Starfish Labz แจก 5 เว็บไซต์เพื่อการวิจัยทางการศึกษาสำหรับคุณครู รู้แบบนี้ วิจัยดีไปนานแล้ว
ในช่วงเวลาของการเป็นครู นอกเหนือจากการทำหน้าที่เป็นผู้สอนแล้ว อีกหนึ่งบทบาทที่หลายๆ คนกำลังอาจล้วนตกล่องปล่องชิ้นอยู่เสมอก็คือการเป็นนักวิจัย การต้องทำการศึกษา ซึ่งไม่ว่าจะด้วยเพราะเป็นข้อกำหนดหรือเกิดจากควาตั้งใจของเราเอง แน่นอนว่าทุกเสตปล้วนมาพร้อมกับความยากง่าย และอาจพลอยทำให้เราสับสนและเหนื่อยยิ่งกว่าเดิม
การมีตัวช่วยดีๆ ไม่ว่าจะในรูปแบบของคนสนิทหรือแหล่งความรู้ เว็บไซต์ดีๆ สักแห่งจึงถือเป็นหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญเลยทีเดียวสำหรับคุณครูท่านใดก็ตามที่กำลังอยู่ในช่วงของการทำการวิจัยทางการศึกษาและในบทความนี้ แน่นอนว่าสิ่งที่ Starfish Labz เตรียมมาก็คือแหล่งชุดความรู้ดีๆ สำหรับคุณครูทุกคนที่กำลังทำการศึกษาหรือทำวิจัยกันค่ะ จะมีแหล่งความรู้ชุดใด แบบไหน หรือจากที่ไหนกันบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว ก็มาลุยกันเลย
Starfish Labz แจก 5 เว็บไซต์เพื่อการวิจัยทางการศึกษาสำหรับคุณครู รู้แบบนี้ วิจัยดีไปนานแล้ว
1. Google Scholar และ TDC Google Scholar คือเครื่องมือค้นหาของ Google ที่เปรียบเสมือนห้องสมุดงานวิจัยขนาดใหญ่ที่ผู้ใช้งานสามารถเข้ามาใช้เพื่อค้นหาบทความด้านวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัย ธีสิส วารสาร ที่จัดทำและเผยแพร่จากสถาบันการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และแหล่งข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับบุคลากรในหลากหลายสาขาวิชา รวมถึงในด้านการศึกษาที่ต้องการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้อ้างอิงในการทำบทความหรือการวิจัยทางการศึกษา แถมการใช้งานยังมีฟีเจอร์ที่ดีหลากหลาย อาทิ
- ผู้ใช้งานสามารถค้นหาบทความวิชาการได้อย่างสะดวก ทุกที่ทุกเวลาบนทุกอุปกรณ์
- ผู้ใช้งานสามารถค้นหาจากชื่อบทความ เรื่องที่เกี่ยวข้อง การอ้างอิง ชื่อผู้จัดทำ และชื่อสื่อสิ่งพิมพ์
- ผู้ใช้งานสามารถคลิกอ่านบนเว็บไซต์ต้นทางได้ทันที หรือจะกดติดดาวเก็บ ซึ่งหมายถึงการบันทึกไว้อ่านทีหลัง
- ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูบทความของช่วงปีที่ต้องการได้ ตลอดจนติดตามความคืบหน้าของงานวิจัยดังกล่าว
- ผู้ใช้งานสร้างโปรไฟล์ผลงานของตัวเอง ตลอดจนดูว่ามีใครนำบทความของเราไปอ้างอิงบ้างหรือเปล่า
การใช้งาน Google Scholar มีข้อดีตรงที่ถือเป็นแหล่งข้อมูลที่รวมงานวิจัยจากแทบทุกมุมโลก แต่ถ้าหากใครอยากได้เฉพาะจากภายในประเทศไทย อีกหนึ่งเว็บไซต์ที่ควรแก่การลองใช้งานเช่นกันก็คือ TDC หรือ Thai Digital Collection โครงการแหล่งรวมผลการวิจัยของ ThaiLIS ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้บริการสืบค้นฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็มของวิทยานิพนธ์ รวมถึงรายงานการวิจัยของอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ เป็นหนึ่งในเว็บไซต์สำหรับการศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติมที่เหมาะแก่การคุณครูที่กำลังทำการวิจัยทางการศึกษาอย่างยิ่ง
2. ResearchGate อีกหนึ่งศูนย์รวบรวมผลงานวิจัยที่คล้ายกับ Google Scholar แต่แตกต่างกันตรงที่ ResearchGate จะมีความเป็นชุมชนและเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับการสร้างมาเพื่อรองรับการเชื่อมต่อกันระหว่างนักวิจัย นักวิชา และคุณครูอาจารย์ทั่วโลกมากกว่า หน้าตาการใช้งานอยู่ในรูปกึ่งแพล็ตฟอร์มการเชื่อมต่อ กึ่งแพล็ตฟอร์มการค้นคว้าหาวิจัยและผลงาน ภายในเว็บไซต์ ผู้ใช้งานสามารถ
- เพิ่มและแชร์บทความวิจัย
- เพิ่มและแชร์โปรเจคที่จะทำ/กำลงทำอยู่
- เพิ่มและแชร์ ผลงาน รางวัลตาง ๆ
- ตั้งคำถามให้นักวิจัยหรือเพื่อนๆ ร่วมวงการท่านอื่นๆ มาร่วมตอบ ให้ความช่วยเหลือ หรือแนะนำ
- ค้นหาบทความวิจัย โปรเจค หรือผลงานต่างๆ
- ดาวน์โหลดบทความวิจัยที่เปิดให้มีการดาวน์โหลดได้ฟรี
- ขอไฟล์บทความวิจัย (ในกรณีที่มีแต่การระบุผลงาน แต่ยังไม่มีการอัปโหลดลง)
- ติดตามบทความวิจัยหรือนักวิจัยคนอื่นๆ ในแวดวงหรือวงการเดียวกัน รวมถึงวงการอื่นๆ
- ตรวจดูการถูกอ้างอิงในงานวิจัยอื่นๆ ตลอดจนการเพิ่มโอกาสการมีชื่อเสียงในวงกว้าง
3. Grammarly และ readAwrite มีแหล่งรวบรวมผลงานวิจัยแล้ว สเตปต่อไปก็คือการเขียน ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับใครที่อาจจะต้องมีการเขียนเป็นภาษาอังกฤษในช่วงบทคัดย่อหรือบทใดก็ๆ ตาม เครื่องมือหนึ่งที่สามารถช่วยได้ยิ่งก็คือ Grammarly หรือเครื่องมือบนเว็บไซต์ที่สามารถช่วยให้เราสามารถพิมพ์ภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องขึ้นมาในพริบตา ด้วยการพัฒนาของผู้พัฒนา Grammarly สามารถช่วยเราแก้ไขไวยากรณ์, การสะกดคำ รวมถึงลักษณะการเขียน ความเป็นธรรมชาติในด้านต่างๆ จนถึงโทนเสียงของรูปประโยคซึ่งแม้แน่นอนว่าอาจจะนำมาใช้แทนความสามารถของคนไม่ได้จริงๆ แบบ 100% แต่หากใครพอมีพื้นฐานอยู่แล้ว อยากได้เพียงแค่เครื่องมือดีๆ เพิ่มในการคอยช่วยเช็คหรือตรวจทานการเขียนต่างๆ ต้องลอง Grammarly เลยค่ะ
ส่วนหากใครที่ต้องการเครื่องมือสำหรับการตรวจคำสะกดภาษาไทยเท่านั้น เครื่องมือยอดฮิตที่สุดและที่ถือว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับว่ามีความถูกต้องและมีประสิทธิภาพที่สุดในบ้านเราก็คือ readAwrite ซึ่งตัวแพล็ตฟอร์มของเขาจริงๆ แล้วเป็นเว็บไซต์นิยาย แต่มีเครื่องมือการตรวจภายในที่เป็นขวัญใจของผู้ใช้งานหลากหลาย คุณครูท่านใดที่กำลังมองหาเครื่องมือดีๆ ในการช่วยตรวจคำ ต้องลอง readAwrite เลยค่ะ
4. Couresa และ SkillLane มีแหล่งวิจัย มีเครื่องมือการเขียนแล้ว แต่ถ้าเรารู้สึกว่าบางทักษะของเราอาจจะยังอ่อนอยู่ หรือเราอาจจะไม่เข้าในจุดนี้ ส่วนนี้ อีกหนึ่งชุดเว็บไซต์ที่ Starfish Labz อยากแนะนำก็คือแพล็ตฟอร์มเชิงเรียน Online และเทคโนโลยีการศึกษาอย่าง Couresa และ SkillLane ที่มาพร้อมกับคอร์สด้านการวิจัยที่หลากหลาย ซึ่งสาเหตุที่คัดเลือก 2 แพล็ตฟอร์มนี้ก็เพราะเรื่องของประสิทธิภาพ คุณภาพ และความครอบคลุมในตัววิชานั่นเอง ทั้งสองแพล็ตฟอร์มมีคอร์สในด้านการวิจัย ต่างกันตรงที่หากใครอยากเรียนจากผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ ก็อาจต้องเลือก Couresa ส่วนใครอยากเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ในบ้านเรา Starfish Labz แนะนำเป็น SkillLane เลยค่ะ
5. Starfish Labz อาจดูเหมือนเป็นการอวยตัวเอง แต่หากพูดถึงแหล่งเรียนรู้ด้านการศึกษาและการค้นคว้าสำหรับคุณครูแล้วจะขาดอีกหนึ่งแพล็ตฟอร์มอย่าง Starfish Labz ไปได้อย่างไร ซึ่งแน่นอนว่านอกเหนือจากการเป็นชุมชนความรู้ Starfish Labz ยังเป็นแพล็ตฟอร์มเทคโนโลยีการศึกษา เป็นพื้นที่การเรียน Online ที่เต็มไปด้วยคอร์สอันมากคุณค่าสำหรับคุณครูที่กำลังต้องการทักษะดีๆ ในการทำวิจัยมากมาย อาทิ
คอร์สไอเดียการใช้ Visual Thinking กับวัยเรียนและวัยทำงาน
- คอร์สการวางแผนพัฒนาตนเอง
- คอร์สผู้อำนวยการและความเป็นผู้นำด้านวิชาการ
- คอร์สการใช้โปรแกรม Microsoft Excel เบื้องต้น
- คอร์สการใช้งานเทคโนโลยีการศึกษา Starfish Class
และคอร์สการพัฒนาตนเองรวมถึงทักษะในการทำงานต่างๆ อีกมากมายที่คุณครูที่กำลังอยู่ในช่วงการวิจัยทางการศึกษาไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวงเลยค่ะ
อ้างอิง
- Google Scholar คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง
- TDC: ThaiLIS Digital Collection
- Grammarly คืออะไร? แนะนำฟีเจอร์ และวิธีใช้งาน [VDO สอนใช้
- Starfish Labz - คอลเลคชั่นคอร์สเรียนออนไลน์
- คอร์ส Starfish Class Website Version จาก Starfish Labz
บทความใกล้เคียง
Related Courses
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
การสอนภาษาไทย 3R ชุดที่ 2
การสอนภาษาไทยชุดที่ 2 เป็นตัวอย่างการสอนสระ เอ แอ ออ อำ และการสอนหนังสือฝึกอ่านภาษาไทย ซึ่งเป็นวิธีการสอนแนวใหม่ ...
สร้างกิจกรรมโต้ตอบแบบ Real-time ด้วย Class Point
คุณครูสาย Edtech ที่กำลังมองหาตัวช่วยที่ใช้งานง่าย สะดวกสบาย และมีครบทุกเครื่องมือ ทุกกิจกรรมการเรียนรู้ โดยไม่ต้องใช้แอป ...
สร้างกิจกรรมโต้ตอบแบบ Real-time ด้วย Class Point
ต้องใช้ 100 เหรียญ