Cloud Computing คืออะไร? ทำความรู้จักอีกหนึ่งเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังมีบทบาท
หากพูดถึงหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีบทบาทที่สำคัญที่สุดต่อการศึกษา หลายๆ คนคงอาจไม่เคยรู้จักระบบการเรียนรู้บนคลาวด์ (Cloud Computing) หรืออาจจะงุนงงจนถึงขั้นส่ายหัวเลยก็เป็นได้หากมีเพื่อนบอกว่าจริงๆ แล้วระบบการเรียนรู้บนคลาวด์อยู่กับเราแทบทุกที่ หรือจริงๆ แล้ว ‘นี่แหละ เจ้าสิ่งนี้ที่เรากำลังใช้งานอยู่คือเทคโนโลยีการศึกษาแบบ Cloud!’
ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วจนผู้ใช้งานอย่างๆ เราอาจติดตามความหมายหรือชื่อเทคโนโลยีต่างๆ กันไม่ทัน วันนี้ Starfish Labz เลยขอทำหน้าที่พาผู้อ่านทุกคนมาทำความเข้าใจเจ้าเทคโนโลยี Cloud Computing นี้กันค่ะ
Cloud Computing คืออะไร? สำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไรต่อการศึกษา? มาหาคำตอบไปพร้อมๆ กันในบทความนี้เลย
Cloud Computing คืออะไร?
การประมวลผลแบบคลาวด์ หรือ Cloud Computing คือกลวิธีการใช้งานทรัพยากรอินเทอร์เน็ตขององค์กร บริษัทหรือสถาบัน ในรูปแบบใหม่ที่เปลี่ยนแปลงจากการต้องมีการลงทุนด้านทรัพยากรต่างๆ เองในการผลิตหรือทำงาน Online มาเป็นการใช้บริการซอฟต์แวร์, ระบบ, และทรัพยากรเครื่องคอมพิวเตอร์ของ ‘ผู้ให้บริการตัวกลาง’ หรือที่เรียกว่า ‘Provider’ ผ่านอินเทอร์เน็ต
โดยองค์กร, บริษัท, สถาบัน หรือ ‘ลูกค้า (Client)’ สามารถเลือกกำลังการประมวลผลและจำนวนทรัพยากรได้ตามความต้องการการใช้งาน โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เองทั้งระบบ ไม่ต้องวางระบบเครือข่ายเอง ลดความรับผิดชอบในการดูแลระบบลง เพราะมีผู้ให้บริการเป็นผู้ดูแลให้ตั้งแต่การวางระบบซึ่งจะมีศูนย์กลางตัวทรัพยากร (Datacenter) อยู่ที่จุดต่างๆ ที่ปลอดภัยจนถึงการอัปเกรดระบบให้เสถียรและใช้งานได้ดีอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ แต่สิ่งที่เป็นไฮไลท์หรือสำคัญที่สุดของเจ้าเทคโนโลยีนี้ก็คือการปฏิวัติให้ผู้ใช้งานของลูกค้าหรือ ‘Clients’ ต่างๆ นี้สามารถใช้งานผลิตภัณฑ์ของ ‘Clients’ เมื่อไหร่ก็ได้ ที่ไหนก็ได้โดยไม่ต้องติดตั้งตัวซอฟต์แวร์ แค่มีอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถเข้าใช้งานผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์นี้ของผู้พัฒนานี้ได้ เหมือนที่เราสามารถกดเข้าใช้งาน Google Docs หรือ Google Slides จากที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้โดยไม่ต้องติดตั้งตัวแอปพลิเคชัน Google Docs ลงในเครื่องของเรา แถมยังสามารถเข้าใช้งานได้หลายๆ คนพร้อมกัน เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่าการทำงานร่วมกันบนโลกออนไลน์นั่นเอง (Online Collaboration)
Cloud Computing และบทบาทในการศึกษา
นอกเหนือจากการเป็นเครื่องมือหรือ Solution ในภาคธุรกิจแล้ว อีกหนึ่งจุดเด่นที่สำคัญของ Cloud ก็คือบทบาทในการเป็นตัวขับเคลื่อน เปลี่ยนแปลง และปฏิรูปการศึกษาทั่วโลกในด้านต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องของการเรียน Online การทำงานต่างๆ ร่วมกัน ซึ่งเห็นได้ชัดเจนอย่างยิ่งในช่วง COVID-19 ที่ผ่านมา รวมถึงอีกแง่มุมที่สำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะในโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่ก็คือการมีฐานคลาวด์ที่ปลอดภัยและเสถียรภาพ สามารถช่วยจัดเก็บและปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อนต่างๆ อาทิ ข้อมูลผู้เรียน, ผู้สอน หรือบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนการบูรณาการการใช้งานเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในห้องเรียน การสร้างรูปแบบการเรียนรู้ใหม่ในลักษณะผสมผสาน (Hybrid) ซึ่งหากมองถึงการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวแล้ว หนึ่งในโซลูชันที่สามารถตอบโจทย์ในเรื่องการวางระบบเพื่อการใช้อินเทอร์เน็ต, ซอฟต์แวร์ หรือเทคโนโลยีต่างๆ ได้อย่างดีที่สุดก็คือการใช้บริการคลาวด์หรือการสร้างระบบการเรียนรู้บนคลาวด์นั่นเองค่ะ
