Active Learning แนวการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อความสุขของผู้เรียน แนวทางการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อความสุขของผู้เรียน
ทุกวันนี้โลกเราพัฒนาไปไกลและไม่เคยหยุดอยู่กับที่ มีทั้งเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ออกมาให้เราได้ทำความรู้จักกันอย่างไม่เว้นวัน แน่นอนว่านักเรียนที่น่ารักของเราเองก็เป็นเด็กที่เติบโตมาพร้อมกับความก้าวหน้าเหล่านี้ เพราะฉะนั้นในฐานะครูผู้สอน เราเองก็ควรติดตามข่าวสารและทดลองใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในห้องเรียนของเราให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย
วันนี้ทาง Starfish Labz จึงขอพาทุกท่านมารู้จักกับเทคนิคการสอนแบบใหม่ที่อาจทำให้ห้องเรียนของเราสนุกสนานยิ่งกว่าเคย โดยเทคนิคนี้มีชื่อเรียกว่า ‘การเรียนเชิงรุก(Active Learning)’ ซึ่งเราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับเทคนิคการเรียนเชิงรุกนี้จากประสบการณ์ตรงของ ‘คุณครูภุชงค์ เสือทอง’ ตัวแทนจากโรงเรียนเมืองกระบี่ ครูผู้ใช้เทคโนโลยีมาผสมผสานกับเทคนิคการเรียนเชิงรุกได้อย่างน่าทึ่ง รับรองว่าหลังอ่านบทความนี้จบ คุณครูหลายท่านคงมีแรงบันดาลใจและอยากจะนำเทคนิคดี ๆ เหล่านี้ไปปรับใช้กับห้องเรียนของตัวเองอย่างแน่นอน
ยุคสมัยเปลี่ยน วิธีการเรียนก็ต้องปรับ
ต้องยอมรับว่าเด็กยุคนี้ล้วนมีอิสระทางความคิดเป็นของตัวเอง พวกเขาเป็นวัยที่พลุ่งพล่านทางด้านความคิด ดังนั้นตัวเราเองก็ควรที่จะปรับตัวเข้าหาพวกเขาด้วยเช่นกัน เราต้องมีวิธีการคุยกับพวกเขา พยายามสอนให้เขาได้ใช้ความคิด ปล่อยให้เขาได้เรียนรู้จากความผิดพลาด ทำให้เขารู้สึกปลอดภัยที่จะแสดงความคิดเห็น หากเราเป็นคุณครูที่สามารถสร้างบรรยากาศห้องเรียนแบบนี้ออกมาได้ ห้องเรียนของเราจะเต็มไปด้วยความสนุกสนานและเราจะสามารถดึงศักยภาพในตัวผู้เรียนออกมาได้อย่างเต็มที่แน่นอน
เริ่มต้นคาบดี มีชัยไปมากกว่าครึ่ง
หากเราต้องการให้นักเรียนรู้สึกตื่นตัวไปกับห้องเรียนของเรา เราควรทำช่วงเริ่มคาบให้น่าสนใจ ไม่จำเป็นต้องมุ่งเน้นไปด้านวิชาการ แต่เราควรหากิจกรรมให้นักเรียนได้ทำร่วมกัน เช่น หากเป็นวิชาภาษาอังกฤษ เราอาจจะเตรียมเกมทายคำศัพท์จากรูปภาพให้ทุกคนได้เล่น หรือหากเป็นวิชาสังคม เราก็อาจจะเตรียมฉายาของบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์มาให้เด็ก ๆ ร่วมกันทายได้ การที่เราเริ่มต้นคาบเรียนแบบนี้จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกตื่นตัวและทำให้พวกเขารู้สึกอยากเรียนกับเรา ถือเป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับที่ดีจากการมีห้องเรียนแบบ Active Learning เลย
ใช้เทคนิค Active Learning ให้เหมาะสมกับตัวผู้เรียน
