ในสมัยก่อนการสร้างเกมนั้นยังมีขนาดเล็ก และสามารถใช้คนคนเดียวในการสร้างเกมได้
สิ่งที่ต้องเรียนรู้ การเขียนโปรแกรมต่างๆ ภาษาในการเขียนโปรแกรม เช่น assembly, c เป็นต้น
และอาจต้องมีความสามารถในการวาดรูป ทำพิกเซลอาร์ต แต่งเพลง สร้างเสียงประกอบได้ด้วย
สำหรับในปัจจุบันการสร้างเกมนั้น ไม่สามารถทำคนเดียวได้อีก เนื่องจากเกมมีขนาดใหญ่มาก ดังนั้นเราจึงแบ่งหน้าที่กันทำงาน
โดยคร่าวๆ ดังนี้
1. หน้าที่นักออกแบบเกม สำหรับ การออกแบบเกม
- เรียนรู้เกี่ยวกับกลไกของเกม (game mechanics)
- เรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของเกมต่างๆ เช่น การต่อสู้(fighting) การผจญภัย(adventure) ปริศนา(puzzle) ฯลฯ
- เรียนรู้เกี่ยวกับออกแบบด่าน (level design)
- เรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบตัวละคร (character design) การออกแบบเนื้อเรื่อง (storytelling)
- เรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบ UI/UX (User Interface/User Experience)
2. หน้าที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์เกม และการเขียนโปรแกรม
- เรียนรู้ภาษาโปรแกรมที่ใช้สำหรับสร้างเกม เช่น C++, C#, Java, Python
- เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เอนจิ้นเกม (game engine) ยอดนิยม เช่น โปรแกรม Unity, Unreal Engine, Godot เป็นต้น
- เรียนรู้เกี่ยวกับระบบต่างๆ ที่ใช้สนับสนุนในเกม เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI), ระบบฟิสิกส์ (Physics), สร้างใช้คำสั่งเล่นเสียง (Sound) ต่างๆ
3. หน้าที่นักพัฒนากราฟิก สร้างกราฟิก
- เรียนรู้เกี่ยวกับ 2D หรือ 3D graphics ขึ้นอยู่กับประเภทเกม
- เรียนรู้เกี่ยวกับโปรแกรมสร้างโมเดล 3D เช่น Blender, Maya
- เรียนรู้เกี่ยวกับโปรแกรมวาดภาพ 2D เช่น Photoshop, GIMP
4. หน้าที่นักแต่งเพลง และ เสียง
- เรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบเสียง (sound design)
- เรียนรู้เกี่ยวกับโปรแกรมตัดต่อเสียง เช่น โปรแกรม Audacity, Adobe Audition
5. ฝ่ายสนับสนุน เช่น ผู้บริหารโปรเจกต์เกม และ ฝ่ายสนับสนุนเครื่องมืออื่นๆ
- เรียนรู้เกี่ยวกับ Git, เวอร์ชันควบคุม (version control)
- เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการโปรเจ็กต์ (project management)
- เรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารทีมงาน การหาแหล่งเงินทุน
จะเห็นได้ว่า กว่าจะได้เกมสนุกๆ ที่เราเล่นกันนั้น มีหน้าที่หลายตำแหน่งในการพัฒนาเกมเลย
ซึ่งอาจใช้คนตั้งแต่ 2-3 คน ไปจนถึง 400-500 คน ก็ได้ แล้วผู้อ่านอยากทำหน้าที่ตรงส่วนไหนของการสร้างเกม
คำแนะนำ:
ในการสร้างเกมนั้น ถ้าจะเริ่มต้น ควรเริ่มต้นจากเกมง่ายๆ ก่อน เรียนรู้ทีละขั้นตอน ฝึกฝนบ่อยๆ มีความอดทน ตั้งใจ พัฒนาฝีมือ หาแรงบันดาลใจจากเกมอื่นๆ
Related Courses
เทคนิคการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียนให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับผู้เรียน
เผยเคล็ดลับ! เทคนิคการจัดการเรียนรู้และชั้นเรียน สู่ผลลัพธ์ที่ดีกับผู้เรียน พร้อมไหมที่จะยกระดับการสอนของคุณ? คอร์สออนไลน์นี้ร ...



เทคนิคการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียนให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับผู้เรียน
ต้องใช้ 100 เหรียญ
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...



เทคนิคสอนภาษาไทยแบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA) ฉบับครูมัธยม
การสอนภาษาไทยผ่านกระบวนการ Active Learning เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหลากหลายรูปแ ...



เทคนิคสอนภาษาไทยแบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA) ฉบับครูมัธยม
Micro Learning ห้องเรียนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (เด็กสมาธิสั้น)
แนวทางการดูแลรักษาเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการมีภาวะสมาธิสั้น ต้องผสมผสานการรักษาหลายวิธี ถ้าเด็กได้รับการดูแลช่วยเหลือที่ถูกต้ ...



Micro Learning ห้องเรียนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (เด็กสมาธิสั้น)
Related Videos


วิจัยและนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ สู่ครูเชี่ยวชาญตามเกณฑ์ วPA


พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21

