What will happen? จะเกิดอะไรขึ้นในโลก Metaverse?

Starfish Academy
Starfish Academy 2528 views • 2 ปีที่แล้ว
What will happen? จะเกิดอะไรขึ้นในโลก Metaverse?

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโลกเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้วิถีชีวิตของคนเราเปลี่ยนแปลง โดยการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเรียน หรือแม้แต่การดำรงชีวิต และหากจะพูดถึงกระแสเทคโนโลยีที่ร้อนแรงในตอนนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่องโลกเสมือนจริง หรือ Metaverse ที่เริ่มต้นจากโซเซียลเน็ตเวิร์ค อย่าง Facebook ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนคุ้นเคยกันมาบ้างแล้ว และในครั้งนี้จะเป็นการพูดคุยในประเด็นที่ว่า หากเราจะต้องเตรียมตัวเข้าสู่ Metaverse จริงๆ เราควรจะต้องรู้จักสิ่งนี้อย่างไร มุมมองไหนบ้างที่เราควรให้ความสนใจ และเราจะเตรียมตัวอย่างไร กับหัวข้อ “What will happen? จะเกิดอะไรขึ้นในโลก Metaverse?”

คำว่า Metaverse ตามราชบัณฑิตยสถานแห่งประเทศไทย ได้บัญญัติศัพท์ขึ้นมา แปลเป็นไทยว่า “จักรวาลนฤมิตร” ทั้งนี้ Metaverse มาจากภาษาอังกฤษ 2 คำ ที่ชือว่า Meta ที่แปลว่าเหนือกว่า กับคำว่า Universe ที่แปลว่า จักรวาล เมื่อนำมารวมแล้วได้ความหมายที่แปลว่า “จักรวาลที่เหนือจินตนาการ” ปรากฎครั้งแรกในนวนิยาย Sci-Fi เขียนขึ้นเมื่อปี 1992 โดยคุณ Neal Stephenson ที่มีชื่อว่า Snow Crash 

Metaverse เป็นโลกเสมือนที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเปิดให้ผู้คนได้เข้ามามีปฏิสัมพันธ์ ทำกิจกรรมร่วมกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการประชุม พูดคุย การเรียนการสอน หรือการทำงานต่างสถานที่ร่วมกัน เสมือนอยู่ในโลกจริงผ่านอวตาร (Avatar) ในรูปแบบที่หน้าตาเหมือนคนจริง ซึ่งเป็นกราฟฟิก 3 มิติ ซึ่งใน Metaverse จะใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์รองรับการเข้าถึงโลกเสมือนจริง ได้แก่ AR (Augmented Reality) การสร้างกราฟฟิกซ้อนทับขึ้นมาบนโลกจริง ส่วน VR (Virtual Reality) เป็นการสร้างกราฟฟิกคอมพิวเตอร์ขึ้นมา ทำให้มีสภาพแวดล้อมกราฟฟิกแบบ 360 องศา พอทั้งสองมารวมกัน เรียกว่า MR (Mix Reality) ที่จะสร้างการเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์กับอุปกรณ์ต่างๆ ได้

AR (Augmented Reality) เป็นเทคโนโลยีที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริง (Real) เข้ากับโลกเสมือน (Virtual) ซึ่งจะทำให้ภาพที่เห็นในจอภาพเป็นภาพ 3 มิติ หลักการของ AR ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 

1) Marker หรือที่เรียกว่า Markup 

2) กล้องวิดีโอ กล้องโทรศัพท์มือถือ หรือตัวจับ sensor อื่นๆ 

3) ส่วนการแสดงผลภาพ เช่น จอภาพจากอุปกรณ์แสดงผล 

4) ซอฟต์แวร์ส่วนประมวลผลเพื่อวัตถุแบบสามมิติ ตัวอย่างการใช้งาน AR เช่น เกมส์ Pokemon, Application Qlon, Merge Cube, Reality Composer สำหรับ iPad ที่ใช้สำหรับการศึกษา หรือแอปพลิเคชั่น Making of Photogrammetry ที่ใช้สำหรับการทำงานด้านโฆษณา การทำนามบัตร เป็นต้น

VR (Virtual Reality) คือ การจำลองสภาพแวดล้อมจริงเข้าไปให้เสมือนจริง โดยผ่านการรับรู้จากการมองเห็น เสียง สัมผัส แม้กระทั่งกลิ่น ในการแสดงภาพของ VR จะต้องมีอุปกรณ์จอภาพสวมศรีษะ (ชุดแว่นตา) ทั้งนี้ ภาพจะหมุนไปตามการเคลื่อนไหว ทำให้เหมือนกับว่าหลุดไปอีกโลกหนึ่ง ในการศึกษาจะมีการใช้ Google Glasses Board (แว่นกระดาษ) โดยการพาเด็กเรียนรู้โลกกว้างผ่านเทคโนโลยีโดยไม่จำเป็นต้องไปยังสถานที่จริง อุปกรณ์ควบคุม ลักษณะคล้าย Joystick ขนาดเล็กใช้ควบคุมการทำงานของ software อุปกรณ์ VR สำหรับบางประเทศในต่างประเทศจะใช้ VR ในการทดลองที่เป็นอันตราย โดยเฉพาะทางด้านชีววิทยา

MR (Mix Reality) เป็นการรวมกันของ AR และ VR อุปกรณ์ของการใช้ MR จะต้องมีแว่นที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ เป็นการเอากราฟฟิกซ้อนทับกับโลกจริง เพียงแต่กราฟฟิกที่อยู่ในแว่น MR จะต่างจากการมองกราฟฟิกที่ผ่านโทรศัพท์ของ AR จะมีลักษณะความเสมือนและสมจริงมากกว่า

