5 เคล็ดลับการพัฒนาทักษะการคิดเชิงบวก วัยไหนก็สามารถทำได้ เพื่อสุขภาพที่ดีของกาย
ในช่วงเวลาของความยากลำบาก ความอ่อนล้า หรือหลังการต้องเผชิญผจญภัยกับสิ่งต่างๆ นอกเหนือจากการพักผ่อนหรือการฟื้นฟู เยียวยาในรูปแบบต่างๆ แล้ว อีกหนึ่งการเยียวยาที่ถือเป็นยาชั้นดีได้อย่างยิ่งก็คือการบ่มเพาะ Positivity หรือพลังงานเชิงบวกภายในร่างกายและจิตใจของเรา
ในบทความนี้ เพื่อเป็นตัวช่วยให้กับคุณครู นักเรียน รวมถึงบุคลากรวัยทำงานหรือวัยใดก็ตามทุกคนที่อยากลองเริ่มต้นกับการพัฒนาตนเอง Starfish Labz จึงขอทำหน้าที่คัดเลือก 5 เคล็ดลับการคิดเชิงบวกจาก Barbara Fredrickson ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาชาวอเมริกันผู้เป็นหัวหน้านักวิจัยด้านอารมณ์เชิงบวกกันค่ะ จะมีทริคลับๆ อะไรในการสามารถช่วยให้เราเพิ่มพูน บ่มเพาะ หรือสร้างการพัฒนาทักษะการคิดเชิงบวก รวมถึงพลังงานเชิงบวกที่ดีภายในร่างกายหรือจิตใจของเรากันได้บ้าง ตาม Starfish Labz มาดูกันในบทความนี้เลย
5 เคล็ดลับการพัฒนาทักษะการคิดเชิงบวก วัยไหนก็สามารถทำได้ เพื่อสุขภาพที่ดีของกายและใจ
1. สัมผัสพลังงานบวกด้วยการรู้สึกขอบคุณ (Practice Gratitude)
Gratitude หรือความรู้สึกขอบคุณหมายถึงการที่เราใช้เวลาเล็กๆ น้อยๆ ในแต่ละวัน ในบางจังหวะรับรู้ถึงโมเมนต์ดีๆ สิ่งดีๆ หรือด้านที่ดีของชีวิต ซึ่งไม่ว่าจะเล็กน้อยแค่ไหน ก็สามารถส่งผลอย่างมากต่อความรู้สึกหรือสุขภาพทางอารมณ์ของเราได้นั่นเองค่ะ ซึ่งวิธีในการฝึกฝนการรับรู้นี้ก็สามารถเป็นได้อย่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความต้องการหรือสไตล์ในการอยากลองทำของเรา เช่น เราอาจเลือกที่จะจดสิ่งที่ดีๆ ต่างที่เกิดวันนี้หรือนึกได้ลงในสมุด กล่าวขอบคุณเพื่อนผ่านแบบเห็นหน้ากัน หรือจะนั่งเงียบๆ และไตร่ตรองนึกถึงสิ่งดีๆ ต่างในวันนี้ของเราก็ได้ ซึ่งหากอยากให้กิจกรรมตรงนี้มีความสดใหม่หรือมีความหมายอยู่เสมอ ผู้เชี่ยวชาญอย่างคุณ Barbar ยังแนะนำให้เพิ่มความหลากหลายให้กับการแสดงออกของเราผ่านหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกัน อาทิ ใน 1 วันตอนเช้ากับก่อนนอนอาจเป็นการแสดงออกผ่านรูปแบบที่แตกต่างกัน และเมื่อทำไปเรื่อยๆ แล้ว อยากลองเปลี่ยนรูปแบบ ก็สามารถทำได้เพื่อเพิ่มความสนุกสนาน ความสดใหม่ และความรู้สึกดีในการทำนั่นเองค่ะ
2. ดึงดูดพลังงานบวกด้วยการใจดีต่อผู้อื่นและตัวเอง (Be Kind)
การช่วยเหลือผู้อื่น ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่าสามารถช่วยเสริมสร้างสุขภาพทางอารมณ์และยืดอายุขัยของเราได้ แต่แทนที่จะทำให้ตัวเองเหน็ดเหนื่อยด้วยความมีน้ำใจอย่างไม่หยุดยั้ง (ซึ่งอาจกลายเป็นเรื่องธรรมดาหรือเรื่องหนักใจได้) ผู้เชี่ยวชาญอย่างคุณ Barbara แนะนำให้กำหนด ‘วันแห่งความเมตตา’ หรือ ‘วันแห่งการใจดี’ สัปดาห์ละครั้ง ซึ่งจะถือเป็นวันที่เราจะสามารถทำอะไรก็ได้ที่เราถือว่าเป็นสิ่งที่ดีตั้งแต่เล็กๆ จนถึงใหญ่ๆ อย่างการเปิดประตูให้ผู้อื่นหรือการอาสาสมัครทำกิจกรรมดีๆ ให้กับผู้อื่น เป็นต้น
3. เชื่อมต่อกับคนอื่น (Connect with others)
ความสัมพันธ์ที่อบอุ่นและไว้วางใจได้เป็นองค์ประกอบสำคัญของสุขภาพทางอารมณ์ที่ดี ความสัมพันธ์ทางสังคมที่แน่นแฟ้น สามารถช่วยเพิ่มความมั่นใจและความภาคภูมิใจในตนเองเรา อีกทั้งยังเป็นเกราะป้องกันทางจิตใจต่อความเครียด ความซึมเศร้า และความวิตกกังวล ลองระบุความสัมพันธ์ที่สำคัญที่สุดในชีวิตของคุณ อาจเป็นคนรัก เครือญาติ คนสนิท หรือเพื่อนทางจิตวิญญาณ และใช้เวลาเสริมสร้างความสัมพันธ์นั้นๆ ร่วมกัน นี่ถือเป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับที่ยอดเยี่ยมเลยทีเดียวค่ะ
4. ใช้เวลากับธรรมชาติ (Spend time in nature)
สภาพแวดล้อมสามารถมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการกระตุ้นหรือผ่อนคลายความเครียด ดังที่นักวิจัยเคยกล่าวว่ายิ่งชีวิตของเราเป็นสีเขียวมากขึ้นเท่าไร เราก็ยิ่งมีโอกาสที่จะรู้สึกดีมากขึ้นเท่านั้น
ผลการศึกษายังพบว่าคนที่ใช้เวลานอกบ้านมากกว่า (หรือเข้าถึงต้นไม้และหน้าต่างสีเขียวในสภาพแวดล้อมในร่ม) มีอารมณ์ที่ดีขึ้น มีความคิดกว้างขวาง และค้นพบความหมายในชีวิตมากกว่าคนที่อาจจะมักอูดอู้อยู่ข้างใน ได้ยินแบบนี้แล้วต้องลองหาเวลาออกไปสูดอากาศข้างนอก ใช้เวลานอกเหนือจากในบ้านกันดูแล้วค่ะ
5. สัมผัสพลังงานบวกจากคนอื่น จากคำให้กำลังใจ หรือความดีความงามรอบตัวในโลกใบนี้ (A touch of encouragement or lovely words)
ข้อสุดท้ายนี้อาจดูเหมือนข้อแรกและข้อที่สาม แต่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงนั่นก็คือในขณะที่ข้อแรกเป็นการแนะนำให้เรารู้สึกขอบคุณ ซี่งมักเกิดขึ้นกับตัวเองอย่างเงียบๆ ในข้อสุดท้ายนี้ คือการแนะให้เราลองสัมผัสกับความดีงามเหล่านั้นจริงๆ ไม่ว่าจะผ่านการพูดคุยกับผู้คนหรือแค่การอ่านการ์ตูน (Illustration) เยียวยา ให้กำลังใจที่ดีๆ ต่างก็ถือว่าสามารถช่วยเพิ่มพลังงานบวกได้อย่างดี
