5 เครื่องมือการตั้งเป้าหมาย วางแผนสำหรับเทอมใหม่ !
1. SWOT Analysis
เป็นการทบทวนจุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weakness) โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) ที่จะส่งผลต่อเป้าหมายและกลยุทธ์ที่วางไว้ วิธีการใช้ก็อาจจะแตกต่างกันแล้วแต่องค์กรหรือโรงเรียน แต่หัวใจหลัก ๆ ก็คือการชวนทุกคนในทีมมาพูดคุย และวิเคราะห์โรงเรียนตาม 4 ปัจจัย และที่สำคัญ คือการสร้างพื้นที่พูดคุยบนพื้นฐานของความไว้ใจ เปิดใจ และปลอดภัยที่จะแสดงความคิดเห็นต่อกัน
อ่านวิธีการใช้เพิ่มเติม https://www.mindtools.com/pages/article/newTMC_05.htm#:~:text=SWOT%20stands%20for%20Strengths%2C%20Weaknesses,successful%20strategy%20for%20the%20future.
2. S.M.A.R.T Goals
เป็นการตั้งเป้าหมายที่วัดผลได้ และเป็นวิธีการสากลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในหลากหลายวงการ ซึ่ง S.M.A.R.T Goal ประกอบไปด้วย
#1 Specific ความเจาะจง เช่น อยากที่จะทำอะไรให้สำเร็จ / ทำไมเป้าหมายนี้ถึงมีความสำคัญ / ใครจะเข้ามามีส่วนร่วมบ้าง / พื้นที่ในการทำงานอยู่ที่ไหน / เราต้องการใช้ทรัพยากรใดเพิ่ม หรือข้อจำกัดเราอยู่ที่ไหน (ในส่วนของ Specific ใช้เทคนิคการตั้งคำถามแบบ 5WH Questions ก็ได้)
#2 Measurable สามารวัดผลได้ มีหลักฐานแสดงชัดเจน เช่น เด็กจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นกี่คน / กี่เปอร์เซนต์ / เราจะรู้ได้ยังไงว่าเด็กมีพัฒนาการ
#3 Achievable เป็นไปได้ สมเหตุสมผล ภายใต้เวลาและทรัพยากรที่มี ข้อนี้ให้นึกถึงความเป็นจริง และความเป็นไปได้เป็นหลักในการลงมือทำ
#4 Relevant สอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการในระยะยาว ถ้าสิ่งที่ทำมีคุณค่า และสอดคล้องมากพอ ให้ลองถามคำเหล่านี้ดูก่อน 1.สิ่งที่ทำคุ้มค่าใช่ไหม 2.จำเป็นต้องทำในเวลานี้หรือเปล่า 3.สิ่งที่ทำเหมาะสมกับทรัพยากรที่เรามีอยู่ตอนนี้ไหม 4.เราต้องการเป้าหมายนี้จริง ๆ หรอ 5.สิ่งที่เราจะทำเหมาะสมและเข้ากับบริบทสังคมตอนนี้หรือเปล่า?
#5 Time-bound ระยะเวลาที่มีจำกัด เช่น เป้าหมายนี้จะเสร็จเมื่อไหร่ / อีก 6 เดือนเราจะต้องทำอะไรบ้าง / วันนี้จะต้องเริ่มทำอะไร เป็นต้น
อ่านวิธีการใช้เพิ่มเติมได้ที่ https://www.mindtools.com/pages/article/smart-goals.htm
3. Backward Goal
คือการเริ่มต้นคิดจากเป้าหมายใหญ่ และไกลมากที่สุดก่อน แล้วค่อย ๆ คิดย้อนกลับมาทีละขั้นตอนจนถึงจุดที่เราจะต้องทำ
ขั้นที่ 1 : เริ่มคิดใหญ่ คิดกว้าง และคิดไกลเข้าไว้ และเลือกมา 1 เป้าหมายที่อยากทำมากที่สุด เพื่อให้ทีมมี Focus
ขั้นที่ 2 : ย่อยเป้าหมายใหญ่ให้เป็นเป้าหมายเล็ก ๆ และง่ายต่อการลงมือทำ ตอนนี้อาจจะแยกเป็นแผนของแต่ละฝ่ายงานก็ได้
ขั้นที่ 3 : นำเป้าหมายย่อยมาคิดร่วมกับกลุ่มเป้าหมายหลักของเรา ยกตัวอย่างเช่น เป้าหมายนี้เมื่อนำไปใช้กับนักเรียนชั้นอนุบาล / ประถมศึกษา/มัธยม จะต้องทำอย่างไร