พูดถึงคำว่า Active Learning บางคนอาจจะคิดว่าเราจำเป็นต้องเต้นหรือขยับร่างกายตลอด แต่ความจริงแล้วมันไม่จำเป็นเลย เราเพียงแค่ต้องเลือกวิธีที่เหมาะสมกับนักเรียนของเราเพียงเท่านั้น เด็กทุกคนย่อมมีความแตกต่างกันเป็นเรื่องธรรมดา บางคนถนัดด้านภาษา บางคนถนัดด้านกีฬา บางคนเรียนเก่งมากแต่ไม่กล้าแสดงออก ซึ่งความต่างนี้เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นกิจกรรมในแบบของเราได้เช่นกัน แต่ในกรณีที่เป็นห้องเรียนขนาดใหญ่ เราอาจจะไม่สามารถทำให้เด็กทุกคนมีส่วนร่วมกับกิจกรรมอย่างเท่าเทียมกันได้ แต่เราสามารถทำให้พวกเขารู้สึกว่าตัวเองไม่ถูกทอดทิ้งและได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมแม้จะเป็นส่วนเล็ก ๆ ได้ ขอแค่นักเรียนของเรายังมีความสุขและตื่นเต้นที่จะได้ร่วมกิจกรรมกับเราในครั้งถัดไปนั่นก็ถือว่าเพียงพอแล้ว หากมีบางครั้งที่ทำพลาดไปก็ไม่เป็นไร เราเพียงแค่ต้องเรียนรู้จากประสบการณ์และพัฒนาในครั้งต่อไปให้ดีที่สุด
ผลลัพธ์หลังทำห้องเรียนแบบ Active Learning
หนึ่งสิ่งที่คุณครูหลายท่านได้กลับมาหลังลองใช้เทคนิค Active Learning นั่นคือความสุขของครูผู้สอนและตัวเด็กนักเรียน เด็ก ๆ ทุกคนล้วนตั้งตารอที่จะได้เข้าเรียนและทำกิจกรรมร่วมกับเรา อีกทั้งนักเรียนในห้องยังมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น เราจะได้เห็นพวกเขาร่วมมือกัน หัวเราะ สนุกสนานไปด้วยกัน แน่นอนว่าการเรียนแบบนี้จะช่วยทำให้เด็ก ๆ ไม่เกลียดวิชาที่เราสอน บางครั้งพวกเขาอาจไม่ใช่คนที่หัวไว เรียนครั้งเดียวแล้วจำได้โดยทันที หากเราไปบังคับเขาให้ท่องจำหรือให้กดดันผ่านการทำแบบทดสอบเพื่อประเมินผลคะแนน พวกเขาอาจฝังใจและไม่ชอบวิชาที่เราสอนได้
แต่หากเราลองประยุกต์บทเรียนให้ออกมาเป็นเกม สอดแทรกความรู้ไปพร้อมความสนุกสนาน ความ Active จะช่วยให้เด็ก ๆ สามารถจำข้อมูลต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้การบังคับให้พวกเขาท่องจำ นอกจากนี้การมีห้องเรียนแบบ Active Learning ยังเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และความกล้าแสดงออกของนักเรียนอีกด้วย
เชื่อว่าไม่มีครูคนไหนอยากให้นักเรียนนั่งอยู่ในห้องเรียนของเราด้วยความรู้สึกเบื่อหน่าย หากอ่านบทความนี้จบแล้ว เราอยากให้คุณครูทุกท่านลองนำเทคนิค Active Learning ไปประยุกต์ใช้กับเด็ก ๆ ของตัวเองทีละนิด รับรองว่าบรรยากาศห้องเรียนของเราจะดูมีความสุขขึ้นอย่างแน่นอน แล้วอย่าลืมพัฒนาห้องเรียนของเราให้มีคุณภาพควบคู่ไปกับความสนุกสนาน เพียงแค่ปรับวิธีการสอนของเราให้เข้ากับยุคสมัย ตัวเราเองก็อาจกลายเป็นหนึ่งในเหตุผลจะที่ทำให้เด็กบางคนอยากมาโรงเรียนทุกวันก็เป็นได้นะคะ
บทความใกล้เคียง
ยกระดับการเรียนรู้โรงเรียนทองผาภูมิวิทยา ด้วย 3 นวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการศึกษา จาก Starfish Education
ทำความเข้าใจห้องเรียนกลับด้านแบบเจาะลึก คืออะไร? ใช้อย่างไร? มีประโยชน์จริงไหม? กับ Starfish Labz
Teachers Hero’s Journey เส้นทางครูฮีโร่ ในยุค new normal
Related Courses
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
Professional Development
การพัฒนาวิชาชีพ (Professional Development) เป็นกระบวนการพัฒนาทักษะ ความรู้ และความสามารถที่จำเป็นในการทำงานแล ...