จัดการสอนแบบใหม่ด้วยเทคนิค 'การเรียนรู้แบบค้นพบ' ยิ่งเรียนรู้ ยิ่งสนุก ยิ่งอยากพัฒนา
หากกล่าวถึงรูปแบบการเรียนรู้ยอดฮิตอย่าง Active Learning หลายๆ คนคงนึกถึงหลากหลายเทคนิคย่อยมากมายที่ถือเป็นหนึ่งรูปแบบการเรียนรู้เชิง Active Learning ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Problem-Based Learning, Gamification หรือ Flipped Classroom แต่ในบรรดาหลากหลายการเรียนรู้เชิง Active เหล่านี้ อีกหนึ่งเทคนิคที่ดีไม่แพ้กันก็คือเทคนิคที่เรียกว่า Discovery Method หรือการเรียนรู้แบบค้นพบ เรียกว่า Discovery Method หรือการเรียนรู้แบบค้นพบคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร หรือจะสามารถนำมาใช้ในห้องเรียนแบบ Active Learning ของเราได้จริงไหม ตาม Starfish Labz มาดูกันในบทความนี้เลย
การเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method) คืออะไร?
การเรียนรู้แบบค้นพบ หรือ Discovery Method คือกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบหรือความรู้ด้วยตนเองในลักษณะการสำรวจทดลองหรือค้นหา (Exploration) รวมถึงการแก้ไขปัญหาหนึ่งๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบหรือการค่อยๆ ค้นพบ ในกระบวนการสอนด้วยเทคนิคนี้ คุณครูอาจจะชวนตั้งคำถามให้เด็กๆ ค่อยสงสัย อยากเรียนรู้หรือจะสร้างสถานการณ์หนึ่งๆ ขึ้นมาเพื่อให้พวกเขาช่วยกันแก้ไขปัญหา พร้อมด้วยการออกแบบการเรียนรู้ในลักษณะที่ตรงตามธรรมชาติหรือวิชาดังกล่าว เช่น การใช้วิธีการค้นหาแบบนักชีววิทยาหากพวกเขากำลังเรียนอยู่ในวิชาชีววิทยาหรือการใช้วิธีการค้นหาแบบนักประวัติศาสตร์หากพวกเขากำลังเรียนอยู่ในวิชาประวัติศาสตร์ ด้วยลักษณะการเรียนรู้ที่เน้นให้เด็กๆ มีส่วนร่วมและลงมือทำ การเรียนรู้แบบค้นพบจึงถือเป็นหนึ่งในรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning และยังเป็นเทคนิคที่ช่วยเสริมสร้างทั้งความสนุกและความอยากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อีกด้วย โดยแม้ตัวเทคนิคจะให้ความรู้สึกเหมือนการผสมผสานระหว่าง Problem-Based Learning และการเรียนรู้เชิงตั้งคำถามเข้าด้วยกัน แต่วิธีการเรียนรู้แบบค้นพบก็ยังคงมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองนั่นก็คือหัวใจของความใคร่รู้ (Curiosity) และความสนุกสนาน ช่วยให้การเรียนไม่น่าเบื่อรวมถึงการสอนเองก็ขับเคลื่อนไปได้อย่างสนุกสนานและน่าสนใจนั่นเอง
ตัวอย่างการออกแบบการเรียนรู้แบบค้นพบ
คุณประโยชน์อย่างหนึ่งของการเรียนรู้แบบ Active Learning แน่นอนว่าคือความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ให้อยู่ในโจทย์ที่เราต้องการและสำหรับการเรียนรู้แบบค้นพบแน่นอนว่าเราก็สามารถออกแบบลักษณะการเรียนรู้หรือกระบวนการค้นพบต่างๆ ให้ออกมาในรูปแบบที่เราต้องการได้
หนึ่งในรูปแบบที่น่าสนใจซึ่งได้รับการออกแบบไว้ก็คือวิธีการสอนคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการสอนแบบค้นพบโดยใช้ทักษะ 7 ส ซึ่งถือเป็นการนำทฤษฎีการสอนของเจอร์รูม บรูเนอร์ (Jerome Bruner) ผู้สนับสนุนวิธีการสอนแบบค้นพบและทฤษฎีการเรียนรู้โดยการกระทำของจอห์น ดิวอี้ (John Dewey) มาผสมผสานกันให้เป็นวิธีการสอนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการแสวงหาความคำตอบและการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองของเด็กๆ โดยมีกระบวนการหรือขั้นตอนการสอน ดังนี้
1. ขั้นนำ สงสัย ( การนำเข้าสู่บทเรียน คุณครูสร้างสถานการณ์หรือคำถามให้เด็กๆ เกิดความสงสัยในเรื่องที่จะเรียน )
สังเกต ( ฝึกให้เด็กๆ มองหารายละเอียดของเรื่องที่เกิดความสงสัย )
2. ขั้นสอน สัมผัส ( ฝึกให้เด็กๆ ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ )
สำรวจ ( ฝึกให้เด็กๆมองหาความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยง ความเกี่ยวข้องของเรื่องที่จะเรียน)
