เช็กลิสต์ก่อนปลุกลูกเรียนออนไลน์ 5 เคล็ดลับ พ่อแม่ทำตามแล้ว ลูก ๆ ไม่มีนั่งเหม่อ
ในช่วงเวลานี้ ความกังวลหลัก ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองหลายคนเจอแน่นอนว่าคือปัญหาเกี่ยวกับการเรียนออนไลน์ของลูก “ลูกเรียนออนไลน์ไม่รู้เรื่อง,” “ลูกเรียนออนไลน์ แล้วเครียด” และอีกหลากหลายปัญหามากมายที่หลาย ๆ ครั้งคุณพ่อคุณแม่ก็เริ่มหมดหวัง ท้อแท้ ที่จะแก้ ควรทำอย่างไร ควรสนับสนุน หรือช่วยเหลือลูกอย่างไรให้อย่างน้อยที่สุด ลูกก็รู้สึกอยากที่จะตื่นขึ้นมาเรียน การสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ การกระตุ้นให้เด็กอยากเรียนหรือตั้งใจเรียน โดยหลักแล้วอาจไม่ใช่หน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่เสียทีเดียว หากแต่ควรเป็นของคุณครู, โรงเรียน, หรือสถาบัน แต่ก็ไม่ใช่ว่าคุณพ่อคุณแม่อย่างเรา ๆ จะทำอะไรไม่ได้เลย กลับกัน ในช่วงการเรียนออนไลน์ บทบาทของพ่อแม่ในฐานะคุณครูคนที่สองหรือกองหนุนคอยซัพพอร์ตการเรียนของลูกยิ่งกลายเป็นหน้าที่ที่สำคัญยิ่งกว่าเดิมขึ้นมา แต่พ่อแม่จะทำอะไรได้บ้าง? โดยเฉพาะในช่วงเวลาเช้า ๆ ก่อนปลุกลูกเรียน ซึ่งถือเป็นช่วงเวลา เป็นสภาพแวดล้อมที่สำคัญและอาจตัดสินสภาพอารมณ์และแรงจูงใจในการเรียนของลูกตลอดวันได้เลย เคล็ดลับอยู่ใน 5 ข้อง่าย ๆ ด้านล่างนี้ที่ Starfish Labz ได้รวบรวม คัดเลือก และนำมาฝากคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองทุกคนแล้ว จะมีข้อใดน่าสนใจ น่านำมาลองปรับใช้กับเราและลูกกันบ้าง มาดูกันเลย
1. เตรียมลูกให้พร้อม อาจหมายถึงการเตรียมตัวคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองให้พร้อมก่อน
หลาย ๆ ครั้ง สาเหตุที่เราไม่สามารถตระเตรียมสภาพแวดล้อมที่ดี และเหมาะสมให้กับลูกก่อนเริ่มเรียนได้ ก็ไม่ใช่เพราะสาเหตุใด แต่เพราะเราเองก็ “ไม่ได้พร้อม” ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ ที่จะเริ่มต้นหรือสร้างวันใหม่ในการเรียนรู้และดำรงอยู่ที่ดี ๆ ให้กับลูก การเป็นพ่อแม่แสนเหนื่อย มีภาระมากมายที่ต้องการจัดการ บางครั้ง เราก็เริ่มต้นวันอย่างเท่าที่เราไหว ปลุกให้ลูกอาบน้ำ กินข้าว และให้เขานั่งรอหน้าจอคอมในทันใด แต่ถ้าหากเราลองค่อย ๆ ปรับที่ตารางตัวเองก่อน จัดสรรเวลาในช่วงเช้าให้ตัวเองได้มีโอกาสดูแล และตระเตรียมตัวเองทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจก่อน สิ่งที่เราทำให้ลูกในแต่ละวันก่อนเริ่มเรียนก็จะเป็นสิ่งที่เราอยากทำ ตั้งใจทำ มีคุณค่า และมีความหมายจริง ๆ เช่น จากมื้อเช้าโดยทั่วไป ก็อาจจะกลายเป็นมื้อเช้าทั้งที่เป็นเมนูโปรดของลูกและดีต่อสุขภาพของเขา หรือ การต้องคอยอาบน้ำและแต่งตัวให้ลูก (ในกรณีของเด็กเล็ก ๆ) ก็อาจจะกลายเป็นกิจกรรมที่เราและลูกทำร่วมกันได้อย่างรู้สึกเหนื่อย น่าเบื่อ หรือในหลาย ๆ ครั้งก็เกิดความหงุดหงิดน้อยลง ปัจจัยก่อนเหล่านี้ อาจดูเหมือนเป็นปัจจัยเล็ก ๆ ที่ไม่ได้สลักสำคัญ แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันคือส่วนหนึ่งของการเตรียมพร้อมเริ่มต้นวัน ของความใส่ใจ ซึ่งจะเป็นไปไม่ได้เลย หรือทำออกมาไม่ได้เลย หากคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้มอบหรือสร้างเวลาที่มีคุณภาพ (Quality time) ในช่วงเช้าให้กับตัวเองก่อน
2. สร้างสรรค์จุด, พื้นที่, บริเวณในการเรียนออนไลน์ของลูกให้ปลอดโปร่ง โล่งตา และที่เอื้อต่อการเรียนรู้
