วิธีการเปลี่ยนเป็นโรงเรียนฐานสมรรถนะสไตล์สตาร์ฟิช (Starfish whole school transformation model)

Starfish Academy
Starfish Academy 5990 views • 4 ปีที่แล้ว
วิธีการเปลี่ยนเป็นโรงเรียนฐานสมรรถนะสไตล์สตาร์ฟิช (Starfish whole school transformation model)

จากปัญหาของการจัดการศึกษาแบบเดิมที่คุณครูเน้นให้ความรู้กับเด็ก เน้นให้เด็กท่องจำ แต่ไม่มีเครื่องมือให้เด็กนำไปประยุกต์ไปใช้ในชีวิตจริงได้ เป็นหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทุกโรงเรียนจะต้องปรับตัวเพื่อก้าวไปสู่โรงเรียนฐานสมรรถนะ ที่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ และความถนัดของตัวเอง เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะ และเจตคติที่พร้อมกับการใช้ชีวิต และการทำงานของตัวเองได้ในอนาคต จึงเป็นที่มาของการพูดคุยในเวที TEP Learning เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมาในหัวข้อ “วิธีการเปลี่ยนเป็นโรงเรียนฐานสมรรถนะสไตล์สตาร์ฟิช (Starfish whole school transformation model)” ซึ่งจะขอนำเสนอใน 3 ประเด็นสำคัญจากเวที ดังนี้

ประเด็นแรก คือ การจะก้าวไปสู่โรงเรียนฐานสมรรถนะได้นั้น จะต้องทำอย่างไร ?

  • โรงเรียนจะต้องตั้งเป้าหมายของตัวเองก่อนว่า มีความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาอะไร เพื่อนำไปสู่การวางแผน และออกแบบวิธีการเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาไปที่เรื่องนั้น ๆ
  • พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนรายบุคคล ขึ้นอยู่กับความสนใจความถนัด ให้เด็กได้เรียนรู้ตามสไตล์ของตัวเอง เพื่อที่เขาจะสามารถประยุกต์ความรู้ ทักษะ และทัศนคติต่าง ๆ ไปใช้ในการทำงาน และการใช้ชีวิตในอนาคตได้
  • คุณครูต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้บอกความรู้ เป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนาตามศักยภาพของตนเอง
  • คุณครูต้องปรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ใหม่ ที่ไม่ได้เน้นไปที่การบรรยาย แต่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฎิบัติ และบูรณาการความรู้จากหลายวิชามาประยุกต์ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และเชื่อมโยงกับสถานการณ์จริง
  • คุณครูต้องกำหนดงาน หรือสถานการณ์ปัญหาที่ต้องการให้เด็กทำสำเร็จ และให้เด็กได้ใช้อาวุธที่ตัวเองมีอยู่ ทั้งความรู้ ทักษะ คุณลักษณะมาใช้ในการแก้ไขปัญหา หรือสถานการณ์ดังกล่าวให้สำเร็จ
  • คุณครูเปิดพื้นที่ให้เด็กได้นำความรู้ไปประยุต์ใช้ และได้ลองทำงานร่วมกับผู้อื่น เช่น กิจกรรมสำหรับนักสร้างสรรค์ (Makerspace) เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นหา และเรียนรู้ในสิ่งที่สนใจ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น มีความกล้าคิดกล้าทำ พร้อมทั้งการพัฒนาทักษะ และสมรรถนะสำคัญในศตวรรษที่ 21 ผ่านกระบวนการ STEAM Design Process
  • เปลี่ยนวิธีการวัดผลผู้เรียนให้รอบด้าน ทั้งความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะของผู้เรียน

ประเด็นที่สอง คือ มีเครื่องมือสำหรับการพัฒนาเป็นโรงเรียนฐานสมรรถนะ ตามแบบฉบับของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม  ได้แก่

เครื่องมือสำหรับผู้บริหาร :

  • ทำความเข้าใจฐานทุน หรือบริบทของโรงเรียนว่าต้องการเปลี่ยนแปลงอะไร  
  • ใช้ Whole School Transformation Model โดยมีองค์ประกอบในการเปลี่ยนแปลงทั้ง 9 ด้าน ซึ่งประกอบไปด้วย 
  • ผู้นำ ชุมชน บรรยากาศการเรียนรู้  เทคโนโลยี เป้าหมาย หลักสูตรและการประเมิน รูปแบบและการปฎิบัติการสอน การพัฒนาวิชาชีพ และการพัฒนาผู้เรียน
  • ทำแผนพัฒนาโรงเรียน โดยมีวิธีการดำเนินการชัดเจนและสร้างการมีส่วนร่วมกับทุกคน เพื่อการพัฒนาโรงเรียนไปทั้งระบบ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน 

ประเด็นที่สาม จากการนำเครื่องมือดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาโรงเรียน ทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับโรงเรียนในด้านต่าง ๆ ดังนี้

เด็กเปลี่ยน : 