ขั้นที่ 4 : สร้าง action plan ในการลงมือทำ โดยให้ระบุเป็น checklist โดย 1 checklist มีแค่ 1 action เท่านั้น เพราะถ้าหากเราทำสำเร็จในทุก ๆ checklist เราจะสามารถสร้างแรงผลักดันในการลงมือทำต่อไปเรื่อย ๆ ได้
อ่านวิธีการใช้เพิ่มเติมได้ที่ https://www.thebalancesmb.com/how-to-set-achievable-goals-with-backward-goal-setting-2951823
4. One-Word Goal Setting
คือการเลือก 1 คำ ที่เราจะโฟกัส เพื่อทำให้สำเร็จ
ขั้นที่ 1 : การที่จะเลือก 1 คำได้ ทีมต้องมานั่งคิดสะท้อนการทำงานที่ผ่านกันก่อนว่า เราอยากที่จะทำอะไรให้เกิดขึ้นในปีหน้า / พวกเราต้องการอะไรในปีหน้า
ขั้นที่ 2 : ระดมความคิดกัน อาจจะใช้เวลาตรงนี้ให้นานขึ้นในการคิดถึงคำต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ในสิ่งที่อยากเห็น ยกตัวอย่างเช่น อยากที่จะโฟกัสเรื่องการทำให้จำนวนลูกค้าเติบโตขึ้นภายในปีหน้า และอยากที่จะสร้างความสัมพันธ์ โดยที่ผลสุดท้ายคือ เพิ่มความจงรักภักดีกับลูกค้า และพูดถึงเรากันปากต่อปาก จะเห็นได้ว่ามีหลายคำที่เกิดขึ้นในประโยค เช่น จงรักภักดี/ ปากต่อปาก /ความสัมพันธ์/ ลูกค้า
ขั้นที่ 3 : เลือก 1 คำ ที่คิดว่าเป็นคำที่สำคัญและมีความหมายมากที่สุด เช่น ‘จงรักภักดี’ ที่เราคาดหวังอยากจะเห็นมากที่สุด และทั้งองค์กรควรจะพูดคำนี้ซ้ำ ๆ เพื่อให้เกิดการจดจำถึงที่อยากทำให้สำเร็จ
และหลังจากนี้ ไม่ว่าจะตัดสินใจทำอะไร เราจะพิจารณาว่าเราเข้าใกล้คำที่เราเลือกไว้หรือยัง ซึ่งบางคนบอกว่าวิธีนี้มีประโยชน์มาก และติดคำเหล่านี้ในที่ๆ มองเห็นได้ง่าย
ซึ่งหลังจากนั้น เราอาจจะชวนทีมมาทำแผนจากคำที่เราเลือกไว้ และให้แต่ละคนเลือกคำที่ตัวเองอยากที่จะโฟกัสในแผนงานของตัวเองก็ได้ด้วยเช่นกัน
อ่านวิธีการใช้เพิ่มเติม https://www.thebalancesmb.com/how-to-set-business-goals-with-just-one-word-2951849
5. เครื่องมือตั้งเป้าหมาย OGSM
เป็นเฟรมเวิร์คในการตั้งเป้าหมายที่ทำให้เห็นภาพชัดมากขึ้น โดย
O = Objective ตั้งวัตถุประสงค์ที่เชื่อมกับวิสัยทัศน์ขององค์กร
G = Goals วางขั้นตอนที่จะเข้าใกล้วัถตุประสงค์นั้น ๆ จะต้องวัดได้ เจาะจง และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
S = Strategies ระบุทางเลือกที่จะทำให้เราไปถึงวัตถุประสงค์
M = Measures การติดตามผลการทำงานว่าสำเร็จหรือไม่อย่างไร
อ่านวิธีใช้เพิ่มเติม https://www.smartinsights.com/marketing-planning/marketing-models/ogsm-model-framework/
บทความใกล้เคียง
แชร์ TIP เขียน วPA จากโรงเรียนนำร่อง
มัดรวมข้อมูลสำคัญ ว.PA สำหรับศึกษานิเทศก์
มัดรวมข้อมูลสำคัญ วPA สำหรับผู้บริหาร
Related Courses
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
สอนคณิตศาสตร์ อย่างไรให้ทรงพลังตามเกณฑ์ วPA
ตัวชี้วัดระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติ ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภา ...
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...