คำถามที่คุณพ่อคุณแม่อาจถามตัวเอง เพื่อประเมินการจัดเตรียมของตัวเองให้กับลูกในข้อนี้ อาจประกอบด้วย ลูกมีจุดหรือบริเวณของการเรียนที่แน่ชัด เฉพาะเจาะจง หรือเฉพาะที่ของเขาหรือเปล่า? บริเวณที่ลูกนั่งเรียนปลอดโปร่ง สบายตา ช่วยเอื้อให้เขารู้สึกผ่อนคลายในระหว่างการเรียนที่อาจเครียด และน่ากังวลไหมหรือเต็มไปด้วยกองพะเนินของสิ่งต่าง ๆ? จุดที่ลูกนั่งเรียนเงียบเพียงพอหรือเปล่า หรือมีเสียงรบกวนอยู่ตลอดเวลา? หลาย ๆ ปัจจัยในเรื่องสภาพที่อยู่หรือบริเวณที่เรียน ก็อาจจะเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ปรับไม่ได้ นอกเหนือการควบคุม หรือความสามารถ แต่ Starfish Labz เชื่อว่ามันจะต้องมีบางปัจจัยอย่างแน่นอนที่คุณพ่อคุณแม่เล็งเห็นและสามารถปรับปรุง แม้เพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อลูกได้
3. แบ่งเวลาสักนิด ให้กำลังใจพูดคุยกับลูกก่อนเริ่มเรียน
บางครั้ง สิ่งเดียวที่ลูกต้องการในการเรียนแต่ละครั้งก็อาจไม่ใช่สิ่งที่อื่นใด ๆ เลยนอกจากคำพูดให้กำลังดีจาก ๆ คุณพ่อคุณแม่หรือคนในครอบครัวก่อนเริ่มเรียน คำให้กำลังใจ หรือคำกล่าวที่จะช่วยให้เขารู้สึกว่า ไม่ว่าวันนี้จะเป็นอย่างไร จะเรียนรู้เรื่อง จะทำข้อสอบ หรือตอบคำถามคุณครูได้ดีหรือเปล่า เขาก็จะยังคงมีครอบครัวคอยเป็นกำลังใจ ช่วยเหลือ และแบกรับทุก ๆ ความผิดหวังที่อาจเกิดในบางวันและความเหนื่อยล้าจากการเรียนในทุก ๆ วันของเขาอยู่เสมอ
4. กิจกรรมพิเศษหรือคำชมหลังเรียนเสร็จ: แรงซัพพอร์ตในรูปของ “แรงจูงใจ” และ “รางวัล”
นั่งทำงานอยู่ที่ออฟฟิศดี ๆ คุณพ่อคุณแม่เคยไหมคะ ลูกโทรมาบอกว่าขอกลับบ้านเย็นหน่อย วันนี้อยากไปกินฉลองกับเพื่อน ร้องคาราโอเกะ หรือทำกิจกรรมใด ๆ ก็ตามที่เขารู้สึกว่าเปรียบเสมือนรางวัลในการเรียนมาอย่างแสนเหน็ดเหนื่อยตลอดวันของพวกเขา กิจกรรมหรือสิ่งเหล่านี้ อันที่จริงแล้ว เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรืออาจจะใช้คำว่าเป็น “วงจร” ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติในการเรียนที่โรงเรียนเลยก็ว่าได้ (ตื่นไปโรงเรียน, เรียนให้เต็มที่, และเล่นสนุกให้สุด ๆ หลังเลิกเรียน) แต่เมื่อมาอยู่ในรูปของการเรียนออนไลน์ มันจึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “พาร์ทแห่งแรงจูงใจและรางวัล” หลังการเรียนนี้ของเด็ก ๆ โดยเฉพาะในเด็กโตที่การเรียนของพวกเขาเริ่มหนักขึ้นเรื่อย ๆ หายไป พวกเขาไม่สามารถรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ๆ เดินทางไปในที่ต่าง ๆ และใช้เวลาปลดปล่อยความเครียดร่วมกันเหมือนอย่างเคยและอย่างแทบในทุก ๆ วันหลังเลิกเรียน และการสะสมการอยู่คนเดียว ๆ มากตลอดเวลาก็อาจยิ่งทำให้พวกเขารู้สึกหดหู่ ท้อแท้ และหมดแรงใจที่จะเรียน
สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ทำได้ จึงอาจไม่ใช่การต้องพาลูกไปเที่ยวเล่นหรือทำกิจกรรมอะไรพิเศษอยู่เสมอในทุก ๆ ครั้งหลังเรียนเสร็จ แต่อาจเป็นคำชมที่มาจากใจ กิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ หรืออย่างน้อยก็ควรมีสัก 1 หรือ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ที่เป็นกิจกรรมใหญ่ ๆ ที่จะช่วยเติมเต็มส่วนแห่งรางวัลหลังการเรียนที่พวกเขารู้สึกขาดหาย เพียงแค่นี้ Starfish Labz เชื่อว่า หลอดปริมาตรแห่งความสุขในวัยแห่งการเรียนของเด็ก ๆ ก็ค่อย ๆ ขยับเพิ่มระดับขึ้นแล้วค่ะ
5. เมื่อหมดวันแล้ว อย่าลืมถามไถ่ความรู้สึกลูก ประสบการณ์การเรียนในวันนี้ และสิ่งที่ลูกอาจอยากระบาย อยากให้เราช่วยเหลือในการเรียนครั้งต่อ ๆ ไป
การเรียนในทุก ๆ วันมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นกับเพื่อน กับบทเรียน หรือกับคุณครู ยิ่งเป็นในรูปแบบออนไลน์ โอกาสที่ปัญหาจะเกิดขึ้นก็ยิ่งทวีคูณ การแบ่งเวลาสักเล็กน้อยก่อนลูกเข้านอน ถามไถ่ถึงวันของลูก ประสบการณ์ ความรู้สึก หรือสิ่งที่เขาอาจอยากระบายจากการเรียน ถือเป็นอีกหนึ่งข้อสำคัญที่ไม่เพียงช่วยให้คุณพ่อแม่เห็น และเข้าใจถึงสภาพโดยรวมในแต่ละวันของลูก แต่ยังช่วยให้ลูกได้ระบายสิ่งต่าง ๆ ที่เขาอาจรู้สึกมาตลอดวันแต่พูดกับใครไม่ได้ บางที ก็อาจเป็นเรื่องของเพื่อน เรื่องของคุณครู หรือบทเรียน แต่สิ่งสำคัญในข้อนี้คือ คุณพ่อคุณแม่ฟังแล้ว อาจต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า หลาย ๆ ครั้งเด็ก โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่น หากไม่ใช่ปัญหาที่หนักหนาจริง ๆ ก็อาจเพียงแค่อยากระบาย และเขาก็อาจจะไม่ได้อยากให้เราเข้าไปช่วยแก้ปัญหา หน้าที่ที่สำคัญของพ่อแม่ในช่วงเวลาหลังเรียนเสร็จนี้ จึงไม่ควรเป็น “ผู้พยายามปรับปรุงหรือแก้ไขทุก ๆ สิ่ง” เสียทีเดียว แต่ควรเป็น “ผู้ฟังที่ดี” และ “ผู้พร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือ” หากลูกต้องการเสียมากกว่า หน้าที่ที่สำคัญของพ่อแม่ในข้อนี้ ในช่วงเวลาหลังเรียนเสร็จนี้ จึงไม่ควรเป็น “ผู้พยายามปรับปรุงหรือแก้ไขทุก ๆ สิ่ง” เสียทีเดียว แต่ควรเป็น “ผู้ฟังที่ดี” และ “ผู้พร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือ” หากลูกต้องการเสียมากกว่า การคุยกับลูกในลักษณะของผู้ฟังที่ดีมากกว่าผู้พยายามแก้ทุกสิ่ง คือการสร้างพื้นที่ที่ปลอดภัยให้กับลูกในการเล่าทุก ๆ สิ่งที่ที่เขาอาจอยากเล่าให้ใครสักคนฟัง พื้นที่ที่ความเห็นของเขาถูกเคารพ พื้นที่ความเป็นส่วนตัวของเขาถูกยอมรับ Starfish Labz เชื่อว่าหากคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองลองทำตามสักข้อใดข้อหนึ่งในที่ว่ามานี้ การเรียนในแต่ละวันของลูก ๆ จะต้องมีพัฒนาการค่อย ๆ ดีขึ้น รู้สึกเครียดน้อยลง และมีความสุขในการเรียนมากขึ้นอย่างแน่นอน
อ้างอิง
- https://www.connecticutchildrens.org/back-to-school/10-steps-to-a-better-morning-get-your-child-into-a-school-routine-for-both-classroom-and-distance-learning/
- https://www.click2houston.com/health/2020/07/20/back-2-school-ways-to-prepare-children-to-wake-up-early-for-class-whether-online-or-in-person/
- https://www.commonsensemedia.org/blog/keeping-kids-motivated-for-online-learning
Related Courses
Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน
Starfish แหล่งเครื่องมือช่วยครูในจัดการชั้นเรียนที่หลากหลาย เช่น Starfish Labz, Starfish Class แบบเว็บไซต์ และแ ...
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...
การสร้างรายได้จากสติกเกอร์ Line
เมื่อยุคเปลี่ยนไปการสื่อสารกันในชีวิตประจำวันเปลี่ยนตาม จากการพูดคุยกลายเป็นการพิมพ์คุยกัน การสร้างสติกเกอร์ไลน์จึงเป็นอาชีพ ...
การเรียนรู้ในห้องเรียนสำหรับนักสร้างสรรค์และการประเมินผู้เรียนด้วยแฟ้มสะสมงาน
หลักสูตรสำหรับครูที่ต้องการพัฒนาความรู้และทักษะในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ผ่านกิจกรรมพื้นที่สำหรับนักสร้างสรรค์ ...