  • การเปลี่ยนแปลงของเด็กที่เห็นได้ชัด คือ ด้านสมรรถนะและการเป็นเจ้าของการเรียนรู้
  • เด็กสามารถคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ซึ่งเป็นผลที่มาจากการติดตั้งกระบวนการเรียนรู้แบบ STEAM Design Process ที่เปิดพื้นที่ให้เด็กได้คิด ได้วางแผน จินตนาการเพื่อแก้ไขปัญหา โดยคุณครูไม่ได้เข้ามาบอกว่าสิ่งไหนถูก สิ่งไหนผิด ทำให้เด็กกล้าแสดงออก
  • เด็กมีทักษะการทำงานร่วมกัน ผ่านการพูดคุยกันเพื่อวางแผนการทำงาน คอยช่วยเหลือและสนับสนุนกัน ตามศักยภาพของเด็กแต่ละคนที่มี
  • เด็กมีทักษะอาชีพ จากการที่โรงเรียนมี School Concept ชัดเจน ว่าอยากพัฒนาเด็กไปทิศทางไหน และมุ่งเน้นการพัฒนาไปในทิศทางนั้น ทำให้เด็กๆ ได้พัฒนาทักษะให้ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว

ครูเปลี่ยน :

  • เปลี่ยนรูปแบบการสอน ที่ไม่ได้แค่เน้นการพัฒนาความรู้เพียงอย่างเดียว แต่มีการเปิดกว้างมากขึ้น ทั้งเรื่องทักษะและสมรรถนะของเด็ก
  • เปลี่ยนมุมมองใหม่ จากเมื่อก่อนที่มองว่า การสอนแบบสมรรถนะเป็นเรื่องยาก พอได้ทดลองทำและมีเครื่องมือต่าง ๆ เข้ามาช่วย ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับเด็กอย่างชัดเจน 
  • คุณครูในโรงเรียนมีการพูดคุยกันมากขึ้น ผ่านวง PLC ที่นำเรื่องการสอนแบบสมรรถนะมาแลกเปลี่ยนกัน แชร์ประสบการณ์ร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น

ผู้อำนวยการ เปลี่ยน :

  • เข้าใจโรงเรียนมากขึ้น รู้ว่าจะต้องพัฒนาโรงเรียนไปในทิศทางไหน และต้องพัฒนาโรงเรียนอย่างไร โดยใช้เครื่องมือ 9 องค์ประกอบ
  • เป็นผู้สนับสนุนคุณครูในการปฎิบัติงาน

สุดท้าย เราจะเห็นว่าการก้าวไปสู่การเป็นโรงเรียนฐานสมรรถนะ ต้องอาศัยหลาย ๆ องค์ประกอบในการพัฒนา ไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้การพัฒนาโรงเรียนเป็นไปทั้งระบบ และเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งโรงเรียนอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะกับตัวผู้เรียนที่จะเกิดทักษะ และสมรรถนะต่าง ๆ ที่ติดตัวไปใช้ในการทำงาน และการใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพในอนาคต

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

Peer Learning วิธีฟื้นฟู Learning Loss

ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับ Peer Learning คืออะไร 5 รูปแบบของกิจกรรม Peer to Peer Learning ตัวอย่างก ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Peer Learning วิธีฟื้นฟู Learning Loss
Starfish Academy

Peer Learning วิธีฟื้นฟู Learning Loss

Starfish Academy
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...

Starfish Academy
Starfish Academy
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
Starfish Academy

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

Starfish Academy
5 (4 ratings)
7366 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านความสัมพันธ์
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินภาวะการเรียนรู้ถดถอย

การประเมินภาวะการเรียนรู้ถดถอยในวันที่โรงเรียนกลับมาเปิดเทอมใหม่อีกครั้ง หลังจากที่เด็กๆ เรียนออนไลน์มาเป็นเวลานาน ส่ง ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การประเมินภาวะการเรียนรู้ถดถอย
Starfish Academy

การประเมินภาวะการเรียนรู้ถดถอย

Starfish Academy
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

ออกแบบ Booklet (กิจกรรมการเรียนรู้) อย่างไร ช่วยนักเรียนไม่ถดถอยในการเรียนรู้ช่วงปิดเทอม

ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับ 6 ปัจจัยการออกแบบการเรียนรู้ให้นักเรียน ในแบบฉบับ Booklet เช็คลิสต์ 8 วิธีออกแบบกิจ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ออกแบบ Booklet (กิจกรรมการเรียนรู้) อย่างไร ช่วยนักเรียนไม่ถดถอยในการเรียนรู้ช่วงปิดเทอม
Starfish Academy

ออกแบบ Booklet (กิจกรรมการเรียนรู้) อย่างไร ช่วยนักเรียนไม่ถดถอยในการเรียนรู้ช่วงปิดเทอม

Starfish Academy
5 (1 ratings)

Related Videos

Makerspace Day #1
07:41
Starfish Academy

Makerspace Day #1

Starfish Academy
598 views • 2 ปีที่แล้ว
Makerspace Day #1
เทคนิคการสอนภาษาไทยแบบ Active Learning สำหรับครูภาษาไทย
04:25
Starfish Academy

เทคนิคการสอนภาษาไทยแบบ Active Learning สำหรับครูภาษาไทย

Starfish Academy
66505 views • 4 ปีที่แล้ว
เทคนิคการสอนภาษาไทยแบบ Active Learning สำหรับครูภาษาไทย
Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)
05:05
Starfish Academy

Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)

Starfish Academy
636 views • 2 ปีที่แล้ว
Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)
CBE - การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ
10:22
Starfish Academy

CBE - การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ

Starfish Academy
1656 views • 2 ปีที่แล้ว
CBE - การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