Starfish Talk คุยสบายๆ สไตล์สตาร์ฟิช : Edu talk Edu Tech

Starfish Academy
Starfish Academy 2456 views • 3 ปีที่แล้ว
Starfish Talk คุยสบายๆ สไตล์สตาร์ฟิช :  Edu talk Edu Tech

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หลายๆ องค์กรได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานมาเป็นแบบ Work Form Home หรือการทำงานที่บ้าน นอกจากองค์กรแล้ว ก็ยัง มีคุณครูหลายๆ ท่านที่ยังต้องทำงาน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่โรงเรียนจะเปิดทำการเรียนการสอนในเร็วๆ นี้เช่นกัน 

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนอาจเกิดขึ้นได้เสมอ หากโรงเรียนไม่สามารถเปิดทำการเรียนการสอนแบบปกติเต็มรูปแบบได้ คุณครูจะเตรียมความพร้อมในการรับมือสำหรับการจัดการเรียนการสอนที่อาจจะต้องดำเนินไปต่อ 

Starfish Education จึงมาแบ่งปัน “เทคโนโลยีการศึกษา” ที่มาจากการพูดคุยในกิจกรรม Starfish Talk : Edu talk Edu Tech โดย อาจารย์ธิติ ธีระเธียร ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับคุณครู ในการนำไปปรับใช้ในการทำงานที่บ้าน หรือเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดการเรียนการสอนในช่วงเปิดเทอมที่จะถึงนี้ค่ะ

เทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับการทำงานที่บ้าน

1. การประชุมออนไลน์ เช่น Zoom ที่สามารถพูดคุยกันแบบเห็นหน้าได้ อีกทั้งยังมีฟังก์ชัน Share Screen ที่ช่วยให้คุณครูสามารถนำเสนอไฟล์งานเอกสารต่างๆ ไปพร้อมกับการพูดคุยได้อีกด้วย

2. การทำเอกสารออนไลน์ เช่น Google Sites ที่เป็นแหล่งรวบรวมเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานเอกสาร ซึ่งเพื่อนครูสามารถเข้ามาทำงานร่วมกันได้ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. การวางแผนและติดตามงาน เช่น Trello ซึ่งคุณครู และผู้บริหารสามารถเข้ามาใช้งานร่วมกันเพื่อวางแผน และติดตามสถานะของงานต่างๆ ได้

4. การแก้ปัญหาทาง IT ซึ่งโดยปกติแล้ว หากคุณครูทำงานที่โรงเรียนก็จะสามารถขอความช่วยเหลือจากฝ่าย IT Support ของโรงเรียนได้ แต่ถ้าทำงานอยู่ที่บ้าน คุณครูสามารถใช้โปรแกรม Team Viewer เพื่อให้ฝ่าย IT Support เข้ามาช่วยเหลือและแก้ปัญหาผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณครูได้ทันที

5. การพูดคุยสื่อสาร เช่น โปรแกรม Slack ที่ทำงานคล้ายๆ กับ Line สามารถส่งข้อความ และส่งไฟล์งานต่างๆ ได้ โดยไม่มีวันหมดอายุ

6. การนำเสนองาน เช่น Power point, Keynote หรือ Canva ที่สามารถออกแบบงานนำเสนอในรูปแบบที่หลากหลายและมีความเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น เช่น อินโฟกราฟิกหรือโปสเตอร์ เป็นต้น 

7. การนำเสนองานวิดีโอ เช่น Adobe Spark ที่สามารถเข้าใช้งาน โดยล็อกอินผ่าน

เฟซบุ๊กได้ รวมถึงมี template วิดีโอให้เลือกใช้เป็นจำนวนมาก

เทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวก สำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์

1. โปรแกรม Zoom ซึ่งคุณครูจะเห็นหน้านักเรียน และสามารถพูดคุย หรือโต้ตอบกันได้ทันที แต่วิธีการสอนจะต้องไม่ใช่การอธิบาย หรือบรรยายเนื้อหาเพียงอย่างเดียว เพราะอาจจะทำให้นักเรียนรู้สึกเบื่อ หรือไม่ค่อยสนใจที่จะเรียนรู้ได้ เทคนิคที่จะช่วยให้คุณครูจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Zoom ได้ดียิ่งขึ้น คือ การสร้างการมีส่วมร่วม (Engagements) ระหว่างคุณครูกับนักเรียนขณะทำกิจกรรม ตัวอย่างเช่น หากกำลังสอนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ คุณครูอาจจะให้นักเรียนออกไปค้นหาภาพเกี่ยวกับเรื่องที่กำลังเรียน จากนั้นให้นักเรียนนำภาพที่ได้มาเปลี่ยนเป็นภาพพื้นหลัง โดยใช้เครื่องมือ Virtual background จากนั้นให้นักเรียนนำเสนอ เพื่อสร้างความสนุก และความน่าสนใจในการเรียน เป็นต้น หรือหากมีการถาม-ตอบในระหว่างเรียน สามารถใช้เครื่องมือ Chat ในการตอบคำถามได้ หรือใช้เครื่องมือ React เช่น ปรบมือ, ยกนิ้ว ประกอบการทำกิจกรรมต่างๆ ในห้องเรียนได้ เป็นต้น

2. แอปพลิเคชั่น Kahoot หรือ Quizizz  ในการทดสอบความเข้าใจเนื้อหา ที่นักเรียนได้เรียน หรือใช้แอปพลิเคชั่น Vonder go มาช่วยสร้างความน่าตื่นเต้น และสร้างความสนุกสนาน ในการตอบคำถามของนักเรียน เป็นต้น

