พัฒนาทักษะการคิดของลูกด้วย “วินัยเชิงบวก”

Starfish Academy
Starfish Academy 6689 views • 4 ปีที่แล้ว
พัฒนาทักษะการคิดของลูกด้วย “วินัยเชิงบวก”

หากกล่าวถึง “การสร้างวินัยให้กับลูก” หลายคนคงนึกถึงการกำหนดกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัด มีบทลงโทษเพื่อให้จดจำ เช่น การดุ การตีด้วยมือหรือไม้เรียว เพราะเชื่อว่าเมื่อเด็กรู้สึกเจ็บปวด พวกเขาจะไม่ทำพฤติกรรมเดิมอีก เหมือน “คำสั่ง” ที่พ่อแม่ผู้หวังดีเลือกใช้กับลูกของตัวเอง แต่หากมองอีกมุมหนึ่ง บทเรียนที่เด็กได้รับ อาจน้อยนิดเมื่อเทียบกับความเจ็บ และบาดแผลที่ติดตัวไปก็เป็นได้

จะเป็นอย่างไร ถ้าเราเปลี่ยนการมองคำว่าวินัยจาก “การสั่ง” ให้กลายเป็น “การสอน” ?

ปัจจุบัน การเลี้ยงลูกน้อยวัย 3-5 ปีด้วยวิธี “Positive Parenting” กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากเป็นวิธีที่ช่วยให้เด็กเล็กได้ฝึกการคิด วิเคราะห์ และพัฒนาตนเองอย่างสร้างสรรค์ไปพร้อมกับพ่อแม่ ซึ่งหนึ่งในวิธีการเหล่านั้น คือ การสร้างวินัยเชิงบวก หรือ Positive Discipline ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในการฝึกทักษะให้ลูกของคุณกลายเป็นเด็กที่เรียนรู้วินัยด้วยตนเอง สามารถมีพัฒนาการทางด้านความคิดที่ก้าวกระโดด และเผชิญหน้ากับปัญหาหลากหลายรูปแบบได้ในชีวิตประจำวัน

รู้จัก “EF (Executive Function)” ทักษะความคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ

ขอบคุณภาพถ่ายโดย Pragyan Bezbaruah

ก่อนจะไปดูวิธีการสร้างวินัยเชิงบวก เราขอพูดถึงชุดกระบวนการทางความคิดที่เรียกว่า “EF หรือ Executive Function” ซึ่งเกิดจากการพัฒนาของสมองส่วนหน้า และจะพัฒนาได้ในทุกเพศ ทุกวัย แต่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในเด็กวัย 3-5 ปี โดยเฉพาะด้านความจำ การคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหา และการควบคุมอารมณ์ของตัวเอง แถมเด็กที่มีทักษะทางความคิด หรือ EF จะประสบความสำเร็จได้มากกว่าเด็กที่ไม่มี EF หรือเด็กที่พัฒนาทักษะนี้เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่

เมื่อวิธีการสร้างวินัยส่งผลต่อ EF (Executive Function) ของลูก

สำหรับการสร้างวินัยให้กับลูกก็ส่งผลต่อ EF เช่นเดียวกัน โดยการใช้ความรุนแรงจนเด็กได้รับความเจ็บปวดทั้งทางกาย และจิตใจ จะทำให้เด็กจะลดความเชื่อมั่นในตัวเอง (Self-esteem) ลง และกลายเป็นคนที่ไม่กล้าตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ไม่มั่นใจที่แก้ปัญหาด้วยตัวเอง และไม่ค่อยยืดหยุ่นกับการลองหาคำตอบด้วยวิธีใหม่ ๆ อีกทั้งเด็กที่ถูกลงโทษด้วยความรุนแรงนั้น มีแนวโน้มจะเติบโตไปเป็นคนที่ใช้ความรุนแรงกับผู้อื่น รวมถึงอาจเกิดภาวะซึมเศร้าเมื่อก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่อีกด้วย

ในขณะที่งานวิจัยจำนวนมากกล่าวว่า การสร้างวินัยในเชิงบวกที่ไม่จำเป็นต้องมีความรุนแรงนั้นจะทำให้เกิด EF ได้มากกว่า และสามารถเริ่มต้นง่าย ๆ ได้ด้วยการปรับเปลี่ยนชุดความคิดของผู้ปกครอง โดยเปลี่ยนจากคำว่าพ่อแม่ที่เป็น “สถานะ” มาเป็น “หน้าที่” และมองว่า หากจะเลี้ยงลูกอย่างสร้างสรรค์ และมีความสุข คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะพัฒนาตนเองไปพร้อมกับลูกน้อยของตน เหมือนกับการเล่นกีฬาเป็นทีม ที่ผู้เล่นทุกคนมีความสำคัญ เคารพกันและเชื่อใจกันและกัน มากกว่าการเลี้ยงดูด้วยอำนาจของพ่อแม่ที่ต้องการควบคุมลูกให้อยู่ภายใต้คำสั่งเพียงอย่างเดียว โดยมีหลักการง่าย ๆ อยู่ 2 อย่าง ได้แก่

