ศึกษานิเทศก์…นิเทศอย่างไรให้เสริมพลังโรงเรียน
เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา เวที TEP Learning ได้มีการพูดคุยในประเด็น “ศึกษานิเทศก์…นิเทศอย่างไรให้เสริมพลังโรงเรียน” ซึ่งจัดขึ้นโดย Starfish Education และได้มีการเชิญตัวแทนศึกษานิเทศก์ (ศน.) คุณครู ผู้อำนวยการโรงเรียน รวมถึงนักการศึกษา มาร่วมกันแลกเปลี่ยนกัน เพื่อจินตนาการ และสร้างภาพใหม่ของ “การนิเทศ”
เพราะหากพูดถึง “ศึกษานิเทศก์” เราจะรู้จักกันในฐานะของคนที่คอยมานิเทศการสอน และติดตามการทำงานของคุณครู และผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งการจะมานิเทศแต่ละครั้ง แน่นอนว่า ทั้งคุณครูและผู้อำนวยการนั้นจะต้องเตรียมตัวรับมือกันยกใหญ่ เพราะการนิเทศนั้นมีเป้าหมายที่ “ถูกกำหนด” โดยศึกษานิเทศก์มาก่อนหน้านี้แล้ว และมีบรรยากาศของความเป็นทางการ สำหรับหัวข้อในการแลกเปลี่ยนกันคือโจทย์ที่ว่า “ถ้าเราลองเปลี่ยนภาพจำที่มีต่อศึกษานิเทศก์ใหม่ เราอยากเห็นศึกษานิเทศก์มีบทบาทอย่างไร เพื่อช่วยเสริมพลังให้กับโรงเรียน” ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
- เปลี่ยนวิธีคิดจากข้างบน แต่ต้องคิดจากพื้นฐานเป้าหมายของโรงเรียน ต้องให้โรงเรียนเป็นผู้กำหนดเป้าหมาย และรูปแบบของการนิเทศเอง เพื่อช่วยให้โรงเรียนสามารถบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
- มองการนิเทศแบบใหม่ ที่ไม่ใช่แค่การมาตรวจสอบ หรือติดตามโรงเรียนเท่านั้น แต่เป็นกระบวนการที่ช่วยจุดประกายความคิด และสร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณครูและผู้อำนวยการโรงเรียน ในการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนให้ดีขึ้น
- ศึกษานิเทศก์เปรียบเสมือนโค้ช และรูปแบบของการนิเทศ ก็คือการโค้ช ซึ่งจะทำให้บรรยากาศความเป็นทางการของการนิเทศดูลดลง และทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณครู ผู้อำนวยการโรงเรียน และศึกษานิเทศก์ มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น
- มีความเข้าใจความแตกต่างของครู และโรงเรียน เชื่อว่าโรงเรียน และครูมีความจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาที่แตกต่างกัน
- เปิดพื้นที่ให้ได้เรียนรู้ร่วมกันระหว่างศึกษานิเทศก์ คุณครู และผู้อำนวยการโรงเรียน เพื่อให้เกิดบรรยากาศของการรับฟังกันอย่างเป็นกัลยาณมิตร ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้สึกว่า คุณครู และผู้อำนวยการโรงเรียน ไม่ได้กำลังถูกนิเทศ แต่กำลังได้รับการพัฒนา
- ร่วมวางแผน ร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหากับโรงเรียน ตามความต้องการ ตามเป้าหมายของโรงเรียนจริง ๆ
- มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการนิเทศ เพื่อยกระดับการนิเทศให้ดียิ่งขึ้น
- มีการให้เทคนิค และวิธีการในการจัดการเรียนรู้แก่คุณครูได้อย่างหลากหลาย
- ประสานงานกับศึกษานิเทศก์คนอื่น ๆ ตามกลุ่มสาระวิชานั้น (สนง.เขต) เพื่อให้โรงเรียนได้รับการพัฒนาได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น
จะเห็นได้ว่า ศึกษานิเทศก์มีบทบาทที่สำคัญอย่างมากในการพัฒนาการศึกษา ดังนั้น เพื่อยกระดับการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ศึกษานิเทศก์ยังคงต้องทำหน้าที่ดั่งกัลยาณมิตร ที่เปรียบเสมือนเป็นเพื่อนร่วมเดินทางของโรงเรียน มีความเข้าใจความแตกต่างของคุณครู คอยส่งเสริม และสร้างขวัญกำลังใจในสิ่งที่โรงเรียนต้องการพัฒนา ซึ่งหากการศึกษาไทยมีศึกษานิเทศก์ที่ทำหน้าที่ดังที่กล่าวมาข้างต้น เราเชื่อว่าภาพใหม่ของการศึกษาไทยที่ทุกคนวาดฝันไว้ คงเป็นจริงได้แน่นอน
Related Courses
Peer Learning วิธีฟื้นฟู Learning Loss
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับ Peer Learning คืออะไร 5 รูปแบบของกิจกรรม Peer to Peer Learning ตัวอย่างก ...
การประเมินภาวะการเรียนรู้ถดถอย
การประเมินภาวะการเรียนรู้ถดถอยในวันที่โรงเรียนกลับมาเปิดเทอมใหม่อีกครั้ง หลังจากที่เด็กๆ เรียนออนไลน์มาเป็นเวลานาน ส่ง ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
Play and Learn classroom design
Play and Learn classroom design ออกแบบห้องเรียนให้สนุกด้วยเล่นปนเรียน เรียนรู้ความหมายของการเล่นปนเรียน ประ ...