บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลด้วย Prompt Process
บทบาทของผู้บริหารควรจะต้องมีส่วนสนับสนุนครูอย่างไรบ้างในยุคดิจิทัล คำว่ายุคดิจิทัล เราน่าจะเคยได้ยินมาตลอดตั้งแต่สมัยยุคที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 และคำว่าดิจิทัล ทำให้เกิดข้อจำกัดหลายๆ อย่างในสถานศึกษาอย่างไรบ้าง เช่น บางโรงเรียนสามารถทำได้ และบางโรงเรียนไม่สามารถใช้งานได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คำถามสำคัญคือ เมื่อดิจิทัลมีความจำเป็นอย่างในปัจจุบัน เราจะต้องทำอย่างไร
คำศัพท์ที่เราควรในยุคดิจิทัล ได้แก่
- SMAC คือ Social-Medias-Analytics-Cloud Computing
- Big Data คือ การจัดเก็บแหล่งข้อมูลทั้งหมดขององค์กร
- Data Center คือ แหล่งข้อมูลส่วนกลาง
- Digital Transformation คือ การเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบดิจิทัลหรือยุคดิจิทัล
- Learning คือ การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วว่องไวนำมาสู่การเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่มีขอบเขตจำกัดและไม่รู้จบ
- AI and IOT (Internet of things) คือ ปัญญาประดิษฐ และอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง
- Digital Workplace คือ การเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบดิจิตอลหรือยุคดิจิทัล
- Disruption คือ การปฏิวัติสิ่งต่างๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงไปในอีกวิถีทางใหม่
คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล
คือ ต้องมีภาวะผู้นำวิชาด้าน ICT และดิจิทัล ซึ่งหมายถึง ความสามารถของผู้บริหารสถานศึกษาในการเรียนรู้ เข้าใจและยอมรับ การเปลี่ยนแปลงด้าน ICT และดิจิทัล สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างเหมาะสม และเกิดประโยชน์อย่างสูงสุดต่อสถานศึกษา
ภาวะผู้นำทางวชิาการของผู้บริหารสถานศึกษา
มีความรู้ความสามารถในการใช้ปัญญาชี้นำ เพื่อปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์ บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ต่อองค์กรและต่อตนเอง โดยอาศัยเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ทิศทางที่พึงประสงค์ (รศ.ดร. สมศักดิ์ คงเที่ยง)
ปัจจัยที่ทำให้สถานศึกษายังไม่สามารถนำ ICT และดิจิทัลไปใช้ให้เกิดผลสำเร็จได้
- ความแตกต่างระหว่างช่วงวัย
- เพิ่มค่าใช้จ่าย
- ยุ่งยาก ซับซ้อน ไม่ถนัด
- อยู่ในถิ่นทุรกันดาร
- ยึดติดกระบวนการเดิม ๆ
- ขาดการสนับสนุนจากผู้บริหาร
- ขาดทักษะและความเข้าใจ
- ยังไม่เปิดใจ
การเปิดใจและพร้อมที่ขับเคลื่อน
- ปรับ Mindset
- ทดลองใช้บ่อยๆ
- ส่งเสริมสนับสนุน
- วางแผนการบริหารจัดการ
- สร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์
- ปรับกระบวนการให้ทันสมัย
- เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญ
- เพิ่มโอกาสการเรียนรู้ให้ตนเองเสมอ
จากแนวคิดสู่แนวทางปฏิบัติ
หน้าที่ของผู้บริหารในบทบาท Mentor
1. ดึงศักยภาพและขีดความสามารถของทีม
2. นำประสบการณ์ของตนเองมาใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีม
3. ลงมือทำร่วมกับทีม ให้ความร่วมมือ ให้ความช่วยเหลือ
4. สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับทีม เข้าถึงได้ ไม่ปิดกั้น ไม่เลือกปฏิบัติ
5. สร้างความสัมพันธ์ที่เท่าเทียม ให้ความสำคัญกับทุกคนเท่ากัน
หน้าที่ของผู้บริหารในบทบาท Coach
1. เน้นศักยภาพรายบุคคล ส่งเสริม สนับสนุน ตามความถนัดของลูกทีม
2. หาแนวทางในการแก้ปัญหา และพัฒนาทักษะในการดึงศักยภาพตัวบุคคล
3. กำกับ ติดตาม วัดผลประเมินผลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
4. เติมเต็มความรู้ ทักษะ ข้อมูลให้ลูกทีมอย่างสม่ำเสมอ
5. จะไม่ร่วมลงมือทำด้วย แต่จะคอยให้คำแนะนำ คำปรึกษา
