ทักษะนอกห้องเรียน (Outside-Classroom Skills) สำคัญอย่างไร?
เมื่อพูดถึงการเรียน เราอาจต่างนึกถึงทักษะทางวิชาการ หรือทักษะในการเรียนรู้ภายในห้องเรียนต่างๆ การอ่าน การเขียน ความสามารถในวิชา ตลอดจนทักษะต่างๆ ที่สามารถต่อยอดสู่การศึกษาในอนาคต แต่นอกเหนือจากทักษะด้านวิชาการ อีกหนึ่งทักษะที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือทักษะนอกห้องเรียน หรือทักษะการเรียนรู้ต่างๆ ที่มักนอกเหนือไปกว่าเรื่องวิชาการ
ในบทความนี้ Starfish Labz จะพาผู้อ่านทุกคนมาเรียนรู้กันค่ะว่าทักษะนอกห้องเรียนนี้คืออะไร มีอะไรบ้างที่เป็นทักษะนอกห้องเรียนดังกล่าว คุณครูควรออกแบบการเรียนรู้ทักษะเหล่านี้อย่างไร อะไรคือวิธีการที่ดีที่สุดในการนำเสนอการเรียนรู้เหล่านี้เข้าสู่การเรียนรู้ในห้องเรียน หากพร้อมแล้ว ก็มาเริ่มกันเลย
ทักษะนอกห้องเรียน (Outside-Classroom Skills) คืออะไร?
ทักษะนอกห้องเรียน หรือ Outside-Classroom Skills หมายถึงทักษะที่แตกต่างจากทักษะเชิงวิชาการ หรือทักษะที่มักถูกสอนในห้องเรียนแบบดั้งเดิม อาทิ คณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษ หรือวิชาต่างๆ ทักษะนอกห้องเรียนอาจเป็นได้ตั้งแต่ทักษะการใช้ชีวิต (Life Skills) อย่างการจัดการและดูแลอารมณ์ ไปจนถึงทักษะเชิง Soft Skills อย่างทักษะการคิดวิเคราะห์, ทักษะการสื่อสาร หรือความเห็นอกเห็นใจ ซึ่งเมื่อมองแค่ชื่อตัวอย่างของทักษะต่างๆ เราก็คงจะพอเดาได้แล้วว่าเหตุใดทักษะนอกห้องเรียนเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งในแง่ของตัวทักษะที่มีความน่าสนใจเอง และความจริงที่ว่าในความเป็นจริงแล้วการเตรียมพร้อมให้เด็กๆ ใช้ชีวิตอย่างดี การเรียนรู้แค่เพียงทักษะด้านวิชาการอย่างเดียวอาจไม่พอเลย แต่ยังต้องมีการเรียนรู้ทักษะชีวิตและอื่นๆ ร่วมด้วย ซึ่งในปัจจุบัน นอกเหนือจากเป็นทักษะชีวิตหรือเชิง Soft Skills ทักษะนอกห้องเรียนยังอาจหมายรวมถึงทักษะใหม่อื่นๆ ที่อาจไม่มีการเรียนการสอนในห้องเรียน เช่น ทักษะเชิงเทคโนโลยีหนึ่งๆ จนถึงอีกหลากหลายทักษะมากมายที่สามารถเสริมความรู้โดยรวมให้กับเด็กๆ
ตัวอย่าง 5 ทักษะนอกห้องเรียนที่ควรค่าสำหรับเด็กๆ
1. Self-Awareness
Self-Awareness หรือทักษะในการตระหนักรู้ในตนเอง หมายถึงความสามารถในการรับรู้ เข้าใจ ตลอดจนทบทวนหรือสะท้อนถึงสิ่งต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นภายในรวมถึงภายนอกตนเอง ด้วยทักษะในการตระหนักรู้ เด็กๆ สามารถจัดการและพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้อย่างลึกซึ้งและชัดเจน เรียบง่ายแต่นำมาซึ่งการตัดสินใจที่ดี เป็นหนึ่งทักษะที่มีประโยชน์ต่อทั้งการเรียนและการใช้ชีวิตประจำวัน
2. Communication Skills
เราทุกคนต่างสื่อสาร แต่จะมีสักกี่ครั้งที่เราสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา อย่างมีกลวิธี หรือในรูปแบบที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์จริงๆ การสื่อสารที่ดีอาจไม่จำเป็นต้องตงฉิน แต่ในขณะเดียวกัน ในหลายสถาณการณ์ การสื่อสารที่ดีก็อาจต้องอาศัยความตรงหรือการแสดงออกอย่างตรงๆ สักหน่อย
