อย่าให้ห้องเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการเกิดโรคซึมเศร้า
โรงเรียน คือสถานที่ที่เปรียบเสมือนบ้านหลังที่สอง ที่จะต้องมีความอบอุ่น ความเข้าใจ และมิตรภาพต่าง ๆ แต่ในขณะเดียวกันเมื่อบ้านหลังที่สองนี้ก็ย่อมมีกฎ มีระเบียบ ที่เด็ก ๆ ต้องปฏิบัติตามเพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวาย แต่แน่นอนว่าสำหรับเด็ก ๆ แล้วโดยเฉพาะเด็กช่วงวัยรุ่น “กฎนั้นย่อมมีไว้แหก” และเมื่อมีใครทำผิดกฎกติกาก็ต้องมีบทลงโทษตามมาเสมอ เพราะโรงเรียนนั้นไม่ได้มีหน้าที่สอนแค่หนังสือ แต่เป็นที่สอนการใช้ชีวิตด้วย
บางครั้งการลงโทษของคุณครูอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เด็ก ๆ มีอาการซึมเศร้า เพราะบางครั้งบทลงโทษนั้นอาจมีผลต่อสภาพจิตใจของเด็ก ๆ
เมื่อเด็ก ๆ ทำอะไรที่พลาดพลั้งไปครูส่วนใหญ่มักจะนำเรื่อง ๆ นั้นมาเล่าเพื่อเป็นบทเรียนให้กับเด็ก ๆ คนอื่นได้ฟัง จนบางครั้งมักหลงลืมไปว่าการกระทำเหล่านี้ส่งผลถึงสภาพจิตใจของเด็กคนนั้น การนำเรื่องมาเล่าเพื่อเป็นบทเรียนก็เป็นเรื่องที่ดี แต่แน่นอนว่าดาบย่อมมีสองคม อีกด้านคือกลับกลายเป็นว่าการนำเรื่องมาเล่าเพื่อเป็นบทเรียนนั้นคือการประจาน การ humiliate หรือการทำให้เกิดความอับอาย นอกจากนั้นยังเป็นการบั่นทอนจิตใจของเด็กด้วย ซึ่งแน่นอนว่าการสร้างความอับอายส่งผลต่อจิตใจของเด็กเสมอ เมื่อเกิดความไม่สบายใจมีผลให้เด็กบางคนมีอาการซึมเศร้า หากได้ลองสังเกตเด็กดูจะพบว่าเมื่อถูกตำหนิเด็กจะมีอาการซึม ไม่สดใส ไม่ร่าเริง และเมื่อมีอาการเหล่านี้บ่อยครั้งจนทนไม่ไหว ระเบิดออกมาและเผยว่าเป็นโรคซึมเศร้า
วิธีสังเกตอาการเริ่มต้นของเด็กที่มีอาการซึมเศร้า ที่สังเกตได้ง่ายคือ เด็ก ๆ จะเก็บตัวไม่ค่อยเข้าสังคม วิตกกังวล มักโทษตัวเองและรู้สึกผิด นอกจากนี้จะไม่ค่อยกระฉับกระเฉง และขาดสมาธิในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
ดังนั้นโรงเรียนควรมีเทคนิคการสอนเด็ก ๆ ด้านประสบการณ์ได้จากการเรียนรู้อื่น ๆ ที่ไม่ใช่การนำกรณีตัวอย่างจริงที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน หรืออาจจะสอนผ่านข่าวสารบ้านเมือง รวมไปถึงประสบการณ์ของครู เพื่อไม่ให้เด็ก ๆ เกิดความรู้สึกไม่ดีเพื่อป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า ด้วยเทคนิคเสริมสร้างประสบการณ์ดังนี้
- จัดประสบการณ์เล่นและเรียนรู้อย่างหลากหลาย
- เน้นให้เด็ก ๆ เป็นสำคัญและสนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและตามสภาพแวดล้อมของสังคมที่เด็กอยู่อาศัย
- ให้เด็กได้รับการพัฒนา โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก
- จัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์ พร้อมทั้งนำผลการประเมินมาพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่อง
- พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้องควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก
ขอขอบคุณ
Related Courses
ดูแลสุขภาพร่างกาย สำหรับเด็กวัยเรียน (ประถมศึกษา)
คอร์สนี้จะทำให้ได้เรียนรู้ถึงและเข้าใจการสร้างสุขภาพกายที่ดีสำหรับเด็กประถมศึกษา เพราะสุขภาพกายมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ
แนะนำหลักสูตร well being
คอร์สเรียนนี้จะชวนให้ทุกคน กลับมาดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กๆ กันนะคะ เพราะทั้งสองเรื่องนี้ จะเป็นประโยชน์โดยตรง ...
การพัฒนาสุขภาวะจิต
เรามักคิดว่าเด็กจะมีความสุข และไม่เครียดอะไร ใครจะรู้ เด็กก็มีช่วงที่ไม่มีความสุขและมีปัญหาเหมือนกัน คอร์สนี้จะทำให้ผู้ใหญ่ ได้หั ...
การพัฒนาสุขภาวะกาย
คอร์สนี้จะทำให้ได้เรียนรู้ถึงและเข้าใจการสร้างสุขภาพกายที่ดีสำหรับเด็กประถมศึกษา เพราะสุขภาพกายมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