3. แอปพลิเคชั่น Tinycards สำหรับการเรียนรู้ด้านภาษา เพื่อช่วยให้นักเรียนจดจำ และเข้าใจความหมายของคำศัพท์ต่างๆ ได้

4. แอปพลิเคชั่น Multimeter, Sligo หรือ Padlet สำหรับการโต้ตอบ หรือแสดงความคิดเห็นแบบเรียลไทม์ เหมาะกับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย หรือนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา เพราะเป็นเครื่องมือที่มีมาตรฐาน และมีความเป็นวิชาการมากขึ้น

5. Google Classroom ในการสร้างห้องเรียนออนไลน์ เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าไปเรียนรู้ด้วยตัวเองได้

ในกรณีที่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ได้ คุณครูสามารถนำกล่องการเรียนรู้ (Learning Box) ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบออฟไลน์ โดยการส่ง Learning Box นี้ ไปให้นักเรียนเรียนรู้ที่บ้านได้สำหรับการออกแบบกิจกรรมใน Learning Box ควรนำกระบวนการ STEAM design process ไปใช้ เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกการทำงานอย่างเป็นระบบ คิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และคิดแก้ปัญหาได้ ซึ่งกระบวนการ STEAM design process จะประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน คือ 

1. ถาม (ASK) ให้นักเรียนได้จุดประเด็นปัญหาที่อยู่รอบๆ ตัว หรือเป็นปัญหากว้างๆ ที่คุณครูกำหนดให้ (ควรเป็นปัญหาที่ใกล้ตัวเด็กมากที่สุด เพื่อสะดวกต่อการหาวัสดุอุปกรณ์ในการลงมือแก้ไขปัญหา) ซึ่งขั้นตอนนี้ คุณครูจะต้องเตรียมใบความรู้ที่สอดคล้องกับปัญหาที่กำหนดไว้ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองด้วย

2. จินตนาการ (IMAGINE) ให้นักเรียนจินตนาการ โดยนำความรู้ที่ได้จากใบความรู้มาลองจินตนาการดูว่าจะแก้ไขปัญหาได้อย่างไร

3. วางแผน (PLAN) ให้นักเรียนได้วางแผนการแก้ไขปัญหา รวมถึงจะใช้อะไรในการแก้ไขปัญหา หรือวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้มีอะไรบ้าง 

4. ลงมือทำ (CREATE) ให้นักเรียนได้ลงมือทำตามแผนที่ได้วางไว้

5. สะท้อนคิด (REFLECT & REDESIGN) ให้นักเรียนได้สะท้อนคิดว่า สิ่งที่ทำสามารถแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ ได้เรียนรู้อะไร และอะไรที่เป็นข้อบกพร่อง ที่อยากปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นในครั้งหน้า เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า “เทคโนโลยี” เป็นตัวช่วยที่สำคัญ สำหรับการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์ปัจจุบันเช่นนี้ และมีเทคโนโลยีที่หลากหลาย คุณครูสามารถหยิบยกไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม กับบริบทของผู้เรียน หรือนำเทคโนโลยีไปช่วยในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่คุณครูกำลังเผชิญอยู่ได้  

ทั้งนี้ หากคุณครูต้องการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน สามารถเข้าไปเรียนรู้ได้ที่ www.Starfishlabz.com หรือเข้าร่วมเรียนรู้ใน Workshop Kru Club โดยสามารถลงทะเบียน เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ลิงค์หน้าเฟซบุ๊กแฟนเพจ Starfish Academy ค่ะ

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน

Starfish แหล่งเครื่องมือช่วยครูในจัดการชั้นเรียนที่หลากหลาย เช่น Starfish Labz, Starfish Class แบบเว็บไซต์ และแ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน
Starfish Academy

Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

การติดตาม ปรับปรุง และผลการสะท้อนกลับ

การติดตามเพื่อพัฒนา ประเมินความก้าวหน้า และสะท้อนผลที่เกิดขึ้นรวมกัน เป็นการกำหนดวิธีในการติดตามผลจากการจัดกิจกรรมการ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การติดตาม ปรับปรุง และผลการสะท้อนกลับ
Starfish Academy

การติดตาม ปรับปรุง และผลการสะท้อนกลับ

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
Starfish Academy

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

Starfish Academy
EdTech
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
basic
2:00 ชั่วโมง

3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ตัวช่วยทำสื่อการสอน

เรียนรู้ 3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ที่นำไปใช้ได้จริงสำหรับการสร้างสื่อการสอน สะดวกต่อการใช้งาน มีประโยชน์สำหรับห้องเรียน ช่วยให้นัก ...

Starfish Future Labz
Starfish Future Labz
3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ตัวช่วยทำสื่อการสอน
Starfish Future Labz

3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ตัวช่วยทำสื่อการสอน

Starfish Future Labz
1575 ผู้เรียน

Related Videos

ADOBE SPARK VIDEO
10:24
Starfish Academy

ADOBE SPARK VIDEO

Starfish Academy
1638 views • 4 ปีที่แล้ว
ADOBE SPARK VIDEO
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management)
04:50
Starfish Academy

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management)

Starfish Academy
10712 views • 1 ปีที่แล้ว
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management)
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
03:45
Starfish Academy

เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”

Starfish Academy
7686 views • 1 ปีที่แล้ว
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
PADLET
11:19
Starfish Academy

PADLET

Starfish Academy
155 views • 4 ปีที่แล้ว
PADLET