ความละเอียดอ่อนและเล็กน้อยเหล่านี้ถือเป็นกลเม็ดเคล็ดลับต่างๆ ในกลุ่มทักษะการสื่อสารที่เด็กๆ สามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่เยาว์วัย พวกเขาสามารถฝึกฝนการแสดงออก การมีความสัมพันธ์กับผู้คนอื่นๆ รอบตัว รวมถึงการใช้กลวิธีต่างๆ ในการสื่อสารเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และผู้ที่สามารถสอนให้กับพวกเขาได้ นอกจากบุคคลอื่นๆ ก็คือโรงเรียน คุณครูนั่นเองค่ะ ยิ่งพวกเขามีโอกาสฝึกฝนมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยให้กล้าแสดงออกและเป็นตัวเองมากขึ้นเท่านั้น
3. Empathy
สื่อสารเป็นแล้ว อีกอย่างหนึ่งที่อาจต้องมีก็คือ Empathy หรือทักษะความเห็นอกเห็นใจ ซึ่งถือเป็นทักษะชีวิตประเภทหนึ่ง ที่ช่วยให้นักเรียนสามารถเชื่อมต่อกับผู้อื่นและรู้สึกถึงความรู้สึกและอารมณ์ของผู้อื่นได้อย่างยอดเยี่ยม
ด้วยทักษะนี้ เด็กๆ สามารถเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นกำลังประสบ เสนอกำลังใจ ตลอดจนช่วยเหลือเพื่อนๆ ของพวกเขาหรือบุคคลดังกล่าวและรับเอาความรู้สึกที่ดี ตลอดจนมิตรภาพที่สามารถแปรเปลี่ยนเป็นการยอมรับ การทำสิ่งต่างๆ ร่วมกันซึ่งสามารถแปรเปลี่ยนอีกครั้งให้กลายเป็นเชื้อเพลิงที่ดีต่อการประสบความสำเร็จในการเรียนและในชีวิตประจำวัน เป็นอีกหนึ่งทักษะที่ไม่ควรพลาดด้วยประทั้งปวง
4. Thinking Outside the Box
ใครว่าการคิดต้องอยู่ในกรอบเสมอไป เพราะสำหรับการเรียนยุคใหม่ อีกหนึ่งทักษะนอกห้องเรียนที่สามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสก็คือทักษะการคิดนอกกรอบ หรือ Thinking Outside the Box
การคิดนอกกรอบเป็นทักษะชีวิตอันล้ำค่าที่สามารถช่วยให้เด็กๆ เผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆ ได้อย่างโดยตรงและค้นหาแนวทางแก้ไขที่มีความแตกต่าง สมัยใหม่ หรือเป็นนวัตกรรม การคิดในลักษณะนี้เชื้อเชิญให้เด็กๆ ตรวจสอบความคิด ความรู้ หรือความเชื่อเดิมของพวกเขาที่มีอยู่และท้าทายสิ่งต่างๆ ที่อาจเคยถูกกำหนดไว้ ด้วยทักษะนี้ พวกเขาสามารถพบกับคำตอบและแนวทางใหม่ๆ ของปัญหา เป็นทักษะภายในที่มีคุณค่าอย่างยิ่งทั้งต่อการเรียน การทำโปรเจกต์ต่างๆ และในการทำงานในอนาคต
การคิดนอกกรอบถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน การพัฒนาการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ การจัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆ ที่ยาก และ การตัดสินใจอย่างชาญฉลาด ซึ่งล้วนเป้าหมายระยะยาวในการยกระดับหรือพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางจิตใจ ร่างกาย และทางสังคม
5. Stress Management Skills
ความเครียดอาจเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แต่จะดีแค่ไหนหากเราสามารถใช้ชีวิตโดยมีเจ้าความรู้สึกดังกล่าวอย่างน้อยที่สุด อีกกลุ่มทักษะหนึ่งอย่าง Stress Management Skills หรือการจัดการความเครียดคือคำตอบสำหรับทุกคน รวมถึงวัยเยาว์ พวกเขาต้องการการเรียนรู้สิ่งนี้ตั้งแต่เนิ่นๆ หรืออย่างน้อยที่สุดก็ในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่มีความสำคัญ ในประเทศอินเดีย โรงเรียนนานาชาตินาลันทาถือเป็นหนึ่งในโรงเรียนระบบ ICSE ที่ดีที่สุดโฟกัสและให้ความสำคัญกับการสอนทักษะดังกล่าวให้กับเด็กๆ พวกเขามองเห็นถึงความสำคัญของชีวิตที่เต็มเปี่ยม เติมเต็มซึ่งมากไปกว่าแค่การเรียนรู้บางอย่างเกี่ยวกับเนื้อหา หรือการท่องคำศัพท์โดยปราศจากการเติมเต็มภายใน
ทิศทางสำหรับคุณครู ทักษะนอกห้องเรียน สอนอย่างไรจึงดีที่สุด?
