5 วิธีส่งเสริม Critical thinking ให้ลูกๆ
ในฐานะคนในครอบครัว หรือจะเป็นผู้สอนก็ดี เราก็อยากจะให้เด็ก ๆ ที่อยู่ในการดูแลของเราพร้อม เมื่อถึงเวลาที่เขาต้องออกไปพบเจอกับโลกภายนอก และยืนหยัดด้วยตัวเขาเอง ซึ่งทักษะที่จำเป็น Critical Thinking คือ 1 ใน 4 ทักษะที่จำเป็นแห่งยุคศตรวรรษที่ 21
ซึ่งจะประกอบด้วย
1. Communication การสื่อสาร
2. Collaboration and Leadership การทำงานร่วมกัน และ ภาวะความเป็นผู้นำ
3. Creativity Thinking ความคิดเชิงสร้างสรรค์
4. Critical Thinking การคิดเชิงวิพากษ์
หากถามถึง3ข้อแรก เราอาจจะเข้าใจมาหน่อย ๆ หรือพอเห็นภาพได้ แต่หลาย ๆ คนคงสงสัย ว่าการคิดเชิงวิพากษ์นั้นคืออะไร? เรามาหาคำตอบกัน โดย Critical Thinking หรือ การคิดเชิงวิพากษ์ เป็นความสามารถในการคิด วิเคราะห์ พิจารณา ประเมินข้อมูลที่ได้รับอย่างเป็นเหตุเป็นผล เป็นการจัดหมวดหมูพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านสติปัญญา โดยแบ่งออกเป็น 6 ระดับ ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมิน โดย
รวมแล้วทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ หรือ Critical Thinking คือกระบวนการคิดวิเคราะห์และแยกแยะข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยไม่เอาความรู้สึกหรือความเชื่อส่วนตัวมาปะปน ทำให้เป็นทักษะที่สำคัญในด้านการตัดสินใจ โดยเฉพาะในยุคที่ข้อมูลมากมาย ถูกลำเลียงมาสู่สายตาเราอย่างง่ายดาย
( ขอบคุณข้อมูลจาก ttps://www.terrabkk.com/articles/197784 )
มาเริ่มกันเลย!
1. “คิด” จนติดเป็นนิสัย
อย่างที่ทราบกันว่าในปัจจุบันมีข่าวสาร ข้อมูล มากมายหลั่งไหลเข้ามาผ่านสายตาของเรานับไม่ถ้วน ลองฝึกให้เขาค่อย ๆ ลองวิเคราะห์ข่าว เพลง อาหาร วีดีโอ หรือ สิ่งที่เห็นบนโลกออนไลน์ จนติดเป็นนิสัย เมื่อผ่านไปสักระยะเขาจะสามารถใช้ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ได้โดยอัตโนมัติ
2. ดีเบตกับทุกสิ่ง
การดีเบต คือการโต้แย้งด้วยหลักการและเหตุผล เช่นการโต้เถียงเรื่องวิทยาศาสตร์ หรือเทคโนโลยี ซึ่งมีสองเหตุผลที่ว่าทำไมถึงต้องมีการโต้แย้ง 1. มันช่วยให้เด็ก ๆ ได้ค้นหาความจริง คำอธิบาย หรือความหมายของสิ่งเหล่านั้น 2.ช่วยในการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารของเด็ก ๆ ตัวอย่างเช่นคำถามที่ว่า “เราควรแบนการใช้ขวดน้ำดีไหม ? ” นอกจากจะได้คุยกันแล้วยังช่วยสร้างสีสันให้คนในครอบครัวอีกด้วย
3. ฝึกการใช้หลักฐานเป็นคำตอบ
ทุก ๆ การกล่าวอ้างที่เด็ก ๆ พูด ให้พวกเขาหาหลักฐานมาเป็นการอ้างอิงด้วย จะช่วยในการให้เหตุผลโดยการมี หลักฐานเป็นตัวรองรับ จะช่วยให้เด็ก ๆ ได้ฝึกทักษะการวิเคราะห์ให้ติดเป็นนิสัย
4. ทำให้การคิดแบบวิพากษ์เป็นเหมือนกับการเล่นเกม
พื้นฐานการหลอกล่อเด็กคือการล่อด้วยเกม เราสามารถทำให้การคิดแบบวิพากษ์เป็นเหมือนกับเกม ไม่ว่าจะเสริมด้วยความน่าสนุกในการวิเคราะห์มุมมองต่าง ๆ ต่อสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น *สิ่งสำคัญคือใช้ความน่าสนุกเป็นสิ่งดึงดูดมากกว่าการบังคับ หรือสร้างความอึดอัดใจ*
5. หมากรุกช่วยได้
เด็ก ๆ ที่ชอบเล่นเกมมักจะคิดเรื่องเกมในหัว นั่นคือส่วนหนึ่งที่เราสามารถทำให้พวกเขาคิดถึงเรื่องของการวิเคราะห์ต่าง ๆ ได้ เราจึงแนะนำหมากรุกซึ่งจะช่วยในการสร้าง growth mindset เนื่องจากการเป็นผู้เล่นที่เก่งได้จะต้องใช้การตัดสินใจเลือกการเดินหมากที่ดี รวมถึงการได้อยู่กับตัวเอง และใช้เวลาในการคิดต่าง ๆ รวมถึงผลวิจัยพบว่าหมากรุกช่วยเพิ่มทักษะด้านวิชาการของเด็ก ๆ อีกด้วย!
ขอบคุณข้อมูลจาก
blog.chesshouse.com/chess-improves-academic-performance/
www.teachthought.com/critical-thinking/ways-parents-can-support-critical-thinking-at-home/
Related Courses
เลี้ยงลูกอย่างไรให้ IQ ดี EQ เด่น
บทเรียนนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ความสำคัญของ IQ และ EQ องค์ประกอบของ IQ และ EQ เทคนิคการสร้าง IQ และ EQ ให้กับลูก ร ...
ฝึกกระบวนการคิด ในห้องเรียนยุคใหม่
การสร้างการเรียนรู้สำหรับครูและผู้ปกครองในการพัฒนากระบวนการคิดให้เกิดขึ้นกับตัวเด็กในระหว่างอยู่ที่โรงเรียนและบ้านเพื่อเพิ่มป ...
สุขภาพเด็กวัยเรียนสำคัญอย่างไร
การเรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพของเด็กในวัยเรียนที่ครูและผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ พร้อมนำไปปรับใช้ให้มีความเหมาะสมกับเด็ก ในด้านก ...
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...