1. ไม่มีคำว่า “เด็กไม่ดี” มีเพียงแค่ “เด็กที่มีพฤติกรรมไม่ดี”

คุณพ่อคุณแม่จะต้องเชื่อก่อนว่า ลูกของคุณเป็นเด็กคนหนึ่งที่สามารถทำตัวไม่น่ารักได้ ดื้อได้ตามวัยของพวกเขา และสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้นได้ผ่านการเลี้ยงดูที่ถูกวิธี

2. เคารพความคิดเห็นของลูก เหมือนเขาเป็นมนุษย์คนหนึ่ง

ไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ ทุกวัยย่อมมีความคิดเป็นของตัวเอง การเปิดใจรับฟังความคิดของพวกเขาจะทำให้พ่อแม่ได้รับความไว้วางใจจากลูกมากขึ้น เมื่อพ่อแม่รับฟังลูกอย่างเข้าใจ เด็ก ๆ ก็จะยอมรับสิ่งที่พ่อแม่สื่อสารกับเขาเช่นเดียวกัน

ขอบคุณ ภาพถ่ายโดย Ketut Subiyanto

เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวก เพื่อนำไปสู่ทักษะ Executive Function 

วิธีสร้างวินัยเชิงบวก เพื่อให้เกิด EF นั้นสามารถทำได้ง่าย ๆ เช่น

  • ชื่นชมหรือขอบคุณเวลาที่เด็กทำพฤติกรรมที่เหมาะสมแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย เช่น ขอบคุณที่ตื่นเช้ามาแต่งตัวเอง
  • เมื่อเด็กไม่ยอมรับฟัง ให้เสนอทางเลือกเพื่อให้เขาตัดสินใจด้วยตัวเอง (พ่อแม่พึงระวังว่าจะต้องรักษาสัญญาเมื่อเด็กได้เลือกตัวเลือกใดแล้ว)
  • ใช้วิธีการเบี่ยงเบนความสนใจจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น เมื่อลูกกรี๊ดเสียงดังเพราะหงุดหงิด ให้ชวนดูสิ่งรอบตัวที่น่าสนใจกว่า

ขอบคุณข้อมูลจาก

ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

101 thai kids

Amarin baby kids

Moneyhub

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

พัฒนาการเด็ก
การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

พัฒนาการด้านอารมณ์สำคัญอย่างไรกับเด็กปฐมวัย

บทเรียนนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ความสำคัญของพัฒนาการ สมรรถนะตามวัย กิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ เน้นการทำกิจกรร ...

Starfish Academy
Starfish Academy
พัฒนาการด้านอารมณ์สำคัญอย่างไรกับเด็กปฐมวัย
Starfish Academy

พัฒนาการด้านอารมณ์สำคัญอย่างไรกับเด็กปฐมวัย

Starfish Academy
13206 ผู้เรียน
พัฒนาการเด็ก
การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...

Starfish Academy
Starfish Academy
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
Starfish Academy

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

Starfish Academy
6585 ผู้เรียน
ภาษาและการสื่อสาร
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
3:00 ชั่วโมง

How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ

การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...

ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)
ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)

How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ

ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)

ต้องใช้ 100 เหรียญ

เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
basic
2:00 ชั่วโมง

Collaborative classroom design

เรียนรู้ทักษะความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) หลักการออกแบบกิ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Collaborative classroom design
Starfish Academy

Collaborative classroom design

Starfish Academy

Related Videos

เทคนิคช่วยให้ลูกรักการอ่าน
02:36
Starfish Academy

เทคนิคช่วยให้ลูกรักการอ่าน

Starfish Academy
139 views • 5 ปีที่แล้ว
เทคนิคช่วยให้ลูกรักการอ่าน
ตอนที่ 2 ก้าวแรก   เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ
16:40
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
603 views • 4 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ
กลุ่มเด็กพิเศษ : การส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าและกลุ่มเด็กผู้มีความต้องการพิเศษ
03:57
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

กลุ่มเด็กพิเศษ : การส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าและกลุ่มเด็กผู้มีความต้องการพิเศษ

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
358 views • 3 ปีที่แล้ว
กลุ่มเด็กพิเศษ : การส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าและกลุ่มเด็กผู้มีความต้องการพิเศษ
ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน
11:57
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
224 views • 4 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน