การพัฒนานวัตกรรม การพัฒนาสุขภาวะขั้นพื้นฐานของผู้เรียน
กิจกรรม Innovation Coaching โครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ต่อเนื่องในปี 2564
ภายใต้กิจกรรมการพัฒนานวัตกรรม การพัฒนาสุขภาวะขั้นพื้นฐานของผู้เรียน (Well-being)
กิจกรรมการพัฒนานวัตกรรม การพัฒนาสุขภาวะขั้นพื้นฐานของผู้เรียน (Well-being) เป็นรูปแบบนวัตกรรมการศึกษา ทั้งนี้ นวัตกรรมถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ต้องการ สามารถนำไปใช้งานได้ และสามารถทำได้จริง มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการทำ Workshop ในครั้งนี้ โรงเรียนจะต้องเลือกว่านวัตกรรมที่จะดำเนินการอยู่ในรูปแบบใด ซึ่งอาจจะเป็นในรูปของหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และการบริหารจัดการ โดยผ่านกระบวนการ STEAM Design Process อย่างไรก็ตาม ภายใต้สถานการณ์โควิดทำให้เกิดอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนการสอนทางไกล การพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ความถดถอยในการเรียนรู้ของผู้เรียน ความเหลื่อมล้ำในการเรียนรู้ สุขภาวะพื้นฐานของผู้เรียน ประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถนำนวัตกรรมมาปรับใช้ได้ และภายใต้การพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวกับสุขภาวะพื้นฐานของผู้เรียน (Well-being) ในที่นี้หมายถึง การสร้างสภาวะ สังคม โรงเรียนปลอดภัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน รวมถึงการช่วยให้นักเรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิต และมีสังคมที่ดี ถือว่าเป็นสุขภาวะพื้นฐานที่สำคัญของผู้เรียน
กรอบแนวคิดการพัฒนาสุขภาวะขั้นพื้นฐานของผู้เรียน โดยแต่ละโรงเรียนย่อมมีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ครอบคลุมหลายด้าน เช่น ด้านสุขภาวะของนักเรียน การคัดกรองนักเรียน ครูรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล รวมไปถึงกิจกรรมเสริมสร้างทักษะต่างๆ ทักษะชีวิต คุณธรรม จริยธรรม เป็นต้น ทั้งนี้ บางโรงเรียนอาจมีการดำเนินกิจกรรมที่สามารถนำมาต่อยอดนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะพื้นฐานของผู้เรียนได้ สำหรับการสร้างนวัตกรรม มุ่งเน้นที่ระดับ L2 คือ
1) โรงเรียนจะต้องจัดทำมาตรฐานโรงเรียนปลอดภัยครอบคลุมในทุกด้าน ทั้งนักเรียนและบุคคลที่อยู่ในโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยทางด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ภัยพิบัติ การเดินทาง หรือภัยเทคโนโลยี
2) โรงเรียนมีแนวทางในการพัฒนาการสำรวจติดตามระบบการช่วยเหลือผู้เรียนเป็นรายบุคคล
3) การให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการคิดค้น พัฒนาต้นแบบนวัตกรรม
4) การจัดอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับนวัตกรรม เพื่อทำการขับเคลื่อนในโรงเรียนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
การพัฒนานวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียน ด้านสุขภาวะขั้นพื้นฐานของผู้เรียน เป็นกิจกรรม/ใบงานที่ช่วยให้เห็นภาพชัดขึ้นว่านวัตกรรมที่จะทำเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร ใช้กระบวนการอะไร และนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆ เช่น การสร้างความสุขในการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะทางอารมณ์และสังคม การพัฒนาสุขภาพกายและจิต สุขภาวะพื้นฐานของผู้เรียน สิทธิเด็กและความปลอดภัย และการพัฒนาสมรรถนะและความฉลาดรู้ในชีวิตประจำวันหรือไม่ อย่างไร โดยการกรอกข้อมูลชื่อนวัตกรรม รายละเอียดเกี่ยวกับนวัตกรรม ประเด็นที่น่าสนใจในการจัดการเรียนรู้ ลักษณะการนำไปใช้ ผลลัพธ์จากการใช้นวัตกรรม หลักการ/ทฤษฎี รูปแบบการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม และภาพร่างต้นแบบนวัตกรรม
คุณค่าของนวัตกรรม เป็นเรื่องของการสำรวจและวิเคราะห์คุณค่านวัตกรรมของเราที่มีผลต่อบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ นวัตกรรมของเราจำเป็นต้องมีคุณค่า สามารถนำไปใช้ได้จริง และเป็นประโยชน์ ซึ่งจะเน้นที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครู นักเรียน และผู้ปกครอง/ชุมชน (ถ้ามี) หรืออาจมากกว่านั้นก็ได้ สำหรับวิธีการที่จะทราบว่านวัตกรรมของเรามีคุณค่าอย่างไร พิจารณาจากความยากลำบาก ความคาดหวัง และสิ่งที่ต้องการเป็นอย่างไร โดยการกรอกรายละเอียดประสบการณ์รูปแบบในการใช้งาน การผ่อนคลายความยากลำบาก และการสร้างประโยชน์ใหม่ๆ ได้
นวัตกรรมของฉันกับการจัดการเรียนรู้ในอนาคต อยู่ในขั้นตอนของ Imagine หลังจากที่ได้ออกแบบนวัตกรรมแล้ว ทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่านวัตกรรมของเราทำอะไร กับใคร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง และนวัตกรรมที่ทำส่งผล หรือประโยชน์ หรือมีคุณค่ากับใครบ้าง ซึ่งนวัตกรรมกับการจัดการเรียนรู้ในอนาคตเป็นฉากต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้โรงเรียนได้ลองจินตนาการว่า สถานการณ์เหล่านี้สามารถนำนวัตกรรมของเราไปใช้ในรูปแบบใด โดยจะมีอยู่ 3 ฉากทัศน์ (Scenario) ต่างๆ ดังนี้
1) โควิดหมดไป เด็กกลับมาเรียนในโรงเรียนเช่นเดิม
2) ยังคงมีโควิดระบาดอยู่ โรงเรียนเปิดได้บ้าง ไม่ได้บ้าง หรือเปิดได้เป็นบางส่วน
3) โควิดระบาดมาในพื้นที่ ไม่มีเด็กคนไหนได้ไปโรงเรียนเลย
โดยให้โรงเรียนเลือก 2 ฉากทัศน์ เขียนอธิบายลักษณะของการใช้นวัตกรรมเป็นอย่างไร มีจุดเด่นและข้อจำกัดอย่างไร หลังจากประยุกต์ใช้ตามบริบทของโรงเรียนแล้ว
การวางแผนเพื่อพัฒนาต้นแบบ และการนำไปทดสอบ หลังจากที่ทำข้อมูลแล้ว ทีมโรงเรียนอาจจะต้องช่วยกันพัฒนาต้นแบบ เพื่อนำไปทดลองใช้กับนักเรียน นำไปทดสอบ วัดและประเมินผลนวัตกรรมที่นำไปใช้ ซึ่งมีการประเมินหลายรูปแบบ ทั้งการประเมินความก้าวหน้าของนวัตกรรม/ของผู้เรียน การประเมินการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ การประเมินผลการเรียนรู้ (AoL) การประเมินเพื่อการเรียนรู้ (AfL) และการประเมินเป็นการเรียนรู้ (AaL) และการประเมินเพื่อสรุปผล สำหรับการประเมิน กรณีที่โรงเรียนใช้หลักสูตร หรือการจัดการเรียนการสอนอาจจะใช้รูปแบบการประเมินจากการคิดหาค่าคะแนนโดยการวิเคราะห์หาค่าขนาดอิทธิพลหรือ Effect Size ได้
Related Courses
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...
การติดตาม ปรับปรุง และผลการสะท้อนกลับ
การติดตามเพื่อพัฒนา ประเมินความก้าวหน้า และสะท้อนผลที่เกิดขึ้นรวมกัน เป็นการกำหนดวิธีในการติดตามผลจากการจัดกิจกรรมการ ...
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...