นโยบายและจุดเน้นของสพฐ. 2567-2568
- ปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติ และน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาเข้าสู่การปฏิบัติ
- จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประชาธิปไตย
- ปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ทันสมัยและหลากหลาย
- ส่งเสริมการอ่านเพื่อเป็นวิถีในการค้นหาความรู้และต่อยอดองค์ความรู้ที่สูงขึ้น
- ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
- จัดการศึกษาแบบเรียนรวม
- จัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ
- ส่งเสริมความปลอดภัยของสถานศึกษา
- เพิ่มโอกาสและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา
- พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
กำหนดเป้าหมายการพัฒนา
- พัฒนานักเรียน ได้แก่ พัฒนาทักษะวิชาการ อาชีพ และชีวิต
- พัฒนาครู ได้แก่ ทักษะการใช้สื่อ ICT และดิจิทัล การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) การพัฒนาตนเองตามข้อตกลงการปฏิบัติงาน (PA) ว9/2564 3 ด้าน 3 15 ตัวชี้วัด
- พัฒนาโรงเรียน ได้แก่ การตอบสนองนโยบายและจุดเน้น สพฐ. มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านการทำสื่อ ICT และดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการ และยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา
- พัฒนาตนเอง ได้แก่ ทักษะการใช้สื่อ ICT และดิจิมทัล การพัฒนาตนเองตามข้อตกลงการปฏิบัติงาน (PA) ว10 / 2564 5 ด้าน 15 ตัวชี้วัด
PROMPT Process คืออะไร
- กายพร้อม ใจพร้อม ?
- องค์ความรู้ ทักษะ สมรรถนะ ?
- สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ?
- วางแผน กำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน ?
กรอบแนวคิด PROMPT PROCESS
- กระบวนการ Feedback (Plan > Do > Check > Act) + การใช้ PLC ในการบริหารจัดการ
ขั้นตอนกระบวนการ PLC ตาม Log Book
- ประเด็นปัญหา (ที่มาของปัญหา / บันทึกหลังแผนการสอน/ ทักษะ ความรู้ พัฒนาการของผู้เรียน / กระบวนการจัดการเรียนรู้ / อุปสรรค / พฤติกรรม / เจตคติ
- สาเหตุของปัญหา (ข้อจำกัด / ข้อบกพร่อง / ขาดสมรรถนะ / ทักษะ / พฤติกรรมการแสดงออก)
- ความรู้ หรือหลังการที่นำไปใช้ (หลักการ / แนวคิด /ทฤษฎี / เทคนิควิธีการ)
- กิจกรรมที่ทำ (สุนทรียสนทนา / เสนอแนะแนวทางแก้ปัญหา / ประสบการณ์แก้ปัญหาที่เคยใช้ / การนำไปใช้ / จัดทำแผนการเรียนรู้ / สะท้อนแผน / เยี่ยมชั้นเรียน / สังเกตการสอน / สะท้อนผล)
- ผลที่ได้จากการพัฒนา (ผลจากการใช้เครื่องมือ / นวัตกรรม / วิธีการ / ผลที่เกิดกับผู้เรียน)
- การนำไปที่ได้ไปใช้
- อื่นๆ
PROMPT PROCESS คืออะไร
P = Planing คือ การวางแผนการดำเนินการ กำหนดเป้าหมายการทำงาน ระดมความคิด ตระหนักถึงแนวนโยบายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เล็งเห็นถึงความสำคัญของการทำงานที่เป็นทิศทางเดียวกัน มุ่งประโยชน์ที่เกิดแก่นักเรียนเป็นสำคัญ ได้แก่
- นโยบายสพฐ. / นโยบายต้นสังกัด / จุดเน้น เป้าหมาย
- แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียน
- แผนปฏิบัติการ แผนยกระดับผลสัมฤทธิ์ ประกันคุณภาพภายใน
- หลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรกลุ่มสาระ หลักสูตรชั้นเรียน
- การออกแบบการจัดการเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล
R = Reinforcing คือ การสร้างขวัญกำลังใจในการทำงานให้แก่คุณครู จัดผมหรือกิจกรรม workshop เพิ่มพูนความรู้ และทักษะให้ครูผู้สอนเกิดทักษะในการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น Padlet / Canva / Socrative / WordWall / Google Site
