ทำความรู้จักอาชีพ 'Data Analyst' คืออะไร? ยากไหม? อยากเป็นต้องเริ่มอย่างไร
หากพูดถึงหนึ่งในอาชีพที่ฮอตฮิตที่สุดในปัจจุบัน หนึ่งในชื่อตำแหน่งอย่าง Data Analyst หรือนักวิเคราะห์ข้อมูลจะต้องถือเป็นชื่อที่หลายๆ คนได้ยินกันอยู่บ่อยๆ อย่างแน่นอน
ในยุคที่ข้อมูลมีความหมายยิ่งกว่าสิ่งใด บทบาทหน้าที่ของ Data Analyst ก็ยิ่งมีความสำคัญ ความหมายเท่านั้น ในบทความนี้ Starfish Labz จึงถือโอกาสพาผู้อ่านทุกคนมาทำความรู้จักอาชีพนี้กันค่ะ
Data Analyst คืออะไร? ยากไหม? อยากเป็นต้องเริ่มอย่างไร ตาม Starfish Labz มาดูกันเลย
Data Analyst คืออะไร?
Data Analyst (DA) หรือนักวิเคราะห์ข้อมูล คือตำแหน่งของบุคลากรผู้มีทักษะ ความเชี่ยวชาญ หรือความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์ และตีความข้อมูลเพื่อประโยชน์สูงสุด ถือเป็นตำแหน่งที่มักพบเห็นได้บ่อยในองค์กรขนาดใหญ่ตลอดจนธุรกิจและถือเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการวิเคราะห์หาข้อมูลธุรกิจเชิงลึก รวมถึงข้อมูลในการทำงานด้านต่างๆ เช่น การตลาดเพราะถือเป็นข้อมูลที่สามารถนำมาใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ หาคำตอบ และวางแผนกลยุทธ์ต่างๆ ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ ลดการเกิดความผิดพลาดหรือช่องว่างในการทำสิ่งต่างๆ
ซึ่งจุดหมายปลายทางต่างๆ ของการวิเคราะห์ข้อมูลก็เป็นได้อยากหลากหลาย ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของแต่ละองค์กร ทีม หรือบริษัท อาทิ การออกแคมเปญการตลาด, การลงทุน, การลดต้นทุน, ราคาขาย จนถึงการรับหรือมองหาพนักงาน สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ Data Analyst สามารถยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือแต่ละทีมหรือองค์กรได้อย่างดีเลยทีเดียว ในภาพรวมลักษณะการทำงานของ Data Analyst จึงพอจำแนกออกเป็น
- กำหนด Data Sources เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
- รวบรวมข้อมูลที่จะใช้ในการวิเคราะห์
- การจัดหาข้อมูลที่ขาดหายไป
- กำหนดตั้งค่าโครงสร้างพื้นฐาน
- สร้าง Insight จากข้อมูล และระบุแนวโน้มที่เกิดขึ้นได้
- สร้างรายงาน สร้าง Dashboard / Automated Dashboard สำหรับผู้บริหาร และทีมงาน
- สร้าง Data Visualization จากข้อมูลที่วิเคราะห์และนำเสนอ
- มีความเข้าใจในธุรกิจและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบโจทย์ในทางธุรกิจ
Data Analyst ฉบับมือโปร อยากเป็น Data Analyst ที่ดีต้องมีทักษะอะไรบ้าง?
Data Analyst ถือเป็นตำแหน่งที่มีลักษณะเชิงเทคนิค Data Analyst ที่ดีจึงต้องมีความรู้หรือความเชี่ยวชาญในกระบวนการหรือกลวิธีการหาข้อมูลเชิงลึก (Insights) อยู่พอสมควร หรือกล่าวคือต้องมีทักษะเทคนิค (Hard Skills) เฉพาะนั้นๆ ในอาชีพของตนเอง แต่ในขณะเดียวกันก็อาจต้องมีทักษะเชิงอารมณ์-สังคม (Soft Skills) เพื่อให้งานหลายๆ อย่างสามารถลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยหากให้ลองจำแนกออกมาแล้ว เราอาจสามารถระบุทักษะทักษะอาชีพหลักๆ ของ Data Analyst ที่ดี ดังนี้
- มีทักษะการวิเคราะห์
Data Analyst ที่ดีแน่นอนว่าต้องมีทักษะการวิเคราะห์ ทั้งในรูปแบบ Soft Skills อย่างการคิดวิเคราะห์และในรูปแบบ Hard Skills อย่างทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเทคนิคเฉพาะต่างๆ ในการทำงานด้านการวิเคราะห์ข้อมูลโดยเฉพาะ
- มีทักษะ SQL
SQL หรือ Structured Query Language เป็นภาษาที่นิยมใช้เพื่อสื่อสารกับฐานข้อมูล บุคลากรที่ทำงานกับข้อมูลจึงต้องสามารถใช้งานภาษา SQL ได้เพื่อดึงข้อมูล (Query) และจัดการข้อมูลเบื้องต้นก่อนที่จะนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ต่อไป ยิ่งมีความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษา SQL มากขึ้น ก็ยิ่งสามารถทำงานด้านการวิเคราะห์ข้อมูลด้านต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น โดยทักษะ SQL นี้ก็ถือเป็นหนึ่งในทักษะ Hard Skills ที่สำคัญของ Data Analyst นั่นเองค่ะ
- มีทักษะการใช้โปรแกรม Spreadsheet เช่น Google Sheets หรือ Microsoft Excel ตลอดจนเครื่องมือการวิเคราะห์อื่นๆ
มีความรู้เชิงหลักการแล้ว Data Analyst ที่ดียังอาจต้องมีความรู้ในด้านเทคโนโลยี สามารถใช้งานเครื่องมือต่างๆ ในการสร้างกระบวนการการวิเคราะห์ข้อมูลที่ดี โดยในหลากหลายเครื่องมือที่ Data Analyst สามารถใช้ เครื่องมือง่ายๆ แต่ให้ผลลัพธ์ที่ครอบคลุมอย่างยิ่งก็คือ Google Sheets หรือ Microsoft Excel นั่นเอง
- ทักษะการทำ Data Visualization
อีกหนึ่งทักษะเชิง Hard Skills ที่สำคัญสำหรับ Data Analyst Data Visualization คือการการนำข้อมูลมาแปลงเป็นรูปภาพหรือกราฟที่ทำให้ผู้ฟังของเราสามารถเข้าใจง่าย ซึ่งผู้ฟังที่ว่าโดยส่วนใหญ่แล้วก็คือทีมหรือลูกค้า หรือผู้ที่จะต้องนำข้อมูลดังกล่าวที่เราวิเคราะห์ออกมาได้ไปใช้งานต่อให้เกิดประโยชน์ตามที่เราตั้งใจ การมีทักษะ Data Visualization นี้ก็เพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วแน่นอนว่าสมาชิกในทีมคนอื่นๆ ของเรา รวมถึงลูกค้าอาจไม่เข้าใจหรือไม่มีทักษะในการอ่านข้อมูลเชิงวิเคราะห์เหมือนกับเรา และยิ่งเราสามารถนำเสนอให้เข้าใจง่าย ก็ยิ่งสามารถช่วยให้พวกเขาสามารถนำไปใช้หรือตัดสินใจได้ง่ายนั่นเอง
- มีทักษะทางด้านธุรกิจ รวมถึงความเข้าใจในอุตสาหกรรมหรือแขนงที่ตนเองทำ
Data Analyst วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป้าหมายทางธุรกิจหนึ่งๆ และในแขนงหนึ่งๆ การมีเพียงแค่ความรู้เชิงวิเคราะห์อย่างเดียวจึงอาจไม่พอหากเราอยากเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูและผู้ที่สามารถคอยให้คำแนะนำที่ดีให้กับทีมหรือองค์กรได้ การมีความรู้ ความเข้าใจ จนถึงความชอบในแขนงธุรกิจขององค์กรที่เราอยู่จึงถือเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญในการช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ข้อมูลออกมาได้อย่างดี เพราะเราจะรู้ทันทีว่าข้อมูลนี้เชื่อมโยงกับสินค้านี้ กับผลิตภัณฑ์นี้หรือกับเป้าหมายนี้ขององค์กรหรือทางธุรกิจได้อย่างไร
อยากเป็น Data Analyst เริ่มอย่างไร?