เพราะมนุษย์เร่งรีบผ่านประสบการณ์ชีวิตตลอดเวลา โดยเฉพาะประสบการณ์ดีๆ การเรียนรู้ที่จะลองสัมผัสกับชีวิตจริงๆ จึงอาจหมายถึงการชะลอตัวและชื่นชมช่วงเวลาแห่งความสุข ความพึงพอใจ และความสงบสุขต่างๆ ไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใด ซึ่งเคล็ดลับเชิงวิทยาศาสตร์ตรงนี้ก็คือยิ่งมีการรับรู้บางสิ่งนานเท่าไร เซลล์ประสาทของเราก็จะยิ่งส่งพลังงานและเก็บวัตถุหรือความคิดไว้ในความทรงจำมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นการได้รับประสบการณ์และการคิดเชิงบวกจะ "สอน" สมองให้อยู่ในรูปแบบเชิงบวกที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น สอนให้เราอยู่กับสิ่งที่ดีงามต่างๆ แต่แน่นอนว่าหากเราอาจจะยังไม่เคยชินตรงนี้ ก็ไม่เป็นไร ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป ให้สมอง ร่างกาย และจิตใจของเราค่อยๆ ปรับทำนั่นเองค่ะ
Starfish Labz อ่านเองแล้วก็รู้สึกมีแรงใจในการอยากจะลองมาสร้างความรู้สึกดีๆ ให้ตัวเองกันเลย ส่วนเพื่อนๆ คนไหน หากอ่านแล้ว ยังรู้สึกว่าทำไม่ไหว การพัฒนาทักษะการคิดเชิงบวกอาจจะยากสำหรับเราเกินไป ก็ไม่เป็นไรไปนะคะ อย่างที่บอกไปว่าทุกอย่างอาจเป็นรูปแบบ (Patterns) ในการใช้ชีวิตของเรา ถ้าเราอยากลองเริ่มการพัฒนาตนเอง อยากเปลี่ยนรูปแบบ นิสัย ก็อาจจะต้องใช้เวลา ค่อยเป็นค่อยไป และต้องใส่ใจกับความรู้สึกว่าเราทำไหว รวมถึงไม่กดความรู้สึกที่แย่ที่เราอาจจะมีอยู่มากจนเกินไป เพราะนอกจากการรับความรู้สึกที่ดีแล้ว การเปิดพื้นที่ให้ความรู้สึกอื่นๆ ก็ล้วนสำคัญเช่นกัน
อ้างอิง:
Related Courses
โลกเปลี่ยนไป ปรับตัวกับภัยธรรมชาติอย่างไรให้อยู่รอด
"โลกเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าที่คิด” ภัยธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อยครั้ง การเตรียมตัวล่วงหน้าจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด คอร์สนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจกา ...
โลกเปลี่ยนไป ปรับตัวกับภัยธรรมชาติอย่างไรให้อยู่รอด
ต้องใช้ 100 เหรียญ
รอบรู้เรื่องภาษี และการออมเบื้องต้น สำหรับวัยรุ่น
การมีความรู้เรื่องภาษีและการออมเงินเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างอนาคตทางการเงินที่มั่นคงและปลอดภัย
5 เทคนิคเลคเชอร์ ให้จำได้ ทบทวนบทเรียนแบบง่ายๆ
อยากเกรด A ต้องทำยังไง? คอร์สนี้มีคำตอบกับ 5 เคล็ดลับ! สุดเจ๋ง ที่จะช่วยให้จดจำเนื้อหาได้ยาวนาน ทบทวนสนุก สมองปลอดโปร่ง ...
เกมจิตวิทยาค้นหาตัวตน
อยากรู้ตัวเองมากขึ้นไหม? มาเล่นเกมค้นหาตัวตนกัน! คอร์สออนไลน์สนุกๆ ที่จะพาคุณไปเจอตัวเองที่แท้จริง" ค้นพบความถนัด ศักยภ ...