O = Observation คือ การสังเกต กำกับ ติดตาม การจัดการเรียนรู้ ตลอดจนการดำเนินการของคณะครูและนักเรียน เพื่อให้คำแนะนำ คำปรึกษา ช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวก ตลอดจนร่วมสะท้อนคิดข้อปัญหา ข้อจำกัดที่เกิดขึ้น เพื่อร่วมกันหาแนวทางการแก้ไข ด้วยกระบวนการ PLC เช่น การนิเทศชั้นเรียน ข้อมูลสารสนเทศนักเรียน งานสนับสนุนการสอน งานสนองนโยบาย
M = Management คือ การนำข้อปัญหา หรือข้อจำกัดและจุดควรพัฒนาที่พบระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ตลอดจนการเรียนรู้ และทำกิจกรรมของนักเรียน มาบริหารจัดการให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ เป้าหมาย และวิสัยทัศน์ของโรงเรียน เน้นการสร้างภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง ให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนานักเรียน
P = Proofing คือ ตรวจสอบแนวทางแก้ปัญหา วิธีการ กระบวนการ และความสัมพันธ์ของระยะเวลาที่ต้องดำเนินการว่ามีความเหมาะสม และเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด เพื่อกำหนดประเด็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขทันที และกำหนดวิธีการ หรือแนวทางแก้ปัญหาในระยะยาวต่อไป
T = Technology info คือ การนำสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตลอดจนสื่อ ดิจิทัลเข้ามาช่วยในการดำเนินการจัดเก็บข้อมูล ประมวลผลการดำเนินการ และรายงานผลการดำเนินการให้เป็นปัจจุบัน เป็นแหล่งข้อมูลที่เข้าถึงได้สะดวก รวดเร็ว เผยแพร่เพือ่ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
PROMPT ต่อยอดการพัฒนา เผยแพร่เป็นอย่างที่ดี
- นักเรียนได้รับการฟื้นฟูภาวะถดถอบทางการเรียนรู้ (Learning Loss) ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่หลากหลาย ทันสมัย
- นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะวชิาการ ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิต ทั้งในและนอกห้องเรียนอย่างเต็มที่ตามศักยภาพ ผ่านสื่อ ICT และดิจิทัลที่ช่วยกระตุ้นและดึงดูดความสนใจได้ดี
- ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาตนเองตามาตรฐานวิชาชีพ ว9/2564 และ ว10/2564 อย่างต่อเนื่อง
- เกิดทักษะด้านการใช้สื่อ ICT และ Application เพื่อการศึกษาในการออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย ตลอดจนสามารถนำมาใช้ในการบบริหารจัดการสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สถานศึกษาสามารนำเสนอข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบออนไลน์อย่างง่าย ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลและจัดเก็บข้อมูล และนำข้อมูลออกมาใช้งานได้สะดวก รวดเร็ว ภายใต้แพลตฟอร์มของ Google site ที่ออกแบบใช้งานในระดับสถานศึกษาชื่อ Ban Pak Muang Data Center / โปรแกรมเช็กชื่อ GlideApp
บทความใกล้เคียง
Related Courses
เรียนรู้ศิลปะดิจิทัล Google Art & Culture Metaverse
Google Arts & Culture แพลตฟอร์มออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงผลงานศิลปะและวัฒนธรรมจากพิพิธภัณฑ์และสถา ...
เรียนรู้ศิลปะดิจิทัล Google Art & Culture Metaverse
ต้องใช้ 100 เหรียญ
Micro Learning การฟื้นฟูภาวะถดถอยด้วยการช่วยเหลือผู้เรียน
การเรียนรู้ที่ถดถอยจะหายไป หากได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้จากผู้มีความชำนาญ และการสร้างความร่วมมือผ่านการเรียนรู้ของคณะ ...
Micro Learning การฟื้นฟูภาวะถดถอยด้วยการช่วยเหลือผู้เรียน
การทำ Micro learning บทเรียนแบบกระชับ ฉบับเข้าใจง่าย
เรียนรู้ไอเดียการสร้างบทเรียนแบบ ไมโครเลิร์นนิง (Micro-learning) เพื่อทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาการเรียนรู้ที่เยอะและยาก ...
ชุมชนการเรียนรู้ ชุมชนแห่งการพัฒนา
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้บุคลากรทางการศึกษาได้เรียนรู้แ ...