แม้จะชื่อว่าทักษะนอกห้องเรียน แต่ในการออกแบบการสอนจริงๆ แล้ว ทักษะนอกห้องเรียนก็ไม่จำเป็นต้องถูกสอนภายนอก หรือ Outside Classroom เสมอไป ทั้งนี้เพราะโดยพื้นฐานและแก่นแล้ว ทักษะดังกล่าวถือเป็นการศึกษาเชิงประสบการณ์ หรือ Experiential Education ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกๆ จังหวะ ในทุกโมเมนต์ของการดำรงอยู่
เด็กๆ สามารถเรียนรู้ในห้องเรียน นอกห้องเรียน หรือจะเป็นที่บ้านก็ยังได้ สิ่งสำคัญอยู่ที่การออกแบบ หรือการวินิจฉัยผลลัพธ์ที่ต้องการ และสร้างรูปแบบการเรียนรู้ดังกล่าวที่ตรงใจหรือตรงตามเป้าหมายที่เราวางไว้หรือคาดการณ์มากที่สุด
และนี่ก็คือเรื่องราวของทักษะนอกห้องเรียนที่วันนี้ Starfish Labz นำมาฝากคุณครู ผู้ปกครอง และเด็กๆ ทุกคนกัน ใครที่กำลังมองหาอีกหนึ่งวิธีการดีๆ ในการออกแบบห้องเรียน อย่าลืมลองคำนึงถึงทักษะนี้และคุณประโยชน์ที่ไม่เพียงแค่เด็กๆ แต่ยังรวมถึงคุณครูจะได้รับกันนะคะ
อ้างอิง:
บทความใกล้เคียง
ทักษะอาชีพในฝัน Content Creator อยากเป็นสายสร้างสรรค์ต้องมีสกิลอะไรกันบ้างนะ
ผู้อำนวยการยุคใหม่ สนับสนุนการทำงานร่วมกับชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนและส่งเสริมทักษะอาชีพให้กับผู้เรียน
5 คอร์สออนไลน์ยอดฮิต เรียนฟรี แสนคุ้มค่า จาก Starfish Labz
Related Courses
เรียนรู้ศิลปะดิจิทัล Google Art & Culture Metaverse
Google Arts & Culture แพลตฟอร์มออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงผลงานศิลปะและวัฒนธรรมจากพิพิธภัณฑ์และสถา ...
เรียนรู้ศิลปะดิจิทัล Google Art & Culture Metaverse
ต้องใช้ 100 เหรียญ
Micro Learning เทคนิคการดูแลสุขภาพกาย ป.4-6
การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายที่ดีจากภายในสู่ภายนอก ควรทำควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอ
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 100 เหรียญ
เปิดโลกการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วย Google Lens
Google Lens เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การเรียนรู้กลายเป็นเรื่องง่ายและสนุกสนาน ผ่านการใช้กล้องสมาร์ทโฟนเพียงเครื่องเดียว ผู้ ...
เปิดโลกการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วย Google Lens
ต้องใช้ 100 เหรียญ