จริงๆ แล้วสาเหตุผลที่ความรู้หรือรายละเอียดเกี่ยวกับ Cloud Computing ไม่ค่อยเป็นที่รู้กันมากนักแม้จะมีความสำคัญและถูกใช้งานอยู่ตลอดเวลาก็เพราะจริงๆ แล้วตัวเทคโนโลยีมีความซับซ้อนและมีรายละเอียดเชิงเทคนิคที่เข้าใจยากอยู่มาก การใช้งานจริงๆ สำหรับโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาแล้ว หากมีความสนใจ จึงแนะนำว่าควรปรึกษากับทางผู้เชี่ยวชาญผู้ให้บริการ Cloud ต่างๆ ซึ่งจะสามารถช่วยอธิบายและให้คำแนะนำเราได้อย่างดี โดยประเภทของการให้บริการ Cloud ในปัจจุบัน มีหลากหลาย ได้แก่
- Private Cloud คือการจัดตั้งคลาวด์ส่วนตัว โดยแต่ละสถาบันหรือองค์กรจะลงทุนจัดตั้ง Hardware และ Software ที่ใช้เป็นพื้นฐานในการทำ Cloud Datacenter ขึ้นมาด้วยตนเอง เพื่อให้บุคลากรในองค์กรใช้หรือเป็นฐานในการทำงานหรือสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของตนเอง
- Public Cloud คือคลาวด์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถใช้งานได้ โดยจะมีผู้ให้บริการระบบคลาวด์ หรือ Provider ในลักษณะที่เรากล่าวกันถึงข้างต้นเป็นผู้วางระบบและเปิดให้สถาบันหรือองค์กต่างๆ เข้ามาใช้บริการ ทั้งในรูปแบบรายเดือนและรายปี
- Hybrid Cloud คือการนำเอาข้อดีของ Private Cloud และ Public Cloud มาใช้ร่วมกัน เหมาะสำหรับสถาบันหรือองค์กรที่อยากมีทั้งฐาน Cloud เป็นของตัวเองสำหรับการทำงานหรือเก็บเฉพาะข้อมูลที่สำคัญหรือละเอียดอ่อนภายใน และใช้ Public Cloud ในการบริหาร จัดการ หรือทำงานด้านอื่นๆ
- Multi Cloud คือการเลือกใช้บริการ Cloud Providers ตั้งแต่ 2 ผู้ให้บริการขึ้นไปเพื่อลดความเสี่ยงด้านต่างๆ ในการใช้งานและเพื่อจัดสรรประโยชน์ในการใช้งานจากแต่ละผู้ให้บริการให้เกิดผลลัพธ์สูงสุด เหมาะสำหรับสถาบันหรือองค์กรที่มองว่า Cloud Provider แต่ละบริษัทสามารถตอบสนองความต้องการของตนเองได้ดีแตกต่างกัน อยากใช้งานทั้งสองหรือสาม ภายใต้การวางแผนการใช้งานหลายผู้ให้บริการที่เหมาะสม
กล่าวได้ว่านี่คืออีกหนึ่งการเรียนรู้เกี่ยวกับ Cloud Computing เทคโนโลยีการศึกษาที่น่าสนใจอย่างยิ่งเลยก็ว่าได้ค่ะ ที่ผ่านมาเราอาจคุ้นเคยกับการเรียนรู้แต่ละแพล็ตฟอร์มหรือซอฟต์แวร์อย่าง Starfish Class หรือ Microsoft Teams แต่การศึกษาการวางระบบหรือผู้ให้บริการเทคโนโลยีการศึกษาขนาดใหญ่ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของหลากหลายเครื่องมือทางการศึกษานี่ก็สามารถช่วยสร้างแรงบันดาลใจและจุดประกายการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่ดีเช่นกัน
ในบทความถัดไป Starfish Labz จะพาผู้อ่านทุกคนไปเรียนรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาอย่าลืมติดตามกันนะคะ
อ้างอิง:
บทความใกล้เคียง
ครูคลับ (Kru Club) สร้างเกมง่าย ๆ ด้วย Wordwall
5 แอปพลิเคชันช่วยคุณครูประเมินสมรรถนะของผู้เรียนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีทางการศึกษา สุดยอด 5 ฟีเจอร์ เพื่อการประเมินสมรรถนะเด็กด้วย Starfish Class
Related Courses
การจัดการเรียนรู้ทางไกล
บทบาทของครูในการออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางไกลในกับผู้เรียนด้วยบทเรียนแบบไมโครเลิร์นนิ่งและกิจกรรมแบบออนไลน์
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...
เขียน Prompt ใน ChatGPT อย่างไร ให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
อยากได้ผู้ช่วยอัจฉริยะที่เข้าใจคุณทุกอย่างไหม? มาเรียนรู้วิธีสื่อสารกับ ChatGPT ผ่าน Prompt กันเถอะ! คอร์สนี้จะสอนเทคนิคกา ...
เขียน Prompt ใน ChatGPT อย่างไร ให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
ต้องใช้ 100 เหรียญ
เปิดโลกการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วย Google Lens
Google Lens เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การเรียนรู้กลายเป็นเรื่องง่ายและสนุกสนาน ผ่านการใช้กล้องสมาร์ทโฟนเพียงเครื่องเดียว ผู้ ...
เปิดโลกการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วย Google Lens
ต้องใช้ 100 เหรียญ