ปัจจุบัน มีหลักสูตรการเรียนด้าน Data Analyst ในระดับอุดมศึกษามากมาย รวมถึงหากใครที่สนใจอยากเปลี่ยนสายงานกลางคัน อีกหนึ่งรูปแบบที่ให้ผลลัพธ์ดีไม่แพ้กันก็คือการลงคอร์สเรียนจากสถาบันต่างๆ โดยเฉพาะในรูปแบบออนไลน์ อาทิ ผ่าน CHULA MOOC, Prasertcbs Channel, DataCamp จนถึง Coursera ซึ่งตำแหน่ง Data Analyst มีเงินเดือนโดยเฉลี่ยอยู่ถึง 40,000 - 50,000 บาท/เดือน และอาจสูงถึง 80,000/เดือน หากอยู่ในระดับ Senior หรือสูงขึ้นไป
และนี่ก็คือภาพรวมของ Data Analyst ที่วันนี้ Starfish Labz ได้นำมาฝากทุกคนกันค่ะ กล่าวได้ว่าเป็นตำแหน่งที่น่าสนใจและสามารถลองเริ่มต้นเรียน ไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลยหรือหากใครที่รู้สึกว่าอาจยาก ขอแนะนำให้ลองเริ่มต้นก่อน เชื่อว่าจะต้องค่อยๆ รู้สึกว่าง่ายขึ้นและทำได้อย่างแน่นอน และใครที่กำลังสนใจ อย่าลืมลองอนุญาตให้ตัวเองทำตามความฝัน เป็น Data Analyst ในแบบฉบับของตนเองกันนะคะ
อ้างอิง:
บทความใกล้เคียง
5 คอร์สออนไลน์ยอดฮิต เรียนฟรี แสนคุ้มค่า จาก Starfish Labz
ยกระดับการเรียนรู้โรงเรียนทองผาภูมิวิทยา ด้วย 3 นวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการศึกษา จาก Starfish Education
รู้จักและประเมินผู้เรียนให้ตรงจุดด้วย Starfish Class
Related Courses
Google Sites กับการนำมาใช้เพื่อการศึกษาและการประเมินวิทยะฐานะ
Google Sites ช่วยทำเว็บไซต์ได้โดยไม่ต้องรู้วิธีเขียนโค้ด และเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างเว็บไซต์โดยไม่ต้องมีความรู้มากในด้าน ...
Google Sites กับการนำมาใช้เพื่อการศึกษาและการประเมินวิทยะฐานะ
ต้องใช้ 100 เหรียญ
เรียนรู้ศิลปะดิจิทัล Google Art & Culture Metaverse
Google Arts & Culture แพลตฟอร์มออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงผลงานศิลปะและวัฒนธรรมจากพิพิธภัณฑ์และสถา ...
เรียนรู้ศิลปะดิจิทัล Google Art & Culture Metaverse
ต้องใช้ 100 เหรียญ
5 เทคนิคเลคเชอร์ ให้จำได้ ทบทวนบทเรียนแบบง่ายๆ
อยากเกรด A ต้องทำยังไง? คอร์สนี้มีคำตอบกับ 5 เคล็ดลับ! สุดเจ๋ง ที่จะช่วยให้จดจำเนื้อหาได้ยาวนาน ทบทวนสนุก สมองปลอดโปร่ง ...
สร้างสรรค์การนำเสนอที่ทรงพลังด้วย Google Slides
การใช้ Google Slides เพื่อการสอนอย่างสร้างสรรค์สามารถช่วยกระตุ้นความสนใจและสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีส่วนร่วมสำ ...