มือถือ...ให้ลูก “พึ่งพา” แต่ไม่ “เสพติด”
มีข้อดีมากมาย ในการให้ลูก ๆ ได้ใช้สมาร์ทโฟน ทั้งสะดวกในการเรียนรู้ และ ติดต่อสื่อสาร แต่อะไรที่มากไป บางครั้งก็ก็นำไปสู่ผลลัพธ์ที่กลับกัน และ เราอาจจะไม่รู้ตัวเลยก็ได้
เช็คลูก ๆ ของคุณด้วยคำถามเหล่านี้
- ลูกของคุณมีอาการ โมโห ฉุนเฉียว วิตกกังวล หรือ ใช้ความรุนแรง เมื่อพวกเขาถูกแยกจากมือถือ หรือ ไม่สามารถใช้มือถือ หรือไม่ ?
- ลูกของคุณหลีกเลี่ยงกิจกรรมทางสังคม หรืกิจกรรมนอกหลักสูตร เพื่อเล่นมือถือหรือไม่?
- สมาร์ทโฟนได้ส่งผลไปในทางลบกับ การดูแลความสะอาด , มิตรภาพกับเพื่อน , ความสัมพันธ์ในครอบครัว หรือ การเรียน ของลูกหรือไม่?
- การใช้สมาร์ทโฟนของลูกรบกวนเวลานอนของพวกเขาหรือไม่?
- มีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการกินของลูกที่ไม่สามารถอธิบายได้หรือไม่?
- มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของลูกที่ไม่สามารถอธิบายได้หรือไม่?
เอาชนะการติดสมาร์ทโฟนได้อย่างไร?
หลาย ๆ ท่านอาจจะคลับคล้ายคลับคลาว่าลูก ๆ มีอาการ แต่ก็ยังไม่สามารถตอบได้ชัดเจน...ดังนั้นเรามาดูวิธีเอาชนะอาการเหล่านี้ ถึงแม้ลูก ๆของท่านอาจไม่มีอาการ หรือไม่ทั้งหมด แต่สิ่งเหล่านี้ก็คือวิธีที่ดี และ ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ดี
1. มอบความรู้ให้พวกเขา
เรื่องธรรมดาของผู้ปกครอง ในการให้ความรู้ ให้คำแนะนำ และเรื่องนี้ก็เช่นกัน… ลองถามพวกเขาเรื่องของข้อดี และ ข้อเสียในการใช้สมาร์ทโฟน รับฟังพวกเขา และนำไปถึงการพูดคุยเรื่องของการใช้เวลาอยู่กับหน้าจอที่มากเกินไปจะเกิดอะไรขึ้น ทั้ง ด้านอารมณ์ ด้านกายภาพ ด้านการเรียนรู้ รวมถึงด้านสังคม ซึ่งเราจะใช้สมาร์ทโฟนอย่างมีความรับผิดชอบต่อตัวเองได้อย่างไร?
2. สร้างลิมิตในการใช้งาน
ลิมิตในการใช้ที่ดีต่อสุขภาพ หรือข้อจำกัดการใช้สำหรับครอบครัว ช่วงเวลาในการใช้เวลาอยู่ด้วยกัน เราสามารถคุยกันได้ว่าเราจะ “ใช้เวลาด้วยกันจริง ๆ ” เช่น ข้อตกลงในการไม่เล่นมือถือเมื่อถึงเวลาทานข้าวด้วยกัน แต่อย่าลืม ว่าไม่ใช่แค่ลูก ๆ ของคุณที่จะไม่ใช้มัน ทุกคนในครอบครัวจะต้องใช้เวลาด้วยกัน และเป็นตัวอย่างที่ดีให้พวกเขาอีกทางหนึ่งด้วย อย่าก้มหน้ามากไปเมื่อคุณอยู่กับพวกเขา !
3. มาตราการก่อนนอน
นำ มือถือ, แท็บเล็ต, โน๊ตบุ๊ค ออกจากห้องนอนในตอนกลางคืน เพื่อสร้างเวลานอนที่ดี ทั้งยังช่วยลดการถูกรบกวน และ อาการนอนไม่หลับ อาจจะยากในช่วงแรก แต่สร้างผลลัพธ์ที่ดีในการสร้างตารางนอนที่ดีต่อสุขภาพให้พวกเขา
4. สร้างพื้นที่ปลอดเวลาหน้าจอ
ช่วงทานอาหาร ,งานพบปะครอบครัว หรือ ตอนออกไปข้างนอกด้วยกัน ทำความตกลงในการงดใช้เวลาอยู่กับหน้าจอ การเช็คมือถือบ่อย ๆ ส่งผลในแง่ลบต่อความสัมพันธ์ และตัวลูก ๆ
5. สร้างเอง ก็ต้องทำได้ !
ในฐานะผู้ปกครอง พ่อแม่ เราก็ต้องทำเป็นตัวอย่างให้พวกเขา อย่าลืมว่าหลาย ๆสิ่งที่เขาเรียนรู้ ก็มาจากตัวพวกคุณ
ขอบคุณข้อมูลจาก
www.psycom.net/cell-phone-internet-addiction#howtohelpyourkids
Related Courses
สุขภาพเด็กวัยเรียนสำคัญอย่างไร
การเรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพของเด็กในวัยเรียนที่ครูและผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ พร้อมนำไปปรับใช้ให้มีความเหมาะสมกับเด็ก ในด้านก ...
สิ่งเล็กๆที่สร้างลูกคุณ
การจะเป็นพ่อแม่ที่ดีนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่ใช่เรื่องยากเสมอไป ลูกๆ ต้องการแค่แบบอย่างที่ดี เพราะพ่อแม่คือต้นแบบในการดำเนินชี ...
พื้นฐานการใช้เทคโนโลยี สำหรับครูยุคใหม่
หลักสูตรเพื่อก้าวสู่การครูยุคใหม่ซึ่งมีทักษะพื้นฐานทางดิจิทัลและความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในนำมาใช้ในการผลิตสื่อ ...
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...