4 วิธีช่วยลูกต่อสู้กับ Unfinished Learning เรียนออนไลน์ยังไงให้เข้าใจและเข้าหัว
ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา สังคมโลกถูกท้าทายด้วยบททดสอบที่ไม่มีใครคาดคิด นั่นคือ การระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมาเกือบ 2 ปีแล้ว ก็ยังไม่มีทีท่าว่าวิกฤติครั้งนี้จะจบลงง่ายๆ
ครั้งแล้วครั้งเล่าที่โรงเรียนถูกประกาศเลื่อนการเปิดเทอม New Normal ของเด็กๆ ยุคนี้ คือการเรียนออนไลน์ที่แทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตไปเสียแล้ว แม้ว่าทุกฝ่ายพยายามหาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของเด็กๆ ในโรงเรียน แต่ด้วยข้อจำกัดหลายๆ ด้าน สิ่งที่ดีที่สุดก็อาจยังไม่เพียงพอ
Unfinished Learning เรื่องจริงของการเรียนยุคโควิด
แม้ว่าภาครัฐและสถาบันการศึกษาต่างๆ พยายามหาทางออกให้นักเรียนยังคงเรียนรู้ได้แม้ต้องเผชิญกับภาวะโรคระบาด แต่กระนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเรียนออนไลน์ ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นทางออกนั้น ในแง่หนึ่งก็กลายเป็นปัญหาใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ เพราะไม่ใช่ว่าเด็กทุกคนจะเหมาะกับการเรียนออนไลน์ อีกทั้ง การไม่ได้ไปโรงเรียนเป็นระยะเวลานานยังอาจส่งผลกระทบต่อทักษะการเข้าสังคม พัฒนาการด้านต่างๆ รวมทั้งข่าวคราวของโรคระบาด ก็ยังอาจส่งผลให้เด็กมีภาวะเครียด กังวล ส่งผลต่อสุขภาพจิตโดยรวมด้วย
ข้อมูลจาก Mckinsy & Company ระบุผลสำรวจโรงเรียนในสหรัฐฯ พบว่าจากการระบาดใหญ่ในช่วงสองปีที่ผ่านมาส่งผลต่อเด็กนักเรียนในระดับ K.12 อย่างชัดเจน โดยเฉพาะทักษะด้านคณิตศาสตร์และการอ่าน โดยพบว่าทักษะการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนช้าไปประมาณ 5 เดือน และทักษะการอ่านช้าไปประมาณ 4 เดือน
นอกจากนี้ยังพบว่า เด็กนักเรียนที่มาจากครอบครัวรายได้ต่ำ หลุดออกจากระบบการศึกษาจำนวนมาก ส่งผลต่อเนื่องให้เด็กกลุ่มนี้เสียโอกาสในการเข้าทำงานในบริษัทที่ดีเพื่อเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว
Unfinished Learning คือคำที่ใช้นิยามสภาพความเป็นจริงของเด็กนักเรียนทั่วโลกที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้จบตามเวลาที่เหมาะสม เด็กที่เรียนออนไลน์ อาจ
เผชิญกับภาวะการเรียนรู้ถดถอย สูญเสียทักษะและความรู้ที่เคยมีมาก่อน เด็กส่วนใหญ่เรียนรู้น้อยลงกว่าที่ควรในปีการศึกษา แต่ก็ไม่สำคัญเท่ากับการที่เด็กได้เลื่อนชั้นไปสู่ระดับที่สูงขึ้นโดยไม่มีความพร้อมมากพอสำหรับการเรียนรู้ในขั้นที่สูงขึ้นไป
สำหรับในประเทศไทย จากการสำรวจโดย กสศ.และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พบว่า มีเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาประมาณ 43,060 คน ในจำนวนนี้พบว่าเด็กที่หลุดจากระบบการศึกษามักเกิดขึ้นในช่วงรอยต่อ คือ จากระดับอนุบาลขึ้นชั้น ป.1 เด็กหลุดจากระบบ 4% ส่วนระดับชั้น ป.6 ขึ้น ม.1 หลุดจากระบบ 19% ส่วนชั้น ม.3 ขึ้น ม.4 หลุดจากระบบ 48% ส่วนระดับมหาวิทยาลัยจะเกิดปรากฎการณ์คือ จากเด็ก 650,000 คนทั่วประเทศ เข้ามหาวิทยาลัยได้ประมาณ 300,000 คนเท่านั้น และคาดการณ์ว่าหากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นภายในสิ้นปี 2565 จะมีเด็กหลุดจากระบบการศึกษา จาก 43,000 คน เพิ่มเป็น 56,000 คน
Learning Loss การเรียนถดถอยปัญหาเด็กยุคโควิด
เนื่องจากสภาพการเรียนแบบ Unfinished Learning ที่ส่งผลกระทบต่อนักเรียนทั่วโลก สิ่งที่ตามมาก็คือภาวะ Learning Loss หรือภาวะการเรียนรู้ถดถอย ที่มีสาเหตุมาจากรูปแบบการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไป ชั่วโมงเรียนลดน้อยลง ขาดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างผู้สอนและนักเรียน เมื่อเป็นเช่นนี้ นอกจากการป้องกันลูกจากโรคระบาดแล้ว พ่อแม่ในยุคนี้ก็ยังต้องช่วยลูกแก้ปัญหาภาวะการเรียนรู้ถดถอยที่อาจเกิดขึ้นด้วย
การเรียนรู้ถดถอย เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้เมื่อการเรียนรู้ของเด็กๆ ต้องหยุดชะงักด้วยเหตุผลบางประการ เช่น โรคระบาด ที่ทำให้โรงเรียนเปิดสอนไม่ได้ตามปกติ ทำให้ทักษะต่างๆ ที่เด็กควรได้รับการพัฒนาตามช่วงวัยได้รับผลกระทบไปด้วย แม้จะมีการเรียนออนไลน์ แต่ก็รูปแบบการเรียนออนไลน์นั้นก็ไม่เอื้อต่อการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่างๆ ของเด็กได้อย่างครบถ้วน
เด็กบางคนจากที่เคยเข้าสังคมได้ดี เมื่อเรียนออนไลน์ที่บ้านนานๆ ผนวกกับการได้รับรู้ข่าวคราวโรคระบาด หากต้องออกจากบ้านไปพบผู้คนหรือกลับไปเรียน
อีกครั้ง ก็อาจกลายเป็นเด็กวิตกกังวล กลัวการเข้าสังคม ทำให้ต้องเริ่มปรับตัวใหม่หรือเด็กบางคนที่กำลังเรียนได้ดี แต่เมื่อหยุดเรียน มีการปรับเนื้อหาและรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ อาจทำให้เด็กๆ ปรับตัวรับกับรูปแบบการเรียนใหม่ไม่ทัน ส่งผลให้ผลการเรียนตกลงจากเดิมได้
ผลกระทบของโควิด-19 จึงไม่ได้เกิดกับผู้ที่ได้รับเชื้อเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อนักเรียนและระบบการศึกษาทั่วโลกด้วย
การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)
ช่วยลูกรับมือการเรียนแบบครึ่งๆ กลางๆ ก่อนสายเกินไป
- ช่วยปรับตารางเวลาและสภาพแวดล้อม แม้ต้องเรียนออนไลน์ แต่การปรับตารางกิจวัตรประจำวันให้ใกล้เคียงกับการไปโรงเรียน เช่น เวลาตื่นนอน กินอาหารเช้า จะทำให้ร่างกายของลูกคุ้นเคย พร้อมสำหรับการเรียน นอกจากนี้ ควรปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ มีโต๊ะเก้าอี้นั่งอย่างเป็นกิจลักษณะ ไม่มีเสียงรบกวน ก็จะช่วยทำให้ลูกมีสมาธิในการเรียนเพิ่มขึ้นได้
เลี้ยงลูกยุคใหม่ ด้วยวินัยเชิงบวก
- ทำหน้าที่เป็นโค้ช แม้ว่าการเรียนการสอนจะเป็นหน้าที่ระหว่างครูกับนักเรียน แต่ในช่วงสถานการณ์ไม่ปกติ พ่อแม่ผู้ปกครองควรทำหน้าที่เป็นโค้ช ถามไถ่ความเป็นไปของการเรียนออนไลน์ในแต่ละวัน ดูว่าลูกมีงานที่รับมอบหมายมีอะไรบ้าง มีสิ่งใดที่ลูกไม่เข้าใจหรือคิดว่าเป็นปัญหาในการเรียนออนไลน์ พ่อแม่อาจทำหน้าที่ช่วยประสานระหว่างเด็กๆ กับครู เพื่อทำให้การเรียนเป็นไปอย่างราบรื่น
- ตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ การเรียนออนไลน์อาจส่งผลกระทบต่อผลการเรียนของลูก พ่อแม่ควรชวนลูกมานั่งคุยและตั้งเป้าหมายร่วมกันในแต่ละวิชา ว่ามีความคาดหวังอย่างไร และในความจริงทำได้ตามที่หวังมากแค่ไหน ซึ่งพ่อแม่อาจต้องคุยกับครูถึงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละวิชา เพื่อช่วยให้ลูกทำได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
เคล็ด (ไม่) ลับ ชวนลูกรักตั้งเป้าหมายชีวิต
- ชื่นชมสิ่งที่ก้าวหน้า แม้ว่าเด็กๆ อาจเผชิญภาวะการเรียนรู้ถดถอย แต่ในอีกด้านหนึ่ง เด็กๆ ก็อาจค้นพบทักษะใหม่ๆ ที่ไม่เคยรู้ว่าตนเองมี เช่น การเรียนรู้ด้วยตนเอง มีวินัยสามารถจัดตารางอ่านหนังสือและทำรายงานได้เอง ฯลฯ มองหาสิ่งที่ดีๆ ที่ลูกมีความก้าวหน้าเพื่อชื่นชมและให้กำลังใจ ช่วยให้เด็กๆ มีแรงฮึดสู้ให้ผ่านช่วงการเรียนรู้ท่ามกลางวิกฤติไปได้
สุดท้ายแล้ว การเรียนรู้ถดถอย อาจเป็นภาวะที่เด็กหลายคนทั่วโลกต้องเผชิญ อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ไม่ควรตื่นตระหนก แต่ควรทำความเข้าใจเพื่อหาทางรับมือและให้ความช่วยเหลือให้เด็กๆ ผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไปได้ในที่สุด
แหล่งอ้างอิง (Sources):
Related Courses
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...