สืบค้น ( ให้เด็กๆ ลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ หลักการ แนวคิด )
3. ขั้นฝึกทักษะ สั่งสม (ให้เด็กๆ พัฒนาตนเองสู่ความชำนาญโดยการนำแนวคิดมาใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย )
4. ขั้นสรุป สรุปผล ( ให้เด็กๆ รวบรวมแนวคิดมาสรุปเป็นองค์ความรู้ด้วยตนเอง )
โดยเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการในส่วนของเด็กๆแล้ว อีกหนึ่งส่วนที่มีความสำคัญซึ่งเป็นพาร์ทของคุณครูก็คือประเมินและบันทึกผลผ่านกระบวนการตัวอย่าง อาทิ
1. การวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ด้วยวิธีการสอนแบบค้นพบโดยใช้ทักษะ 7 ส แบ่งการวัดผลและประเมินผลเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1.1 การวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
1.2 การวัดและประเมินผลทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์
2. วิธีการวัด
2.1 ตรวจผลงาน เช่น แบบฝึก ใบงาน แบบทดสอบ
2.2 สังเกตความสามารถด้านทักษะ/กระบวนการและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในขณะปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้
3. เครื่องมือวัด
3.1 แบบฝึกใบงานแบบทดสอบ
3.2 แบบวัดความสามารถด้านทักษะ/กระบวนการและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้งในรูปแบบเอกสารหรือผ่านการใช้เครื่องมือช่วยประเมิน (EdTech Tool)
4. เกณฑ์การประเมิน
4.1 การประเมินแบบทดสอบ แบบฝึก ใบงาน ใบกิจกรรม
4.2 ทำแบบทดสอบหรือแบบฝึกได้ถูกต้อง (คะแนนรายข้ออยู่ในดุลยพินิจของครู)
4.3 ใบงานหรือใบกิจกรรม (เกณฑ์การประเมินตามความเหมาะสมกับลักษณะของงานและอยู่ในดุลยพินิจของครู)
คุณประโยชน์ของการเรียนรู้แบบค้นพบ
คุณประโยชน์ของการเรียนรู้แบบค้นพบมีมากมาย อาทิ
- ช่วยให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผล
- ช่วยให้ผู้เรียนค้นพบสิ่งที่ค้นพบได้นานและเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
- ผู้เรียนมีความมั่นใจเพราะได้เรียนรู้สิ่งใหม่อย่างเข้าใจจริง
- ช่วยให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางด้านความคิด
- ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านค้นคว้าเพื่อหาค าตอบด้วยตนเอง
- ก่อให้เกิดแรงจูงใจและความพึงพอใจในตนเองต่อการเรียนสูง
- ผู้เรียนรู้วิธีสร้างความรู้ด้วยตนเอง เช่น การหาข้อมูลการวิเคราะห์ และสรุปข้อความรู้
และนี่ก็คือการเรียนรู้แบบค้นพบ หรือ Discovery Method ที่วันนี้ Starfish Labz ได้นำมาฝากผู้อ่านทุกคนกัน กล่าวได้ว่านี่คืออีกหนึ่งเทคนิคการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่คุณครูยุคใหม่ไม่ควรพลาด แถมยังเป็นการเรียนรู้ที่ช่วยเสริมสร้างความสนุกสนานในการสอน ช่วยกระตุ้นทั้งเด็กๆ และคุณครู รวมถึงสร้างสีสัน สร้างกระบวนการการเรียนรู้ที่แปลกใหม่ ไม่ซ้ำใคร ยิ่งออกแบบดีแค่ไหน ก็ยิ่งสามารถช่วยให้รู้สึกราวกับว่าเรากำลังทำการสำรวจค้นหาสิ่งหนึ่งๆ อยู่ ไม่ได้กำลังเรียนรู้หรืออยู่ในห้องเรียน เป็นการเสริมสร้างความตั้งใจในการเรียนรูอย่างเฉียบคมเลยนั่นเอง
อ้างอิง:
Related Courses
สร้าง Self-Esteem เสริมคุณค่าให้กับนักเรียนอย่างไร
Self-Esteem หรือ การเคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญในการดำเนินชีวิต เพื่อให้สามารถรับมือกับอารมณ์และสถานการ ...
Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.4-6
เด็กระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 จะอยู่ในช่วงวัยที่เริ่มเรียนรู้จักพัฒนาตนเอง สนใจความรู้สึกตนเองและผู้อื่น เริ่มให้ความสนใจเพศตร ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.1-3
การที่เด็กอารมณ์ดี มีความร่าเริงแจ่มใสจะมีผลต่อพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น สมอง จิตใจ และร่างกาย แต่หากอารมณ์ไม่ ...