จะเห็นได้ว่า ความแตกต่างระหว่าง AR / VR และ MR มีการประยุกต์ใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งจะต่างจาก Metaverse ที่อยู่ในรูปแบบของโซเซียลมีเดีย การอยู่ร่วมเป็นสังคม มีการพูดคุย มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในกลุ่มเดียวกันได้ทั่วโลก และที่สำคัญ Metaverse มีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วน คือ 

1) Content หรือเนื้อหาที่สร้างในรูปแบบของ VR /AR หรือ MR 

2) มี Application Platform ทำหน้าที่ช่วยให้เข้าสู่โลกของ VR และ AR ได้ และ 

3) Infrastructure ที่ใช้ใน Metaverse เรียกว่า Web 3.0 ซึ่งเป็นเว็บที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

จากการที่ Metaverse ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในยุคปัจจุบันที่ต้องพึ่งเทคโนโลยีมากขึ้น ส่งผลให้เห็นถึงศักยภาพการเรียนรู้ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา สถานที่ และด้วยความที่เหมือนจริงมากขึ้น คนสามารถที่จะเรียนรู้จากการลงมือทำผ่านตัว Metaverse ได้ โดยเฉพาะสำหรับคนที่มีความต้องการพิเศษทางด้านร่างกาย จนก่อให้เกิดเป็นอาชีพใหม่ที่เกิดขึ้นในโลกใหม่ที่อาจจะเสริมเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น นักขาย นักวางแผน ที่ปรึกษา พัฒนาระบบนิเวศน์ ทนาย นักกฎหมาย ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ และ Human Doctor เป็นการจัดการไวรัสและซ่อมแซมอวตารที่อยู่ในโลก Metaverse เป็นต้น 

แต่ในความที่มีโอกาสย่อมมีความท้าทายที่หลากหลายในโลก Metaverse ไม่ว่าจะเป็นด้านกฎระเบียบ ข้อบังคับ ด้านสุขภาวะทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ด้านการปรับตัวและพัฒนาตนเองของครู และการหลงอยู่ในโลกเสมือนจริง (Lose in metaverse world) เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นท้าทายที่ไม่ได้อยู่ในโลก Metaverse แต่อยู่ในโลกจริงตอนนี้

จะเห็นได้ว่า Metaverse ไม่ใช่สิ่งใหม่และไม่ใช่เรื่องไกลตัว และเมื่อต้องก้าวเข้าสู่โลก Metaverse สิ่งแรกที่ต้องเตรียม คือ การเปิดใจเรียนรู้ (Live Long Learning) ศึกษาถึงความเป็นไปได้และเหมาะสมต่อชีวิตประจำวัน เพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ประการที่สอง ยอมรับในการเปลี่ยนแปลง/การหาโอกาส ประการที่สาม การเตรียมความพร้อมในเชิงของการศึกษาในการดูแลเด็กรุ่นที่กำลังก้าวเข้าสู่ยุค Metaverse และประการที่สี่ ในมุมมองนักการศึกษา อยากให้ครูเปิดใจเรียนรู้ ลองทำการศึกษาก่อนการใช้งานในบางฟังก์ชัน เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจในการที่จะพัฒนาต่อไปอย่างไร

ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสรีบุตร CEO Starfish Education

ดร.อรรถพล ชัยทัต กรรมการ ผจก.บ.สตาร์คลาสคอร์ปอเรชั่น จำกัด 

และนายกสมาคมเครือข่ายผู้สร้างสรรวิชาชีพสื่อบันเทิงไทย

อาจารย์กุลเชษฐ์ เล็กประยูร ผอ.สำนักพัฒนาการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...

Starfish Academy
Starfish Academy
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
Starfish Academy

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

Starfish Academy
6805 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนภาษาไทย (3R)

การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนภาษาไทย (3R)
Starfish Academy

การสอนภาษาไทย (3R)

Starfish Academy
2711 ผู้เรียน
เทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
3:00 ชั่วโมง

เปิดโลกการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วย Google Lens

Google Lens เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การเรียนรู้กลายเป็นเรื่องง่ายและสนุกสนาน ผ่านการใช้กล้องสมาร์ทโฟนเพียงเครื่องเดียว ผู้ ...

Google for Education Partner
Google for Education Partner
เปิดโลกการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วย Google Lens
Google for Education Partner

เปิดโลกการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วย Google Lens

Google for Education Partner

ต้องใช้ 100 เหรียญ

การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
Starfish Academy

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

Starfish Academy
2663 ผู้เรียน

Related Videos

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
04:37
Starfish Future Labz

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21

Starfish Future Labz
7878 views • 3 ปีที่แล้ว
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
3 ข้อดี Starfish Class Website Version
02:55
Starfish Future Labz

3 ข้อดี Starfish Class Website Version

Starfish Future Labz
430 views • 2 ปีที่แล้ว
3 ข้อดี Starfish Class Website Version
จากภาวะการเรียนถดถอยสู่การสร้างสรรค์ (Learning Box)
05:41
Starfish Academy

จากภาวะการเรียนถดถอยสู่การสร้างสรรค์ (Learning Box)

Starfish Academy
1038 views • 2 ปีที่แล้ว
จากภาวะการเรียนถดถอยสู่การสร้างสรรค์ (Learning Box)
10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO
02:33
Starfish Future Labz

10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO

Starfish Future Labz
61141 views • 3 ปีที่แล้ว
10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO