โครงการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาครูและโรงเรียน เพื่อยกระดับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (TSQP 2)

Starfish Academy
Starfish Academy 1323 views • 2 ปีที่แล้ว
โครงการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาครูและโรงเรียน เพื่อยกระดับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (TSQP 2)

โครงการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาครู และโรงเรียนเพื่อยกระดับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (TSQP 2) หรือ “โรงเรียนพัฒนาตนเอง” ของ กสศ. โดยมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชฯ เป็นโครงการพัฒนาต่อเนื่องจากโครงการ TSQP 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คำปรึกษาเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียน และสังเคราะห์ผลการเปลี่ยนแปลงจาก Report card เพื่อให้คำแนะนำแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในการยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องตามเป้าหมายที่กำหนด ทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ 

1) ระดับผู้เรียน เช่น ความเป็นเจ้าของการเรียนรู้ พฤติกรรม และผลการเรียนรู้ 

2) ระดับห้องเรียน เช่น การวางแผนออกแบบการเรียนรู้ การจัดกระบวนการเรียนรู้ การประเมินผล และการสะท้อนผล 

3) ระดับโรงเรียน เช่น สมรรถนะครู สภาพแวดล้อม บรรยากาศ ทุนทางสังคม ภาวะผู้นำของผอ. ความเพียงพอของทรัพยากร และหลักสูตรการประเมิน เป็นต้น 

ทั้งนี้ คณะวิจัยได้ดำเนินการพัฒนาแผนการเก็บข้อมูล โดยร่วมแลกเปลี่ยนกับทีม Starfish ในการพัฒนาเครื่องมือแบบสำรวจออนไลน์ (Survey Sparrow) พร้อมคลิปแนะนำการกรอกแบบสอบถาม สำหรับการเก็บข้อมูล Baseline (ภาพรวมสภาพพื้นฐานโรงเรียนที่เข้าร่วม) และข้อมูล Change result 

(ภาพการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียน) ทั้ง 31 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ TSQP ครั้งที่ 1 พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพ Report card ด้วยวิธีการเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์จากทีม Coach พร้อมทั้งจัดทำคู่มือการแปลผล และสังเคราะห์ผลด้วยข้อมูลเชิงลึกจากทีม Coach เป็นรูปแบบ Report card เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาโครงการต่อไป

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจมีความสอดคล้องกับการศึกษาการเปลี่ยนแปลงตามองค์ประกอบของโรงเรียน และกรอบการพัฒนาโรงเรียนของมูลนิธิสตาร์ฟิช ประกอบด้วย ด้านการบริหารโรงเรียน ด้านการสอน (หลักสูตร การประเมิน รูปแบบ การสอน และการพัฒนาวิชาชีพ) และด้านการเรียนรู้ (กระบวนการ STEAM Design Process) ลักษณะคำถามในแบบสำรวจมี 5 แบบ คือ Rating Scale, Multiple Choice, Checklist, Matrix และ Text ซึ่งใช้ระยะเวลาในการดำเนินการเก็บข้อมูล 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 ช่วงเปิดภาคเรียนเป็นการเก็บข้อมูล Baseline (ภาพรวมสภาพพื้นฐานโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ) และครั้งที่ 2 ประมาณเดือนเม.ย. เป็นการเก็บข้อมูล Change (ภาพการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียน) 

จากการดำเนินโครงการการพัฒนาครู และโรงเรียนเพื่อยกระดับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (TSQP 2) พบว่า 

1. ข้อมูล Baseline (ภาพรวมสภาพพื้นฐานโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ) จะเห็นได้ว่า เป้าหมายของโรงเรียนด้านตอบความต้องการของชุมชน ครูและผอ.ได้ให้ความสำคัญสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านการเพิ่มคะแนนสอบ O-Net, NT และด้านอัตลักษณ์ วิสัยทัศน์ เป้าหมายของโรงเรียน (School Concept) ส่วนด้านการตอบสนองนโยบายโครงการ และการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ยังไม่เป็นเป้าหมายในแผนปฏิบัติการ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนควรเป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนานักเรียนตามการสอนแบบ STEAM Design Process

2. ข้อมูล Change result (ภาพการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียน) พบว่า หลังเข้าร่วมโครงการมีพัฒนาการดีขึ้นรอบด้าน ดังนี้

  • 2.1 สมรรถนะผอ. เพิ่มขึ้นสูงสุด 3 ด้าน คือ ด้านการบริการแผนงาน ทำกลยุทธ์ เป้าหมายที่เหมาะสม School Concept การติดตามการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ และการส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมกับการเรียนรู้
  • 2.2 สมรรถนะครู ได้แก่ ด้านความรู้ ความเข้าใจ STEAM Design Process การนำ STEAM Design Processไปใช้ในวิชาหลัก และการใช้เทคโนโลยีช่วยประเมินนักเรียน Class dojo Starfish Class ทั้งนี้ ด้านที่ชำนาญน้อยที่สุดในการเก็บข้อมูลครั้งที่ 1 เป็นด้านที่เพิ่มขึ้นสูงที่สุดหลังจบโครงการ
  • 2.3 ทักษะเด็ก ผลที่เกิดขึ้นดีกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ถึง 3 ทักษะ คือ การรู้จักตนเอง ทักษะสื่อสารและเทคโนโลยี และการทำงานร่วมกันเป็นทีมและภาวะผู้นำ ส่วนด้านอื่นๆ เกิดผลน้อยกว่าค่าเป้าหมายส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาโควิดที่ทำให้มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอน
  • 2.4  การจัดกิจกรรม PLC ก่อนเข้าร่วมโครงการมีการจัดเดือนละครั้ง ครูมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการพูดถึงด้านวิชาการและการแก้ปัญหาแบบเป็นรูปธรรมน้อย หลังเข้าร่วมโครงการ มีการกำหนดหัวข้อ PLC ล่วงหน้ามากขึ้น แต่การมอบหมาย ติดตามงานน้อยลง และความถี่ในการ PLC ของโรงเรียนเท่าเดิม
  • 2.5  กระบวนการ STEAM Design Process ก่อนเข้าร่วมโครงการ ครูมองว่าเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะการ Create หลังจากเข้าร่วมโครงการพบว่า 23 โรงเรียนถูกใช้แบบบูรณาการ 8 โรงเรียนนำไปใช้ในวิชาหลัก และ 60% ทำทุกกิจกรรม โดยกิจกรรมที่ทำทุกคาบเรียนมากกว่าครึ่ง เช่น การรับฟังและให้ความสนใจความคิดนักเรียน สังเกตความสนใจและความถนัดของนักเรียน และการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นนักเรียนให้คิดและอยากเรียนรู้
  • 2.6  ทรัพยากรเพียงพอขึ้นในทุกด้าน โดยเฉพาะวัสดุและห้องสำหรับ Maker Space

สรุปได้ว่า จากข้อมูลทั้ง 2 ครั้ง โรงเรียนในโครงการมีพัฒนาการที่ดีขึ้นหลายด้าน แต่ยังมีอุปสรรคด้านการใช้นวัตกรรมและยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาเด็กที่ชัดเจน สำหรับข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ด้านการบริหารงบประมาณ เพิ่มการอบรมด้านงบประมาณ (เพิ่มตัวอย่างจากการถอดบทเรียนโรงเรียนที่ใช้นวัตกรรม) เพิ่มบทบาทการให้คำแนะนำของทีมโค้ชสตาร์ฟิช การนำเครื่องมือ Formative Assessment (FA) มาพัฒนา “ชุดคำถามการประเมินทักษะเด็ก” ให้ละเอียดขึ้น เพราะมีการมุ่งเน้นรายละเอียดไปที่พฤติกรรมบ่งชี้ของทักษะที่สนใจ และการนำ Dashboard ไปใช้ในกระบวนการ PLC กับโรงเรียนทำให้โรงเรียนเห็นข้อมูลและสามารถนำไปพัฒนาต่อได้

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

การติดตาม ปรับปรุง และผลการสะท้อนกลับ

การติดตามเพื่อพัฒนา ประเมินความก้าวหน้า และสะท้อนผลที่เกิดขึ้นรวมกัน เป็นการกำหนดวิธีในการติดตามผลจากการจัดกิจกรรมการ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การติดตาม ปรับปรุง และผลการสะท้อนกลับ
Starfish Academy

การติดตาม ปรับปรุง และผลการสะท้อนกลับ

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านความสัมพันธ์
basic
2:00 ชั่วโมง

Micro Learning - เครื่องมือประเมินผู้เรียน

เครื่องมือครูในการประเมินผู้เรียนประกอบไปด้วย แอปพลิเคชัน 4 แอปพลิเคชัน คือ Kahoot Plicker , Quizzes , และ Cla ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning - เครื่องมือประเมินผู้เรียน
Starfish Academy

Micro Learning - เครื่องมือประเมินผู้เรียน

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

เทคนิคและวิธีการสอนสมัยใหม่

การใช้คำถาม เครื่องมือ การนำเสนอ ที่แปลกใหม่ น่าสนใจ มีส่วนสำคัญในการสร้างห้องเรียนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม เรียนรู้วิธีการถาม กา ...

Starfish Academy
Starfish Academy
เทคนิคและวิธีการสอนสมัยใหม่
Starfish Academy

เทคนิคและวิธีการสอนสมัยใหม่

Starfish Academy
14754 ผู้เรียน
การบริหารสถานศึกษายุคใหม่
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)

เรียนรู้ผลกระทบของ Learning Loss ที่ส่งกระทบถึงผู้เรียน ในภาพรวมของประเทศเพื่อฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้ 5ม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)
Starfish Academy

การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)

Starfish Academy
4370 ผู้เรียน

Related Videos

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
04:37
Starfish Future Labz

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21

Starfish Future Labz
13006 views • 3 ปีที่แล้ว
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ บนสมาร์ทโฟน
06:40
Starfish Academy

ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ บนสมาร์ทโฟน

Starfish Academy
522 views • 2 ปีที่แล้ว
ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ บนสมาร์ทโฟน
3 ขั้นตอนอ่านออก เขียนได้ สไตล์ปลาดาว
04:12
Starfish Academy

3 ขั้นตอนอ่านออก เขียนได้ สไตล์ปลาดาว

Starfish Academy
481 views • 3 ปีที่แล้ว
3 ขั้นตอนอ่านออก เขียนได้ สไตล์ปลาดาว
สอนคณิตให้เป็นเรื่องสนุกด้วย การสอนแบบ active learning
02:08
Starfish Academy

สอนคณิตให้เป็นเรื่องสนุกด้วย การสอนแบบ active learning

Starfish Academy
18265 views • 3 ปีที่แล้ว
สอนคณิตให้เป็นเรื่องสนุกด้วย การสอนแบบ active learning