช้นวัตกรรม ได้แก่ แบบประเมินชิ้นงาน แบบันทึกการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบสัมภาษณ์ การประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติ แบบสอบถาม แบบฝึกหัด และแบบทดสอบ ทั้งนี้ โรงเรียนได้มีกระบวนการนิเทศภายในแบบ HYBRID Supervision Model เช่น การนิเทศแบบร่วมพัฒนา (ผอ.และครู) การนิเทศแบบคู่สัญญา (ครูและครู) การนิเทศโดยใช้กระบวนการ PLC และการประชุมนิเทศประจำเดือน 

สำหรับผลที่ได้จากการใช้นวัตกรรม พบว่า โรงเรียนมีนวัตกรรม เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ภายใต้อัตลักษณ์โรงเรียน “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ทักษะอาชีพ”ด้านครู มีส่วนร่วมในกิจกรรม PLC เพื่อการพัฒนานวัตกรรมฐานสมรรถนะ ด้วยกระบวนการออกแบบและพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study) และมีแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในรายวิชาของตนเอง ด้านนักเรียน ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะสำคัญด้านต่างๆ ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทำให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข และด้านชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการประเมินผลการจัดการเรียนการสอน และได้เป็นผู้ดูแล เอาใจใส่นักเรียนในขณะที่เรียนออนไลน์ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนและชุมชน ทั้งนี้ สำหรับการต่อยอดในอนาคต โรงเรียนจะดำเนินการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการ STEAM Design Process ทั้งกระบวนการเรียนรู้ และมีแนวโน้มขยายในระดับชั้นอนุบาล เพื่อเป็นการปูพื้นฐานทักษะการคิด และต่อยอดสู่ในระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป

ครูลักขณาวดี กันตรี โรงเรียนเจ้าฟ้าอุบลรัตน์

ครูวรรณ์นิษฐา พื้นผา โรงเรียนอนุบาลวังดิน

ครูนฤชล แก้วคำมา โรงเรียนวัดสันกลางเหนือ

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...

Starfish Academy
Starfish Academy
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
Starfish Academy

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

Starfish Academy
6904 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนภาษาไทย (3R)

การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนภาษาไทย (3R)
Starfish Academy

การสอนภาษาไทย (3R)

Starfish Academy
2731 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
Starfish Academy

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

Starfish Academy
2709 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

Starfish Academy
1026 ผู้เรียน

Related Videos

Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
83 views • 3 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนบ้านนามน | โรงเรียนบ้านเวียงแหง
18:12
Starfish Academy

โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนบ้านนามน | โรงเรียนบ้านเวียงแหง

Starfish Academy
679 views • 2 ปีที่แล้ว
โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนบ้านนามน | โรงเรียนบ้านเวียงแหง
TQSP Kicf Off แนวทางการพัฒนานวัตกรรม
05:59
Starfish Academy

TQSP Kicf Off แนวทางการพัฒนานวัตกรรม

Starfish Academy
344 views • 2 ปีที่แล้ว
TQSP Kicf Off แนวทางการพัฒนานวัตกรรม
โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก
15:04
Starfish Academy

โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก

Starfish Academy
616 views • 2 ปีที่แล้ว
โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก