จุดประกายไอเดีย สร้างสรรค์นวัตกรรมผ่าน Makerspace

Starfish Academy
Starfish Academy 212 views • 3 วันที่แล้ว
จุดประกายไอเดีย สร้างสรรค์นวัตกรรมผ่าน Makerspace

นางนัยณา เอี่ยมสวัสดิ์ (ครูนา) ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนอนุบาลพิษณุโลก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 

จากที่ได้พูดคุยกับคุณครูนานั้น ครูนาได้ให้ข้อมูลกับผู้เขียนว่า ครูนาเป็นครูประจำชั้นระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยครูนาจะสอนวิชาภาษาอังกฤษเป็นหลัก ซึ่งหลังจากที่ได้มาดูงานที่โรงเรียนปลาดาวและเข้าร่วมอบรม Makerspace แล้วนั้น ทางโรงเรียนก็มีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดสร้างห้อง Makerspace ให้ตอบโจทย์กับการสร้างพื้นที่ในการเรียนรู้ โดยมีการจัดตารางการใช้ห้องที่ชัดเจน ในช่วงแรก ๆ ครูนาได้นำกระบวนการ STEAM Design Process ไปใช้กิจกรรม Special Class ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งเป็นกิจกรรมหลังเลิกเรียนระหว่างที่รอผู้ปกครองมารับกลับบ้าน ถือเป็นการนำ Makerspace มาใช้กับนักเรียนเป็นครั้งแรก ทำให้สังเกตเห็นได้ว่าเด็ก ๆ มีความสุขและสนุกกับการทำกิจกรรมเป็นอย่างมาก ถือเป็นกิจกรรมที่ประสบผลสำเร็จสูงมากเลยทีเดียว เพราะการสอนแบบ Makerspace นั้น ไม่ได้เจาะจงว่าเด็กต้องทำงานตามที่ครูบอกเท่านั้น แต่เด็ก ๆ สามารถเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ ได้ทำในสิ่งที่อยากทำ และมีสิทธิ์เลือกว่าจะทำงานเดี่ยว ทำงานคู่ หรือทำงานกลุ่มก็ได้ โดยครูจะมีการใช้คำถามกระตุ้นการคิด เพื่อให้เด็กได้จินตนาการและสร้างสรรค์ผลงานผ่านการลงมือทำ ซึ่งเด็ก ๆ จะตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้ทำกิจกรรมนี้ เพราะได้คิดสร้างสรรค์ผลงานตามจินตนาการของตนเอง มีอิสระในการคิด ถึงแม้ผลงานของเด็กจะไม่ได้สวยงามอะไรมากมาย แต่เด็กสามารถอธิบายสิ่งที่ทำได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน ก็ถือว่าประสบผลสำเร็จแล้วสำหรับครู   

ครูนาได้เล่าให้ฟังเพิ่มเติมอีกว่า หลังจากที่เด็ก ๆ เริ่มชินและเข้าใจกับกระบวนการ STEAM Design Process แล้ว ครูนาได้นำกระบวนการมาต่อยอดและบูรณาการในรายวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อกระตุ้นจุดประกายให้เด็กได้คิดสร้างสรรค์สื่อหรือนวัตกรรมที่นำมาใช้แก้ปัญหาการใช้ภาษาอังกฤษ ถึงแม้จะเป็นปัญหาเล็กๆ ทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน หรือช่วยพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษแบบง่าย ๆ แต่สามารถนำมาใช้ได้จริง โดยเด็กส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในกิจกรรมดีมาก เข้าใจกระบวนการ และสามารถบริหารจัดการตนเองได้ มีภาวะการเป็นผู้นำหรือผู้ตาม ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน โดยผลงานที่เห็นได้เด่นชัดนั้น คือ การสร้าง “Amazing Board Game” ซึ่งเด็กจะตั้งชื่อเอง สร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยตนเอง จากที่สังเกตได้คือ เด็กมีความภูมิใจในชิ้นงานที่ได้ลงมือทำด้วยตนเองและสามารถบอกขั้นตอนได้อย่างแม่นยำ ที่น่าภูมิใจอีกอย่างหนึ่งคือ ผลงานของเด็กสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาในการใช้ภาษาอังกฤษได้จริง

ครูนายังได้บอกอีกว่า สำหรับการนำ Makerspace ไปใช้นั้น สังเกตได้ว่า ถ้าเป็นกิจกรรม Special Class เด็ก ๆ จะมีความชอบมากกว่า เพราะไม่มีการจำกัดความคิด ซึ่งเด็กสามารถเลือกทำในสิ่งที่ชอบและสนใจจริง ๆ เช่น เศษวัสดุเหลือใช้สามารถนำไปสร้างเป็นอะไรได้บ้าง ก็จะได้เห็นไอเดียแนวคิดที่หลากหลาย แต่สำหรับวิชาภาษาอังกฤษนั้น เหมือนจะเป็นการบล็อคความคิดเด็กไปบ้าง เพราะต้องค้นหาปัญหาเฉพาะในวิชาภาษาอังกฤษเท่านั้น ซึ่งเด็กบางคนอาจจะไม่ชอบก็ได้ 

ครูนาคิดว่า Makerspace ทำให้ครูได้ปรับแนวคิด สร้างการเปลี่ยนแปลงในตนเอง เพราะก่อนทำการสอนแต่ละครั้งครูนาต้องทำการบ้านก่อน เตรียมคำถามปลายเปิดเพื่อช่วยกระตุ้นความคิดของนักเรียน จัดหาวัสดุอุปกรณ์หรือสิ่งของเหลือใช้ที่สามารถหาได้ง่าย คอยสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ที่เห็นได้ชัดว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงกับตัวผู้เรียนคือ ดูได้จากใบงาน STEAM Design Process ซึ่งมีการวางแผนที่เข้าใจง่าย แผนมีความชัดเจน มีการวาดภาพประกอบคำหรือประโยคที่บรรยายเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เด็กกล้าพูดนำเสนอผลงานของตนเอง ถือว่าสำเร็จเกินความคาดหมายเลยทีเดียว แต่สิ่งที่คิดว่าอยากเพิ่มเติมในห้อง Makerspace คือ ควรจัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น เพิ่มมุมในห้องเพื่อกระตุ้นความอยากเรียนรู้ของนักเรียน มีจัดเวทีการนำเสนอผลงานเพื่อให้เด็กได้แสดงผลงานของตนเอง คิดว่าน่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยจุดประกายความกล้าของนักเรียนได้มากขึ้น

สำหรับการต่อยอดเพิ่มเติมคือ ครูนาอยากนำกระบวนการไปใช้ในการจัด Camp ในกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นสิ่งใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิมที่เคยทำมาทุกปี คิดว่าเด็กจะให้ความสนใจมากเลยทีเดียว เพราะกิจกรรม Camp นั้น จัดให้กับเด็กหลากหลายกลุ่ม ซึ่งเด็กบางคนก็ไม่เคยรู้จักกระบวนการ STEAM Design Process มาก่อน ก็จะมีการแบ่งปันองค์ความรู้จากเด็กที่เคยใช้กระบวนการสู่เด็กที่ไม่เคยใช้ น่าจะเกิดภาพการเรียนรู้ที่เด็ก ๆ มาแบ่งปันไอเดียกัน เด็กกลุ่มไหนที่รู้จักกระบวนการดีแล้วก็ให้เป็นแกนนำกลุ่ม คอยเป็นผู้ชี้นำแนวทางสู่เด็กกลุ่มอื่น ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่พร้อมนำลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม

จากที่ได้พูดคุยกับครูนานั้น ถือว่าเป็นครูแกนนำอีกหนึ่งท่านที่มีความพร้อมในการพัฒนาผู้เรียนอย่างแท้จริง สามารถบูรณาการกระบวนการได้หลากหลายกิจกรรม คอยสังเกตพัฒนาการของผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ เน้นการสร้างทักษะ และไม่หยุดนิ่งที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ เมื่อโค้ชเห็นถึงความมุ่งมั่นของครูแล้ว โค้ชก็พร้อมที่จะสนับสนุนทุก ๆ องค์ความรู้ เพื่อเป็นแรงผลักดันให้ครูในการพัฒนาเด็กต่อไป

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

STAMPER Learning การเรียนรู้แบบบูรณาการ

STAMPER Learning เป็นการบูรณาการแบบใหม่ ครบจบทั้งขั้นตอนการเรียนรู้ และการประเมินผลสำหรับครู ซึ่งทำได้ง่ายๆ ในกิจกร ...

Starfish Academy
Starfish Academy
STAMPER  Learning การเรียนรู้แบบบูรณาการ
Starfish Academy

STAMPER Learning การเรียนรู้แบบบูรณาการ

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.4-6

เด็กระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 จะอยู่ในช่วงวัยที่เริ่มเรียนรู้จักพัฒนาตนเอง สนใจความรู้สึกตนเองและผู้อื่น เริ่มให้ความสนใจเพศตร ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.4-6
Starfish Academy

Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.4-6

Starfish Academy
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เรียนคณิตศาสตร์ ม.1-3

คอร์สนี้เป็นการเรียนรู้การเกี่ยวกับการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-3 โดยแบ่งเป็นบทเรียนที่เหมาะสมกับต่ละรดับชั้น ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เรียนคณิตศาสตร์ ม.1-3
Starfish Academy

Micro Learning เรียนคณิตศาสตร์ ม.1-3

Starfish Academy
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.1-3

การที่เด็กอารมณ์ดี มีความร่าเริงแจ่มใสจะมีผลต่อพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น สมอง จิตใจ และร่างกาย แต่หากอารมณ์ไม่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.1-3
Starfish Academy

Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.1-3

Starfish Academy

Related Videos

เสียงสะท้อนเมื่อ “ครู เปลี่ยนเป็น โค้ช” จากงาน Makerpace Day
06:05
Starfish Academy

เสียงสะท้อนเมื่อ “ครู เปลี่ยนเป็น โค้ช” จากงาน Makerpace Day

Starfish Academy
236 views • 1 ปีที่แล้ว
เสียงสะท้อนเมื่อ “ครู เปลี่ยนเป็น โค้ช” จากงาน Makerpace Day
Makerspace Day #1
07:41
Starfish Academy

Makerspace Day #1

Starfish Academy
557 views • 2 ปีที่แล้ว
Makerspace Day #1
แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA
01:03:03
Starfish Academy

แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA

Starfish Academy
559 views • 1 ปีที่แล้ว
แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA
กล้าสอน KLA-SON  KN ENJOY MODEL
27:38
Starfish Academy

กล้าสอน KLA-SON KN ENJOY MODEL

Starfish Academy
64 views • 1 ปีที่แล้ว
กล้าสอน KLA-SON KN ENJOY MODEL