เรื่องน่ารู้ของสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล
ปัจจุบันไม่ว่าจะหันไปทางไหน ก็มีแต่เรื่องสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะอาหารที่มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มาให้ได้ลองรับประทานอยู่ตลอดเวลา อาหารเพื่อสุขภาพมีหลายแบบ แต่รูปแบบที่เป็นที่นิยม คืออาหารที่ใช้ “สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล”
สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลคือ อะไร? รับประทานมากๆ แล้วดีไหม? และคำถามอื่นอีกมากมาย วันนี้เรามาทำความรู้จักสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลกันค่ะ โดยทั่วไปสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลจะแบ่งได้ เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่สารให้ความหวานแทนน้ำตาลชนิดที่ให้พลังงาน ได้แก่ ฟรุกโทส ซึ่งเป็นน้ำตาลจากผลไม้ มอลทิทอล ซอร์บิทอล และไซลิทอล สารให้ความหวานกลุ่มนี้ ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก และผู้ป่วยโรคเบาหวาน ส่วนสารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงานหรือให้พลังงานต่ำ ได้แก่ ซูคราโลส สตีเวีย แอสปาแตม อะซิซัลเฟม-เค แซคคารีนหรือที่เรียกว่าขัณฑสกร สารให้ความหวานกลุ่มนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก และผู้ป่วยโรคเบาหวาน สารให้ความหวานทั้ง 2 กลุ่ม มีทั้งแบบที่มาจากธรรมชาติและสังเคราะห์โดยวิธีการทางเคมี คราวนี้จะรักสุขภาพทั้งที มาทำความรู้จักสารให้ความหวานที่สามารถใช้ในอาหาร มาจากธรรมชาติ ใช้ได้ตามกฎหมายและค่อนข้างมีความปลอดภัยกันดีกว่า
1. หญ้าหวาน หนึ่งแหล่งความหวานยอดนิยม หญ้าหวาน หรือ สตีเวีย สามารถให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 250-300 เท่า เป็นความหวานที่ปราศจากแคลอรี่ และไม่มีผลกระทบต่อปริมาณน้ำตาลในร่างกาย ไม่สะสมในร่างกาย จึงเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนักหรือผู้ป่วยเบาหวาน
2. น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลกลุ่มนี้จะมีกลิ่นและรสชาติที่หอมหวาน น้ำตาลมะพร้าวสามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงขึ้นเร็วจนเกินไป ทำให้รู้สึกอิ่มนาน เป็นแหล่งความหวานที่ให้แคลอรี่ต่ำกว่าน้ำตาลทั่วไป และมีโพแทสเซียมช่วยควบคุมความดันโลหิต
3. หล่อฮั้งก้วย มีสารโมโกรไซด์ ซึ่งมีความหวานกว่าน้ำตาลประมาณ 150-300 เท่า เป็นพืชจีนโบราณที่มีสรรพคุณทางยาและมีแคลอรี่ต่ำ จึงนิยมนำหล่อฮั้งก้วยมาใช้เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเช่นเดียวกับหญ้าหวาน นอกจากนี้หล่อฮั้งก้วยมีสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญได้แก่ไกลโคไซด์และซาโปนิน ที่มีผลในการส่งเสริมสุขภาพต่างๆ
4. ชะเอมเทศ รากของชะเอมเทศมีสารไกลไซร์ริซิน ที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 50-100 เท่า จึงมีการนำรากชะเอมเทศไปใช้เพิ่มรสหวานในขนมและลูกอมได้ แต่ชะเอมเทศไม่นิยมใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและไม่ควรใช้ร่วมกับยาขับปัสสาวะ
สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลจากธรรมชาติจัดว่าเป็น “ความหวานทางเลือก” ที่เหมาะกับคนรักสุขภาพ แต่อย่างไรก็ตามเพื่อสุขภาพที่ดีอย่างสมบูรณ์แบบ ก็ควรเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและที่สำคัญ ควรปรับนิสัยในการติดหวาน เช่น รับประทานผลไม้แทนน้ำอัดลมและท่องไว้ในใจเสมอว่า “ขอหวานน้อย” แทนการใช้สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล แค่นี้เราก็จะมีรูปร่างสมส่วนและสุขภาพที่ดีไม่ตกเทรนด์แล้วค่ะ
เอกสารอ้างอิง
สารให้ความหวานจากธรรมชาติ. www.fostat.org/sweetener/
สารให้ความหวานแทนน้ำตาล : อัพเดตล่าสุด สิ่งที่ต้องคำนึงถึงและแนวทางการใช้. planforfit.com/
สารให้ความหวาน (Sweeteners) น้ำตาลเทียม (Artificial sweetener). s3.amazonaws.com/thai-healt%
Related Courses
แนะนำหลักสูตร well being
คอร์สเรียนนี้จะชวนให้ทุกคน กลับมาดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กๆ กันนะคะ เพราะทั้งสองเรื่องนี้ จะเป็นประโยชน์โดยตรง ...
ออกกำลังกายอย่างไรดีต่อสุขภาพ
การเรียนรู้เรื่องการออกกำลังกายอย่างไรดีต่อสุขภาพจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เริ่มต้นออกกำลังอย่างไรให้ถูกต้อง ประเภทการออกกำลังกา ...
สุขภาพเด็กวัยเรียนสำคัญอย่างไร
การเรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพของเด็กในวัยเรียนที่ครูและผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ พร้อมนำไปปรับใช้ให้มีความเหมาะสมกับเด็ก ในด้านก ...
ไอเดียทำขนมไม่ง้อเตาอบด้วยงบ 1,000 บาท
หากใครที่กำลังมองหาไอเดียทำขนมง่ายๆ โดยไม่ต้องใช้เตาอบและงบที่จำกัด ด้วยจำนวนเงินไม่เกิน 1,000 บาท คอร์สนี้เหมาะกับท่านแ ...
ไอเดียทำขนมไม่ง้อเตาอบด้วยงบ 1,000 บาท
ต้องใช้ 100 เหรียญ