4 วิธีช่วยให้ผู้เรียนประเมินตัวเอง
การประเมินการเรียนรู้ เป็นสิ่งที่สำคัญและควรสอดคล้องกับการออกแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน นักเรียนจะสามารถประเมินตัวเองได้ผ่านการทำ 3 ข้อ 1) การเห็นตัวอย่างที่ดี 2) เรียนรู้ด้านที่ตัวเองเชี่ยวชาญ 3) ฝึกการรับฟีดแบ็กจากเพื่อน
หากคุณครูต้องการพัฒนาความสามารถของนักเรียนในการประเมินตนเอง คุณครูสามารถปรับแนวทางปฏิบัติของพวกเขา ตั้งแต่การฟีดแบ็กซึ่งกันและกันไปจนถึงกลยุทธ์การคิดด้วยภาพ
ชวนคุณครูมา 4 วิธีช่วยให้ผู้เรียนประเมินตัวเองกันเลย !
วิธีการที่ 1 : ให้นักเรียนได้เห็นตัวอย่างงานที่สมบูรณ์หรืองานที่ยอดเยี่ยม (Mastery work)
ในการสร้างผลงานที่ยอดเยี่ยม นักเรียนจำเป็นต้องรู้ว่างานที่ยอดเยี่ยมนั้นเป็นอย่างไร ครูมีหน้าที่ต้องทำให้นักเรียนเห็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยม เช่น คุณครูสามารถแสดงผลงานของตัวเองให้แก่นักเรียน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญภายนอก นักศึกษา รุ่นพี่ เพื่อนร่วมชั้นของตนเอง หรือวิดีโอ รูปภาพและข้อความที่ได้รับการประเมินแล้วว่าเป็นผลงานที่ดี เช่น ในวิชาภาษาอังกฤษ คุณครูสามารถแสดงตัวอย่างงานเขียนที่ได้ A+ ได้ หรือในวิชาศิลปะ ที่ครูแสดงตัวอย่างงานวาดภาพเหมือนที่ได้คะแนนเยอะที่สุด เป็นต้น
วิธีการที่ 2 : ให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์เพื่อที่จะสามารถสังเคราะห์ได้ โดยใช้วิธีการ ดังนี้
2.1 กิจกรรมกำแพงคำศัพท์ : เป็นกิจกรรมที่จะทำให้นักเรียนเชื่อมโยงคำศัพท์เดิมบนกระดาน และให้นักเรียนช่วยกันตีความความหมายต่างๆ ของคำศัพท์นั้นตามที่นักเรียนเข้าใจ
2.2 คุณครูใช้คำศัพท์ที่ไม่เป็นทางการ : ขอให้คุณครูมั่นใจว่าภาษาที่คุณครูใช้เป็นภาษาที่นักเรียนเข้าใจตรงกัน การทำเช่นนี้ นักเรียนจะสามารถสร้างคำศัพท์ใหม่ได้เรื่อยๆ ในขณะที่เรียน
วิธีการที่ 3 : ให้นักเรียนฟีดแบ็กเพื่อน
การได้รับฟีดแบ็กจากเพื่อนจะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แบ่งปันความคิดเห็นกันเอง และช่วยให้พวกเขาเปิดกว้างต่อการรับฟัง และติชมมากขึ้น ดังนี้
3.1 การสร้างข้อตกลงร่วมกันในการให้ฟีดแบ็ก : คุณครูควรชวนนักเรียนคุยเรื่องข้อตกลงร่วมกันว่าทำไมเราต้องฟีดแบ็กกัน เราคาดหวังอะไรกับการฟีดแบ็กและพฤติกรรมใดที่นักเรียนจะต้องปฏิบัติตามเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น และสิ่งสำคัญคือการส่งเสริมพฤติกรรม เช่น
- การปฏิบัติต่อเพื่อนด้วยความเคารพ
- การสร้างสมดุลระหว่างความคิดเห็นและคำชมเชย
- เจาะจงว่าส่งใดเป็นข้อดีและสิ่งใดควรปรับรุง
- จำไว้ว่า การให้ฟีดแบ็กเป็นเรื่องของการเรียนรู้ ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว
3.2 หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่กำกวม เช่น นักเรียนอาจจะใช้คำว่า “น่าเบื่อ” แต่ครูควรจะให้คำแนะนำเพิ่มเติมถึงรายละเอียดที่ชิ้นงาน หรือเป็นการตั้งคำถาม เช่น นักเรียนเห็นอะไร เกิดอะไรขึ้นกับชิ้นงาน ส่วนไหนของชิ้นงานที่ทำให้นักเรียนรู้สึกแบบนั้น เป็นต้น
3.3 ให้นักเรียนเขียนคำฟีดแบ็กลงบนกระดาษก่อน เพื่อให้นักเรียนได้คิดไตร่ตรองภาษาก่อนที่จะพูดออกมา
3.4 ช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่า ทำไมเขาถึงชอบ หรือไม่ชอบบางอย่างในชิ้นงาน โดยการให้นักเรียนพยายามหาเหตุผล เช่น ไม่ชอบใจเพราะเรื่องดีไซน์ ไม่ชอบใจเพราะแนวคิด หรือไม่ชอบใจเพราะผลงาน เป็นต้น
3.5 ช่วยสรุปคำวิจารณ์ของนักเรียน หลังจากที่นักเรียนฟีดแบ็กกันแล้ว คุณครูควรสรุปประเด็นคำวิจารณ์ของนักเรียน ช่วยปรับคำให้นักเรียนที่ถูกวิจารณ์รู้สึกดีขึ้นหรือเข้าใจคำนั้นในรูปแบบอื่นๆ
วิธีการที่ 4 : ให้นักเรียนฝึกคิดเป็นภาพ
โดยการตั้งคำถามกับ 3 ข้อว่า
- อธิบายในสิ่งที่เห็น
- วิเคราะห์ในสิ่งที่เห็น
- ตัดสิน / สรุปความในสิ่งที่เห็น
โดยการใช้กิจกรรม ดังนี้
4.1 กิจกรรม Post-it note ฟีดแบ็ก
เป็นการเตรียมเขียน 3 คำในโพสอิทเพื่อเป็นการให้ข้อเสนอแนะสั้นๆ เกี่ยวกับงานหลายชิ้น โดยไม่ต้องพูดความคิดเห็นเพราะการเขียนวิจารณ์ในโพสอิทอาจเป็นวิธีการที่ดีสำหรับนักเรียนที่อายและไม่มีความมั่นใจในการแบ่งปันความเห็น
4.2 กิจกรรมอ่างปลา Fishbowl discussion
เป็นกิจกรรมรูปแบบการสนทนารูปแบบหนึ่ง (วิธีการโสคราตีส) ที่ช่วยให้นักเรียนได้ไตร่ตรอง วิพากษ์วิจารณ์ จากนั้น ต่อยอดการพูดคุยกันในประเด็นที่เกี่ยวกับเป้าหมาย แนวทางปฏิบัติกับนักเรียนโดยที่ไม่มีการแทรงแซงระหว่างการพูดคุยกัน โดยจำหลักการไว้ในใจว่า “รู้ว่าจะต้องถามอะไร ไม่ใช่โฟกัสที่คำตอบ”
4 วิธีการนี้ จะช่วยให้นักเรียนสามารถประเมินตัวเองหรือผลงานของตัวเองได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ตัวอย่างจาก 4 วิธีการนี้จะเกี่ยวข้องกับงานศิลปะ งานดนตรี ที่เป็นวิชาในเชิงสร้างสรรค์ ดังนั้น คุณครูอาจจะลองนำบางวิธีการไปปรับใช้ให้เข้าบริบทของตัวเองดูหรือลองกดเข้าไปที่ www.starfishclass.com ตัวช่วยคุณครูเรื่องการประเมินทักษะและสมรรถนะนักเรียนค่ะ
อ้างอิง
Related Courses
เกมจิตวิทยาค้นหาตัวตน
อยากรู้ตัวเองมากขึ้นไหม? มาเล่นเกมค้นหาตัวตนกัน! คอร์สออนไลน์สนุกๆ ที่จะพาคุณไปเจอตัวเองที่แท้จริง" ค้นพบความถนัด ศักยภ ...
5 เทคนิคเลคเชอร์ ให้จำได้ ทบทวนบทเรียนแบบง่ายๆ
อยากเกรด A ต้องทำยังไง? คอร์สนี้มีคำตอบกับ 5 เคล็ดลับ! สุดเจ๋ง ที่จะช่วยให้จดจำเนื้อหาได้ยาวนาน ทบทวนสนุก สมองปลอดโปร่ง ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 100 เหรียญ
เปิดโลกการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วย Google Lens
Google Lens เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การเรียนรู้กลายเป็นเรื่องง่ายและสนุกสนาน ผ่านการใช้กล้องสมาร์ทโฟนเพียงเครื่องเดียว ผู้ ...
เปิดโลกการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วย Google Lens
ต้องใช้ 100 เหรียญ