Constructive Criticism คืออะไร? ทำไมเด็กๆ จำเป็นต้องรู้?
Constructive criticism คือการสะท้อน หรือวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ หรือจะเรียกง่าย ๆ ว่าการติเพื่อก่อก็คล้ายกัน ซึ่งจะเน้นไปที่การ “ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ผู้รับการวิจารณ์” มากกว่าใช้อารมณ์เป็นที่ตั้งในการวิจารณ์ ข้อดีของการมอบ Constructive criticism คือการที่เด็ก ๆ จะได้รับข้อมูลที่สามารถช่วยพวกเขาในการพัฒนา และ ยังทำให้ทุกคนในห้องเรียนเปิดใจกันมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อพวกเขาเข้าใจการรับคำวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์เสียก่อน
1. สอนให้เด็ก ๆ ว่า วิจารณ์แบบสร้างสร้างสรรค์/Constructive Criticism คืออะไร
นักเรียนหลายคนอาจจะยังไม่รู้จักคำวิจารณือย่างสร้างสรรค์ ลองยกตัวอย่างง่ายๆอย่างการก่อสร้างที่ค่อย ๆ ก่ออิฐขึ้นไป เพื่อให้เด็ก ๆ เห็นภาพมากขึ้น เนื่องจากการวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ จะเป็นการที่เราช่วยกันเสริส เติม ในส่วนที่แต่ละคนขาดหายไป มากกว่าเจตนาในการบ่อนทำลายจากคำพูดแบบ Destructive Cricism
ตัวอย่าง ใช้เวลาไม่เกิน 30 นาทีในห้องเรียนในการเปรียบเทียบ Constuctive Criticism กับ Destructive Criticism ที่เป็นขั้วตรงข้าม ให้เก็นถึงจุดประสงค์ และเจตนาของคำพูดแต่ละแบบ
2. ฝึกการเปลี่ยนความคิดเห็นแง่ลบมาเป็นความคิดเห็นแบบสร้างสรรค์
ลองยกตัวอย่างจากสื่อต่าง ๆ นักเรียนจะสามารถเห็น หรือได้ยินคำวิจารณ์แบบทำลายล้าง ( Destructive Crticism ) แล้วเราในฐานะครูผู้สอนก็สามารถลองหยิบคำเหล่านั้นมาเปลี่ยนเป็นคำวิจารณ์แบบสร้างสรรค์ให้เด็ก ๆ ได้เห็นเป็นตัวอย่างได้ หรือจะเป็นคำวิจารณ์แบบทำลายล้างที่เด็ก ๆ เจอบ่อย ๆ ในห้องเรียนก็ได้
ตัวอย่างอย่างคำว่า “ที่เธอตอบมาไม่ใกล้เคียงกับคำว่าถูกเลย” เปลี่ยนเป็น “เมื่อครู่ได้ยินคำถามชัดไหม? อย่าเพิ่งใจลอยกับหัวข้อนี้ล่ะ” ซึ่งจะทำให้นักเรียนจัดการกับคำวิจารณ์ได้ดีกว่าและเป็นการช่วยให้เขานำไปปรับปรุงได้ง่ายกว่า
3. อย่าเก็บมาเป็นแค่เรื่องของ“ตัวเอง”
เด็ก ๆ หลายคนอาจเคยได้รับคำวิจารณ์แบบทำลายล้าง ( Destructive Crticism )
ที่ส่งผลทำลายต่อตัวบุคคลมากกว่าการนำไปปรับปรุงในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ดีขึ้น เราจึงควรสอนให้เด็ก ๆ แยกการรับฟังคำวิจารณ์ และ ไม่นำมาเป็นแค่เรื่องส่วนตัว เพระาคำวิจารณ์เหล่านั้นเป็นเพียงการช่วยเสริมสิ่งที่พวกเขาสามารถจะทำ และควบคุมได้ให้ดียิ่งขึ้น เช่น การที่คุณครูพูดว่า “ฉันรู้ว่าเธอสามารถทำได้ดีกว่านี้ได้” นี่คือการวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ เนื่องจากเป็นเรื่องที่อยู่การควบคุมของตัวเด็ก ๆ และพวกเขาสามารถทำมันให้ดีกว่านี้ได้ โดยเฉพาะเมื่อคุณครูรู้ว่าพวกเขาทำได้ดีมากขึ้นจริง ๆ
4. ตัวอย่างจากชีวิตจริง
ลองให้นักเรียนจับกลุ่มช่วยกันหาบุคคลที่มีชื่อเสียงที่นำคำวิจารณ์ แต่พวกเขาสร้างคำเหล่านั้นเป็นแรงผลักดันและทำให้พวกเขาสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นนักเขียนชื่อดังอย่าง เจ.เค โรวลิง ที่ถูกวิจารณ์ว่าไม่มีเด็กคนไหนสนใจหนังสือเกี่ยวกับพ่อมดอีกแล้ว แต่เขาก็สามารถเอาชนะมันได้และทำหนังสือชื่อดังอย่าง แฮรี่ พอตเตอร์ ได้สำเร็จ
5. สอนให้ใช้ Constructive Criticism ให้เป็นนิสัย
สนับสนุนให้พวกเขาใช้คำวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ โดยเฉพาะเวลาที่นักเรียนต้องทำงานร่วมกัน เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ต้องแลกเปลี่ยนและเข้าใจกันและกันมากขึ้น คำวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์เป็นออีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยในการทำงานและความเข้าใจกันและกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการงาน
ขอบคุณข้อมูลจาก
clarendonlearning.org/help-students-manage-constructive-criticism/
Related Courses
Micro Learning เทคนิคการดูแลสุขภาพกายระดับชั้น ม.ต้น
วัยรุ่น หากมีร่างกายที่สมส่วนย่อมทำให้มีสุขภาพดี การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะส่งผลร่างกายแข็งแร ...
ฝึกกระบวนการคิด ในห้องเรียนยุคใหม่
การสร้างการเรียนรู้สำหรับครูและผู้ปกครองในการพัฒนากระบวนการคิดให้เกิดขึ้นกับตัวเด็กในระหว่างอยู่ที่โรงเรียนและบ้านเพื่อเพิ่มป ...
การซ่อมแซมของใช้ในชีวิตประจำวัน
อุปกรณ์ของใช้ในบ้านเมื่อใช้ไประยะหนึ่งอาจชำรุดเสียหายได้ ถ้าเรารู้จักวิธีซ่อมแซมจะทำให้สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกซึ่งเป็นการประหยั ...
Micro Learning เทคนิคการดูแลสุขภาพกาย ป.4-6
การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายที่ดีจากภายในสู่ภายนอก ควรทำควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอ